ภาษาถิ่นโตเกียว

ภาษาถิ่นโตเกียว (ญี่ปุ่น: 東京方言โรมาจิTōkyō hōgenทับศัพท์: โทเกียวโฮเง็ง หรือ ญี่ปุ่น: 東京弁โรมาจิTōkyō-benทับศัพท์: โทเกียวเบ็ง) หมายถึง ภาษาญี่ปุ่นถิ่นที่ประชากรที่อาศัยอยู่ในกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ใช้สื่อสารกัน และมักใช้กล่าวถึงเฉพาะภาษาถิ่นที่ใช้ในย่านเมืองเก่า แบ่งเป็นภาษาถิ่นย่อยได้ 2 ภาษาถิ่นย่อย ได้แก่ ภาษาถิ่นย่อยที่ใช้ในย่านยามาโนเตะ เรียกว่า ยามาโนเตะโคโตบะ (ญี่ปุ่น: 山の手ことばโรมาจิYamanote Kotoba) กับภาษาถิ่นย่อยที่ใช้ในย่านชิตามาจิ เรียกว่า ชิตามาจิโคโตบะ (ญี่ปุ่น: 下町ことばโรมาจิShitamachi Kotoba)[1][2]

ภาษาถิ่นโตเกียว
ประเทศที่มีการพูดประเทศญี่ปุ่น
ภูมิภาคโตเกียว
ตระกูลภาษา
รหัสภาษา
ISO 639-3

เมื่อเข้าสู่ยุคเมจิ ภาษาถิ่นของย่านยามาโนเตะซึ่งเป็นภาษาของคนชั้นกลาง-สูงได้พัฒนามาเป็นภาษาถิ่นมาตรฐาน (ภาษากลาง) จึงมีคนเข้าใจผิดว่าภาษาถิ่นโตเกียวกับภาษากลางเป็นสิ่งเดียวกัน อย่างไรก็ตาม ภาษาถิ่นของย่านชิตามาจิมีลักษณะการออกเสียงและสำนวนที่ต่างจากภาษาถิ่นของย่านยามาโนเตะหลายประการ

ประวัติ แก้

 
ภาพแสดงบริเวณย่านยามาโนเตะกับย่านชิตามาจิ (แดง: ยามาโนเตะ, น้ำเงิน: ชิตามาจิ)

ภาษาถิ่นโตเกียวพัฒนามาจากภาษาเอโดะ (ญี่ปุ่น: 江戸言葉โรมาจิEdo Kotobaทับศัพท์: เอโดะโคโตบะ) ถือกำเนิดขึ้นพร้อม ๆ กับการพัฒนาเมืองเอโดะหลังจากที่โทกูงาวะ อิเอยาซุ ย้ายศูนย์กลางการปกครองมาที่เมืองดังกล่าว ภาษาเอโดะเป็นภาษาที่เกิดจากการผสมผสานระหว่างภาษาญี่ปุ่นถิ่นตะวันออกกับภาษาญี่ปุ่นถิ่นตะวันตกเนื่องจากมีผู้คนจากถิ่นต่าง ๆ หลั่งไหลเข้ามายังเอโดะไม่ขาดสาย[3] อย่างไรก็ตาม ภาษาคามิงาตะ (ญี่ปุ่น: 上方言葉โรมาจิKamigata Kotobaทับศัพท์: คามิงาตะโคโตบะ) มีอิทธิพลต่อภาษาเอโดะเป็นอย่างมากเนื่องจากเป็นภาษาถิ่นที่ใช้ในกลุ่มชนชั้นสูงหรือชนชั้นปกครอง และต่อมาก็ขยายมายังกลุ่มชนชั้นกลางในช่วงท้ายของยุคเอโดะ[4] เมื่อเข้าสู่ยุคเมจิ เอโดะได้เปลี่ยนชื่อเป็นโตเกียว (ญี่ปุ่น: 東京โรมาจิTōkyōทับศัพท์: โทเกียว) ในช่วงนั้นกระแสชาตินิยมสืบเนื่องจากการล่าอาณานิคมของชาติตะวันตกทำให้ญี่ปุ่นต้องรีบพัฒนาประเทศอย่างรวดเร็ว รัฐบาลจึงยกภาษาถิ่นโตเกียวย่านยามาโนเตะ (ยามาโนเตะโคโตบะ) ซึ่งเป็นภาษาของคนชั้นกลาง-สูงขึ้นมาเป็นแม่แบบของภาษามาตรฐานและบรรจุลงในหลักสูตรการเรียนการสอนภาคบังคับทั่วประเทศ[3] โดยที่ไม่ได้นำภาษาถิ่นโตเกียวย่านชิตามาจิ (ชิตามาจิโคโตบะ) ซึ่งเป็นภาษาของชนชั้นแรงงานมาเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาภาษามาตรฐาน[4]

การออกเสียง แก้

ลักษณะเด่นด้านการออกเสียงของภาษาถิ่นโตเกียวมีดังนี้

  1. มักลดความก้อง (devoicing) เสียงสระ /i/ และ /u/ ที่อยู่ระหว่างเสียงพยัญชนะไม่ก้องหรือปรากฏหน้าการหยุด (เช่น การเว้นวรรคระหว่างพูด) เช่น 「ネクタイです。」 /nekutai desu/ มักจะออกเสียงเป็น [nekɯ̥taidesɯ̥] ฟังคล้าย [nektaides]
  2. 「が」「ぎ」「ぐ」「げ」「ご」 ที่ไม่ได้อยู่ต้นคำออกเสียงเป็น [ŋa] [ŋi] [ŋɯ] [ŋe] [ŋo] ตามลำดับ (ดูหัวข้อ "เสียงขุ่นนาสิก" ประกอบ)

ต่อไปนี้เป็นลักษณะเด่นที่พบมากในภาษาถิ่นโตเกียวย่านชิตามาจิ

  1. ai (アイ) กับ oi (オイ) ออกเสียงเป็น ee(エー) เช่น
    • amai → amee(あまい→あめえ) "หวาน"
    • arumai → arumee(あるまい→あるめえ) "ไม่น่าจะมี"
    • osoi → osee(遅い→おせえ) "ช้า, สาย"
    • ikitai → ikitee(行きたい→行きてえ) "อยากไป"
  2. พบการใช้เสียงพยัญชนะซ้ำในคำประสมหรือคำที่ประกอบด้วยคำอุปสรรคเน้นย้ำ เช่น
    • oppajimeru おっぱじめる "เริ่ม" (มาจาก oshihajimeru 押し始める)[5]
    • buppanasu ぶっぱなす "ยิง" (มาจาก buchihanasu ぶち放す)[2]
    • kawappuchi 川っぷち "ริมแม่น้ำ" (มาจาก kawabuchi 川縁)[2]
    • okkochiru 落っこちる "ตก, ร่วงตก" (มีความหมายเหมือน ochiru 落ちる)[5]
    • nokkeru 乗っける "ให้ (คน) ขึ้นรถ/เรือ ฯลฯ" (มีความหมายเหมือน noseru 乗せる)[5]
  3. ออกเสียง ju(じゅ),shu(しゅ)เพี้ยนเป็น ji「じ」,shi「し」 ตามลำดับ เช่น
    • junbi じゅんび(準備) "เตรียม" → jinbi じんび 
    • bijutsu びじゅつ(美術) "ศิลปะ" → bijitsu びじつ
    • shinjuku しんじゅく(新宿) "ชินจูกุ" → shinjiku しんじく
    • shukō しゅこう(趣向) "ความคิดใหม่ ๆ" → shikō しこう 
  4. ออกเสียง hi(ひ)กับ shi(し) สลับกันไปมา โดยทั่วไปจะออกเสียง hi เป็น shi และพบการออกเสียง shi เป็น hi บ้างเมื่อผู้พูดแก้ไขเกินเหตุ (hypercorrection) เช่น
    • shiohigari しおひがり(潮干狩り) "การไปเก็บหอย กุ้ง ปู ขณะน้ำลง" → hioshigari ひおしがり
    • hito ひと(人) "คน" → shito しと
    • hitsuzen ひつぜん(必然 ) "การกำหนดไว้แล้วตายตัว" →  shitsuzen しつぜん
    • hiroshima ひろしま(広島) "ฮิโรชิมะ" → shiroshima しろしま
    • hitsuyō ひつよう(必要) "จำเป็น" ←→ shitsuyō しつよう(執拗) "ยืนกราน, ดื้อดึง"
    • hitsuji ひつじ(羊) "แกะ ←→ shitsuji しつじ(執事) "หัวหน้าคนใช้ในบ้านผู้สูงศักดิ์"
    • hiretsu ひれつ(卑劣) "(นิสัย) ต่ำช้า" ←→ shiretsu しれつ(熾烈) "รุนแรง, ดุเดือด"

เสียงสูงต่ำ แก้

ภาษาถิ่นโตเกียวย่านยามาโนเตะและย่านชิตามาจิมีคำศัพท์บางคำที่เสียงสูงต่ำต่างกัน ดังที่ยกตัวอย่างต่อไปนี้ (ฝั่งซ้ายคือยามาโนเตะ ฝั่งขวาคือชิตามาจิ)

  • [6] サカ ⇔ サ "เนิน, ที่ลาด"
  • [6] ツキ゚ ⇔ ツキ゚ "ถัดไป"
  • [6] ス ⇔ ス "ซูชิ"
  • [6] ツユ ⇔ ツ "น้ำค้าง"
  • [6] スナ ⇔ スナ "ทราย"
  • [6] シワ ⇔ シワ "ริ้วรอย"
  • [6] タマコ゚ ⇔ タマコ゚ "ไข่"
  • [6] カタナ ⇔ カタナ "ดาบ"
  • [6] アタマ ⇔ アタマ "หัว"
  • [6] ハサミ ⇔ ハサミ "กรรไกร"
  • [6] ココロ ⇔ ココロ "ใจ"
  • [7] クニ ⇔ クニ "ประเทศ"
  • [7] ニジ ⇔ ニジ "รุ้งกินน้ำ"
  • 坂東[8] ンドー ⇔ バンドー "บันโด ชื่อเดิมของคันโต"
  • 朝日[9] サヒ ⇔ アサヒ "พระอาทิตย์ยามเช้า"

นอกจากนี้ ในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง ประชากรในเขตอาดาจิ เขตเอโดงาวะ และเขตคัตสึชิกะ ซึ่งติดกับจังหวัดไซตามะและจังหวัดชิบะใช้เสียงสูงต่ำตามภาษาถิ่นไซตามะ[10]

สำนวน แก้

  • ภาษาถิ่นคันโตและโทโฮกุเดิมมีรูปประโยคที่ลงท้ายด้วย「べい」/「べえ」/「べ」 แต่ภาษาถิ่นโตเกียวใช้「~う」หรือ「~よう」 เช่น 「行くべい」=「行こ」,「これだべい」=「これだろ
  • ภาษาถิ่นโตเกียวใช้คำช่วย「へ」 (แสดงทิศทาง) เช่นเดียวกับภาษาถิ่นคิงกิ ต่างจากภาษาถิ่นโทโฮกุที่นิยมใช้คำช่วย「さ」
  • พบคำศัพท์ที่รับมาจากภาษาถิ่นคิงกิจำนวนมาก เช่น 「怖い」 "กลัว" 「ふすま」 "ประตูเลื่อนกรอบไม้กรุด้วยกระดาษอย่างหนา" 「うろこ」 "เกล็ด" 「つゆ(梅雨)」 "ช่วงฤดูฝนก่อนเข้าฤดูร้อน" 「塩辛い」 "เค็ม" 「つらら」 "แท่งน้ำแข็งตามชายคาบ้าน เกิดจากน้ำไหลลงมาแล้วแข็งตัว" 「けむり」 "ควัน" 「しあさって」 "วันมะเรื่อง (วันถัดจากวันมะรืน)"[11]
  • พบสำนวนภาษาสุภาพ(敬語)ที่รับมาจากภาษาถิ่นคิงกิจำนวนมาก เช่น กริยาถ่อมตัว「おる」, รูปปฏิเสธแบบสุภาพ「~ません」 รวมถึงเสียงสะดวก -u(ウ音便) เช่น 「ごきげんよう」 (มาจาก ごきげんよく), 「おさむございます」 (มาจาก おさむございます)
  • ประชากรในโตเกียวใช้สำนวนภาษาสุภาพ「~れる」「~られる」ค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับถิ่นอื่น ๆ[12]
  • แม้ว่าปัจจุบันใช้กริยานุเคราะห์ปฏิเสธ「ない」หรือ「ねえ」 แต่ก่อนหน้านี้ก็เคยใช้「ぬ」หรือ「ん」แบบเดียวกับภาษาถิ่นภาษาญี่ปุ่นตะวันตก และยังคงเหลือให้เห็นในสุภาษิต คำพังเพย จนถึงปัจจุบัน
  • 「~てしまう」กลายเป็น「~ちまう」「~ちゃう」 เช่น 「わってしまう」→「わっちまう」/「わっちゃう
  • พบการใช้ภาษาผู้หญิง「わ」「こと」「てよ」 ฯลฯ ตั้งแต่เข้าสู่ยุคเมจิ

สถานการณ์ในปัจจุบัน แก้

การปนกันของภาษาถิ่นย่านยามาโนเตะและชิตามาจิ การอพยพของคนถิ่นเดิมเนื่องจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในคันโตและการทิ้งระเบิดโตเกียว การอพยพเข้ามาของคนต่างถิ่นเนื่องจากการเติบโตทางเศรษฐกิจหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ล้วนแต่ส่งผลกระทบต่อภาษาถิ่นโตเกียวให้กลายเป็นภาษาใกล้สูญ ปัจจุบัน "ภาษาถิ่นเขตอภิมหานครโตเกียว"(首都圏方言)ซึ่งเป็นภาษาถิ่นที่ผสมผสานระหว่างภาษากลาง (ภาษาถิ่นโตเกียว) กับภาษาถิ่นในภูมิภาคคันโตได้เข้ามามีอิทธิพลในโตเกียวเป็นอย่างมาก เช่น

  • ใช้คำแสดงทัศนภาวะ (modality) 「~じゃん・~じゃんか」 มีความหมายเหมือน「~じゃないか」ในภาษาถิ่นโตเกียว มาจากภาษาถิ่นภูมิภาคชูบุและเข้ามาในโตเกียวผ่านทางโยโกฮามะ[13]
  • ใช้「ちがかった」「ちがくて」แทนการใช้「ちがった」「ちがって」 มาจากภาษาถิ่นโทโฮกุตอนใต้และคันโตตอนเหนือ[13]
  • ใช้「みたく」แทนการใช้「みたいに」เช่น「神様かみさまみたく尊敬そんけいする」 = 神様かみさまみたいに尊敬そんけいする」 "นับถือเหมือนเทพเจ้า" มาจากภาษาถิ่นโทโฮกุและคันโตตอนเหนือ[13]

อ้างอิง แก้

  1. Nihon kokugo daijiten. Shōgakkan. Kokugo Jiten Henshūbu, 小学館. 国語辞典編集部. (Seisenban, shohan ed.). Tōkyō: Shōgakkan. 2006. ISBN 4-09-521021-4. OCLC 70216445.{{cite book}}: CS1 maint: others (ลิงก์)
  2. 2.0 2.1 2.2 Daijirin. Akira Matsumura, 松村明, Sanseidō. Henshūjo, 三省堂. 編修所. (Daishihan ed.). Tōkyō. 2019. ISBN 978-4-385-13906-7. OCLC 1117711467.{{cite book}}: CS1 maint: others (ลิงก์)
  3. 3.0 3.1 Hasegawa, Yoko (2015). Japanese : a linguistic introduction. Cambridge, United Kingdom. ISBN 978-1-107-61147-4. OCLC 873763304.
  4. 4.0 4.1 Frellesvig, Bjarke (2010). A history of the Japanese language. Cambridge: Cambridge University Press. ISBN 978-0-511-93242-7. OCLC 695989981.
  5. 5.0 5.1 5.2 Shin meikai kokugo jiten = Sinmeikai. Tadao Yamada, Yasuo Kuramochi, Zendō Uwano, Masahiro Ijima, Hiroyuki Sasahara, 山田忠雄 (Daihachihan, shiroban ed.). Tōkyō. 2020. ISBN 978-4-385-13078-1. OCLC 1223313848.{{cite book}}: CS1 maint: others (ลิงก์)
  6. 6.00 6.01 6.02 6.03 6.04 6.05 6.06 6.07 6.08 6.09 6.10 玉川大学出版部『金田一春彦著作集 第9巻』「移りつく東京アクセント」
  7. 7.0 7.1 玉川大学出版部『金田一春彦著作集 第9巻』「東京語アクセントの再検討」
  8. 国立国語研究所『東京方言および各地方言の調査』
  9. 江端義夫著「最新ひと目でわかる全国方言一覧辞典」
  10. 玉川大学出版部『金田一春彦著作集 第9巻』「埼玉県下に分布する特殊アクセントの考察」
  11. 飯豊毅一・日野資純・佐藤亮一編『講座方言学1 ―方言概説―』国書刊行会、1998年、166頁。
  12. 文化審議会『敬語の指針(文化審議会答申)』(PDF)文化庁、2007年2月2日。51頁。
  13. 13.0 13.1 13.2 Sanseidō kokugo jiten. Hidetoshi Kenbō, Takashi Ichikawa, Yoshifumi Hida, Makoto Yamazaki, Hiroaki Iima, Takehiro Shioda. Tōkyō: Sanseidō. 2022. ISBN 978-4-385-13929-6. OCLC 1289473336.{{cite book}}: CS1 maint: others (ลิงก์)