ภาษายักโนบี

(เปลี่ยนทางจาก ภาษายากโนบิ)

ภาษายักโนบี[4] เป็นภาษากลุ่มอิหร่านตะวันออก ใช้พูดโดยชาวยักโนบีในหุบเขาทางเหนือของแม่น้ำยักนอบในเขตซาราฟซาน ประเทศทาจิกิสถาน จัดว่าเป็นลูกหลานของภาษาซอกเดีย.[5] มีผู้พูดราว 3,000 - 6,000 คน ส่วนใหญ่พูดภาษาทาจิกได้ด้วย และบางครั้งในวรรณคดีวิชาการเรียกเป็น ภาษาซอกเดียใหม่[6]

ภาษายักโนบี
yaɣnobī́ zivók, йағнобӣ зивок ~ яғнобӣ зивок
ประเทศที่มีการพูดทาจิกิสถาน
ภูมิภาคเดิมมาจากหุบเขายักนอบ ในคริสต์ทศวรรษ 1970 ย้ายไปที่ Zafarobod จากนั้นในคริสต์ทศวรรษ 1990 ผู้พูดบางส่วนกลับมาที่ยักนอบ
ชาติพันธุ์ชาวยักโนบี
จำนวนผู้พูด12,000 คน[ต้องการอ้างอิง]  (2004)[1]
ตระกูลภาษา
รูปแบบก่อนหน้า
ภาษาซอกเดีย[3]
  • ภาษายักโนบี
ภาษาถิ่น
ยักโนบีตะวันออก
ยักโนบีตะวันตก
ระบบการเขียนอักษรซีริลิลก
อักษรละติน
อักษรเปอร์เซีย-อาหรับ
รหัสภาษา
ISO 639-3yai
Linguasphere58-ABC-a
บทความนี้มีสัญลักษณ์สัทอักษรสากล หากระบบของคุณไม่รองรับการแสดงผลที่ถูกต้อง คุณอาจเห็นปรัศนี กล่อง หรือสัญลักษณ์อย่างอื่นแทนที่อักขระยูนิโคด
บริเวณที่มีผู้พูดภาษายักโนบี

ภาษายักโนบีมีสองสำเนียงคือสำเนียงตะวันตกและตะวันออก โดยมากต่างกันทางด้านสัทวิทยา เช่นเสียงเดิม*θ เป็น t ในสำเนียงตะวันตกและเป็น s ในสำเนียงตะวันออก เช่น met - mes (วัน; มาจากภาษาซอกเดีย mēθ <myθ>) และ ay ในสำเนียงตะวันตกเป็น e ในสำเนียงตะวันออกเช่น wayš - weš (หญ้า;จากภาษาซอกเดีย wayš หรือ wēš <wyš>)

รากศัพท์ แก้

ความรู้ในปัจจุบันเกี่ยวกับรากศัพท์ในภาษายักโนบีมาจากพจนานุกรมภาษายักโนบี-รัสเซียและไวยากรณ์ภาษายักโนบี งานชิ้นล่าสุดคือพจนานุกรมภาษายักโนบี-ทาจิก ในภาษายักโนบีปัจจุบัน รากศัพท์มาจากภาษาทาจิกถึง 60% ที่เหลือมาจากกลุ่มภาษาเตอร์กิก (5% มาจากภาษาอุซเบก) และภาษารัสเซีย 2% หนึ่งในสามของรากศัพท์มาจากกลุ่มภาษาอิหร่านตะวันออก และสามารถเปรียบเทียบได้ง่ายกับศัพท์จากภาษาซอกเดีย ภาษาออสเซเตีย กลุ่มภาษาปามีร์หรือภาษาปาทาน

การเขียน แก้

ภาษายักโนบีไม่มีการเขียนจนถึง พ.ศ. 2533[7] แต่ Andreyev รายงานว่า มีมุลลาฮ์ยักโนบีบางส่วนใช้อักษรอาหรับในช่วงก่อน พ.ศ. 2471 โดยหลักจะใช้เมื่อพวกเขาจำเป็นต้องซ่อนข้อมูลสำคัญจากชาวทาจิก[8] ในปัจจุบันเขียนด้วยอักษรละตินดัดแปลง ดังนี้

a (á), ā (ā́), b, č, d, e (é), f, g, ɣ, h, ḥ, i (í), ī (ī́), ǰ, k, q, l, m (m̃), n (ñ), o (ó), p, r, s, š, t, u (ú), ū (ū́), ʏ (ʏ́), v, w (u̯), x, x̊, y, z, ž, ع

TITUS ถอดอักษรได้ดังนี้: a (á), b, č, d, e (é), ĕ (ĕ́), ẹ (ẹ́), ẹ̆ (ẹ̆́), ə (ə́), f, g, ɣ, h, x̣, i (í), ĭ (ĭ́), ī (ī́), ǰ, k, q, l, m (m̃), n (ñ), o (ó), ọ (ọ́), p, r, s, š, t, u (ú), ŭ (ŭ́), ı̥ (í̥), v, u̯, x, x̊, y, z, ž, ع

นอกจากนั้น Sayfiddīn Mīrzozoda จากสถาบันวิทยาศาสตร์ทาจิกได้ดัดแปลงอักษรซีริลลิกสำหรับภาษาทาจิกมาเขียนภาษายักโนบีแต่ไม่เหมาะสมเพราะไม่แยกสระเสียงสั้นและสระเสียงยาว และไม่บอกการเน้นเสียง

А а (a), Б б (b), В в (v), Ԝ ԝ (w), Г г (g), Ғ ғ (ɣ), Д д (d), Е е (e/ye), Ё ё (yo), Ж ж (ž), З з (z), И и (i, ī), Ӣ ӣ (ī), й (y), К к (k), Қ қ (q) Л л (l), М м (m), Н н (n), О о (o), П п (p), Р р (r), С с (s), Т т (t), У у (u, ū, ʏ), Ӯ ӯ (ū, ʏ), Ф ф (f), Х х (x), Хԝ хԝ (x̊), Ҳ ҳ (h, ḥ), Ч ч (č), Ҷ ҷ (ǰ), Ш ш (š), Ъ ъ (ع), Э э (e), Ю ю (yu, yū, yʏ), Я я (ya)

อักษรซีริลลิก แก้

ชุดตัวอักษรยักโนบีเหมือนกับอักษรทาจิก โดยเพิ่มเพียงตัว Ԝ

А а Б б В в Ԝ ԝ Г г Ғ ғ
Д д Е е Ё ё Ж ж З з И и
Ӣ ӣ Й й К к Қ қ Л л М м
Н н О о П п Р р С с Т т
У у Ӯ ӯ Ф ф Х х Ҳ ҳ Ч ч
Ҷ ҷ Ш ш Ъ ъ Э э Ю ю Я я

สัทวิทยา แก้

ภาษายักโนบีมีเสียงสระ 8 เสียง เป็นสระเสียงสั้น 3 เสียง สระเสียงยาว 5 เสียง และมีเสียงพยัญชนะ 27 เสียง

ข้อความ แก้

 
กลุ่มเด็กที่พูดภาษายักโนบีจากทาจิกิสถาน
อักษรละติน Fálɣar-at Yáɣnob asosī́ láfz-šint ī-x gumū́n, néki áxtit toǰīkī́-pi wó(v)ošt, mox yaɣnobī́-pi. 'Mʏ́štif' wó(v)omišt, áxtit 'Muždív' wó(v)ošt.
อักษรซีริลลิก Фалғарат Яғноб асосӣ лафзшинт ӣх гумун, неки ахтит тоҷикипӣ ԝоошт, мох яғнобипӣ. 'Мӯштиф' ԝоомишт, ахтит 'Муждив' ԝоошт.
สัทอักษรสากล [ˈfalʁɑratʰ ˈjɑʁnɔˑb asɔˑˈsiː ˈlafzʃʲɪntʰ ˈiːχ ɡʊˈmoːn ˈneːcʰe ˈɑχtʰɪtʰ tʰɔˑdʒʲiˑˈcʰiːpʰe ˈβ̞oːˀɔˑʃʲtʰ moːʁ jɑʁnɔˑˈbiːpʰe ˈmyːʃʲtʰɪf ˈβ̞oːˀɔˑmɪʃʲtʰ ˈɑχtʰɪtʰ mʊʒʲˈdɪv ˈβ̞oːˀɔˑʃʲtʰ]
แปลภาษาอังกฤษ In Falghar and in Yaghnob, it is certainly one basic language, but they speak Tajik and we speak Yaghnobi. We say 'Müštif', they say 'Muždiv'.

อ้างอิง แก้

  1. ภาษายักโนบี ที่ Ethnologue (23rd ed., 2020)  
  2. Gernot Windfuhr, 2009, "Dialectology and Topics", The Iranian Languages, Routledge
  3. Paul Bergne (15 June 2007). The Birth of Tajikistan: National Identity and the Origins of the Republic. I.B.Tauris. pp. 6–. ISBN 978-1-84511-283-7.
  4. บางครั้งเขียนเป็น Yaghnabi, Yagnobi หรือ Yagnabi; – yaɣnobī́ zivók (ในภาษาทาจิกเขียนด้วยอักษรซีริลลิก яғнобӣ зивок [jɑʁnɔːˈbiː zɪ̆ˈvoːkʰ]; รัสเซีย: ягнобский язык, อักษรโรมัน: jagnobskij jazyk, ทาจิก забони яғнобӣ zabon-i yaɣnobî; เปอร์เซีย: زبان یغنابى zæbɑ̄n-e yæɣnɑ̄bī
  5. Bielmeier. R. Yaghnobi in Encyclopedia Iranica [1] เก็บถาวร 2009-09-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  6. Bielmeier. R. Yaghnobi in Encyclopedia Iranica
  7. The Cyrillic Tajik alphabet-based script was invented by Sayfiddīn Mīrzozoda in the 1990s.
  8. М. С. Андреев, Материалы по этнографии Ягноба, Душанбе (Дониш) 1970, pp. 38–39

แหล่งข้อมูลอื่น แก้