ภาษาลิซาน ดิดัน

(เปลี่ยนทางจาก ภาษาลิชาน ดิดาน)

ภาษาลิซาน ดิดัน (Lishan Didan) เป็นภาษาแอราเมอิกใหม่ จุดเริ่มต้นของภาษาอยู่ในอาเซอร์ไบจานของอิหร่าน บริเวณทะเลสาบอูร์เมีย ปัจจุบันผู้พูดส่วนใหญ่อยู่ในอิสราเอล คำว่าลิซาน ดิดันหมายถึงภาษาของเรา นักสัทศาสตร์ได้ตั้งชื่ออื่นให้ภาษานี้เพื่อลดความสับสนว่าภาษาแอราเมอิกใหม่อาเซอร์ไบจานอิหร่านของชาวยิวหรือภาษาลาโคลคี

ภาษาลิซาน ดิดัน
לשן דידן Lišān Didān, לשנן Lišānān
ออกเสียง/liˈʃɑn diˈdɑn/
ประเทศที่มีการพูดอาเซอร์ไบจาน, จอร์เจีย เดิมอยู่ในอิหร่าน, ตุรกี
ภูมิภาคเยรูซาเลมและเทลอาวีฟ เดิมอยู่ในอาเซอร์ไบจานอิหร่าน
จำนวนผู้พูด4,500  (2001)[1]
ตระกูลภาษา
รหัสภาษา
ISO 639-3trg

จุดกำเนิดและการใช้ในปัจจุบัน แก้

สำเนียงของภาษาแอราเมอิกสมัยใหม่ใช้พูดอย่างกว้างขวางในบริเวณระหว่างทะเลสาบอูร์เมียและทะเลสาบวานจนถึงที่ราบโมซูลและซานานดาซในอิหร่าน ภาษาลิซาน ดิดัน อยู่ทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือสุดของบริเวณนี้ เข้าใจกันได้กับภาษาฮูลัวลาและภาษาลิซานิด โนซาน ภาษาแอราเมอิกใหม่สำเนียงของชาวคริสต์ เช่นภาษาแอราเมอิกใหม่อัสซีเรียไม่สามารถเข้าใจกันได้กับภาษานี้ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะการแยกกันอยู่อย่างชัดเจนระหว่างผู้ที่นับถือศาสนาต่างกัน ภาษานี้มีชื่อเรียกว่าภาษาตาร์คุม เช่นเดียวกับภาษาแอราเมอิกของชาวยิวอื่นๆ

ภาษานี้มีกลุ่มสำเนียงหลัก 2 กลุ่มคือ กลุ่มสำเนียงทางเหนืออยู่รอบๆทะเลสาบอูร์เมียและซาลมัสในอาเซอร์ไบจานตะวันตก และแพร้่ไปถึงหมู่บ้านของชาวยิวในตุรกี (จังหวัดวาน) กลุ่มสำเนียงทางใต้อยู่ที่เมืองมะหะบาดและหมู่บ้านทางใต้ของทะเลสาบอูร์เมีย ทั้งสองสำเนียงเข้าใจกันได้ ความแตกต่างส่วนใหญ่อยู่ที่คำยืมจากภาษาต่างกัน เช่น ภาษาเปอร์เซียภาษาเคิร์ด และภาษาตุรกี

ความวุ่นวายในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 และการก่อตั้งรัฐอิสราเอลทำให้ชาวยิวในอาเซอร์ไบจานอพยพอพยพไปสู่เทลอาวีฟและเยรูซาเล็ม ปัจจุบันคนรุ่นใหม่หันไปพูดภาษาฮีบรู มีผู้พูดภาษานี้ในอิสราเอลเพียง 5,000 คน ส่วนใหญ่มีอายุมากกว่า 50 ปี จัดเป็นภาษาที่ใกล้ตาย ภาษานี้เขียนด้วยอักษรฮีบรู

อ้างอิง แก้

  1. ภาษาลิซาน ดิดัน ที่ Ethnologue (18th ed., 2015) (ต้องสมัครสมาชิก)

บรรณานุกรม แก้

  • Heinrichs, Wolfhart (ed.) (1990). Studies in Neo-Aramaic. Scholars Press: Atlanta, Georgia. ISBN 1-55540-430-8.
  • Mahir Ünsal Eriş, Kürt Yahudileri - Din, Dil, Tarih, (Kurdish Jews) In Turkish, Kalan Publishing, Ankara, 2006
  • Maclean, Arthur John (1895). Grammar of the dialects of vernacular Syriac: as spoken by the Eastern Syrians of Kurdistan, north-west Persia, and the Plain of Mosul: with notices of the vernacular of the Jews of Azerbaijan and of Zakhu near Mosul. Cambridge University Press, London.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้