ภาษามัลดีฟส์
ภาษามัลดีฟส์ (อังกฤษ: Maldivian language) เป็นภาษากลุ่มอินโด-อารยันและเป็นภาษาราชการของประเทศมัลดีฟส์ มีคนพูดประมาณ 300,000 คน ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในมัลดีฟส์ รวมทั้งภาษามาห์ล (Mahl dialect) ที่ใช้ในลักษทวีป ซึ่งเป็นดินแดนสหภาพของอินเดีย เรียกชื่อต่างกันด้วยเหตุผลทางการเมือง ภาษาที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาของภาษามัลดีฟส์มีหลายภาษา โดยเฉพาะภาษาอาหรับ ที่เข้ามาพร้อมกับศาสนาอิสลาม รวมทั้ง ภาษาสิงหล ภาษามลยาฬัม ภาษาฮินดี ภาษาฝรั่งเศส ภาษาเปอร์เซีย ภาษาโปรตุเกส และ ภาษาอังกฤษ คาดว่าภาษามัลดีฟส์และภาษาสิงหลสืบมาจากภาษาเดียวกัน ซึ่งได้สูญพันธุ์ไป เมื่อเกิดภาษาใหม่ 2 ภาษาในช่วงประมาณ พ.ศ. 43
ภาษามัลดีฟส์ | |
---|---|
ދިވެހި | |
ออกเสียง | [diˈʋehi] |
ภูมิภาค | มัลดีฟส์; ลักษทวีป (อินเดีย) |
ชาติพันธุ์ | ชาวมัลดีฟส์ |
จำนวนผู้พูด | 3.4 แสนคน (2012) |
ตระกูลภาษา | |
รูปแบบก่อนหน้า | ภาษาเอลู
|
ระบบการเขียน | อักษรทานะ |
สถานภาพทางการ | |
ภาษาทางการ | มัลดีฟส์ |
ภาษาชนกลุ่มน้อยที่รับรองใน | อินเดีย |
ผู้วางระเบียบ | สถาบันมัลดีฟส์ |
รหัสภาษา | |
ISO 639-1 | dv |
ISO 639-2 | div |
ISO 639-3 | div |
ผู้ศึกษาภาษานี้เป็นคนแรกคือ H. C. P. Bell เขาตั้งชื่อภาษานี้ว่า Divehi มาจาก –dives ของชื่อประเทศคือ Maldives คำว่ามัลดีฟส์นี้มีรากศัพท์มาจากคำเดียวกับทวีป (dvīp) ซึ่งหมายถึงเกาะในภาษาสันสกฤต นักภาษาศาสตร์ที่ทำวิจัยเกี่ยวกับภาษามัลดีฟส์เป็นคนแรกคือ Wilhelm Geiger ชาวเยอรมัน
จุดกำเนิด
แก้ภาษามัลดีฟส์เป็นภาษากลุ่มอินโด-อารยันใกล้เคียงกับภาษาสิงหลในประเทศศรีลังกา จัดเป็นภาษากลุ่มอินโด-อารยันที่อยู่ใต้สุด ภาษามัลดีฟส์มีลักษณะเฉพาะเช่นเดียวกับภาษาสิงหล ซึ่งเรียกรวมกันว่าภาษาอินโด-อารยันหมู่เกาะ
ในช่วงแรกเชื่อว่าภาษามัลดีฟส์เป็นลูกหลานของภาษาสิงหล ใน พ.ศ. 2512 M. W. S. de Silva เสนอว่าภาษาสิงหลและภาษามัลดีฟส์แตกแขนงออกมาจากภาษาแม่ที่เป็นภาษาปรากฤต ตระกูลภาษาดราวิเดียนมีอิทธิพลต่อภาษามัลดีฟส์โดยเฉพาะชื่อโบราณ ทฤษฎีของ De Silva ได้รับการสนับสนุนจากตำนานของเจ้าชายวิชัยที่อพยพจากอินเดียยังศรีลังกาและแผ่อิทธิพลไปถึงมัลดีฟส์
ความหลากหลายของภาษา
แก้เมื่อภาษาได้แพร่ไปตลอดหมู่เกาะได้เกิดความแตกต่างทางด้านคำศัพท์ และการออกเสียงขึ้น เนื่องจากเกาะอยู่ไกลกันมาก โดยเฉพาะระหว่างเกาะตอนเหนือและตอนใต้ คนในมาเล (Malé) ไม่สามารถเข้าใจภาษาย่อยที่ใช้ในหมู่เกาะอัดดุ (Addu) ได้สำเนียงมาตรฐานคือสำเนียงมาเลที่ใช้พูดในเมืองหลวง สำเนียงที่สำคัญของภาษานี้มักพบทางตอนใต้ได้แก่ ฮูวาดุ ฟูอะ มูลากุ และอัดดุ มีเฉพาะสำเนียงมาเลและสำเนียงมาลิกุเท่านั้นที่ใช้ในการเขียน สำเนียงอื่นใช้เฉพาะการพูดและการร้องเพลง
สำเนียงโมโลกิที่ใช้พูดในเกาะฟุวะห์มุละห์ต่างจากสำเนียงมาเลที่มีเสียง 'l' เป็นตัวสะกด (ލް) มีเสียง 'o' ท้ายคำ แทนที่เสียง 'u' เช่น 'fannu' กลายเป็น 'fanno' อักษรนะวิยะนิ (ޱ) ซึ่งใช้แทนเสียงม้วนลิ้นของ "n" พบมากในภาษาในอินเดีย เช่นภาษาสิงหล ภาษาคุชราต ภาษาฮินดี ถูกตัดออกจากการเขียนมาตรฐานของภาษามัลดีฟส์ เมื่อ พ.ศ. 2493 ปัจจุบันจะพบได้เฉพาะในเอกสารโบราณหรือการเขียนของสำเนียงอัดดุ
ระดับชั้นของภาษา
แก้ภาษามัลดีฟส์มีการแบ่งระดับชั้นของภาษาชัดเจนโดยมีระดับของภาษา 3 ระดับ คือ ระดับแรก รีทิ บัส (reethi bas) หรือ อาเธ-วดัยเนฟวุน (aadhe-vadainevvun) ในอดีตใช้ติดต่อกับชนชั้นสูงและราชวงศ์ แต่ปัจจุบันใช้ในวิทยุโทรทัศน์ ในการแสดงความเคารพต่อผู้สูงอายุ เจ้าหน้าที่ และคนแปลกหน้า จะใช้ระดับที่ 2 คือ ลับบา-ธุรุวุน (labba-dhuruvun) คนส่วนใหญ่ใช้ระดับที่ 3 ที่เป็นระดับกันเองในชีวิตประจำวัน
ระบบการเขียน
แก้อักษรที่ใช้เขียนภาษามัลดีฟส์มี 2 ชนิด ชนิดที่ใช้ในปัจจุบันเรียกว่าอักษรทานะ (Thaana) เขียนจากขวาไปซ้าย ส่วนอักษรดั้งเดิมเรียกอักษรดิเวส อกุรุ (Dhives Akuru) ซึ่งเขียนจากซ้ายไปขวา อักษรดิเวส อกุรุ ใช้ในทุกเกาะจนถึงช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 18 และการมาถึงของศาสนาอิสลาม แต่ยังคงใช้ในการติดต่อกับหมู่เกาะอัดดุ จนถึงช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตอนต้น และยังคงใช้ในเกาะที่ห่างไกลและหมู่บ้านในชนบทจนถึงทศวรรษ 1960 คนที่ใช้เป็นอักษรแม่คนสุดท้ายตายในช่วงทศวรรษ 1990 และปัจจุบัน ส่วนใหญ่ชาวมัลดีฟส์ไม่ได้เรียนอักษรดิเวส อกุรุ กันทุกคน แต่คนที่เรียนจะเรียนเป็นอักษรที่ 2
อัตราการเรียนรู้หนังสือสูงมาก (98%) เมื่อเทียบกับประเทศในเอเชียใต้ประเทศอื่น ๆ ตั้งแต่ทศวรรษ 1960 ในการสอนหนังสือในโรงเรียนส่วนใหญ่ใช้ภาษาอังกฤษ แต่ก็ยังคงมีการสอนหนังสือภาษามัลดีฟส์ และใช้ในการปกครอง