ภาษาซาริโกลี เป็นภาษากลุ่มอิหร่านตะวันออกเฉียงใต้ กลุ่มย่อยปามีร์ พูดโดยชาวทาจิกในจีน ชื่อเป็นทางการในประเทศจีนคือภาษาทาจิก (จีน: 塔吉克语; พินอิน: Tǎjíkèyǔ)[4] แต่ถือว่าอยู่ในกลุ่มย่อยที่ต่างจากภาษาทาจิกที่เป็นภาษาราชการของประเทศทาจิกิสถาน มีผู้พูดราว 10,000 คน ส่วนใหญ่อยู่ในเขตปกครองตนเองทักโกรคัน ทาจิกในมณฑลซินเจียง ผุ้พูดภาษานี้ใช้ภาษาอุยกูร์หรือภาษาจีนติดต่อกับผู้พุดภาษาอื่นๆในบริเวณนั้น โดยทั่วไปสามารถเข้าใจกันได้กับผู้พูดภาษาวาคี ซึ่งเป็นภาษาของชนกลุ่มน้อยชาวทาจิกจีนด้วย

ภาษาซาริโกลี
تۇجىك زىڤ / سەرىقۇلى زىڤ[1]
Tujik ziv / Sarikhuli ziv Тоҷик зив
ประเทศที่มีการพูดประเทศจีน
ภูมิภาคปามีร์ (Taxkorgan County)
ชาติพันธุ์ชาวปามีร์
จำนวนผู้พูด16,000  (2000)[2]
ตระกูลภาษา
ระบบการเขียนอักษรอาหรับอุยกูร์ (ไม่ทางการ)[3]
รหัสภาษา
ISO 639-3srh
Linguasphere58-ABD-eb
บริเวณที่มีผู้พูดภาษาซาริโกลี (ฟ้า) ในเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์
บทความนี้มีสัญลักษณ์สัทอักษรสากล หากระบบของคุณไม่รองรับการแสดงผลที่ถูกต้อง คุณอาจเห็นปรัศนี กล่อง หรือสัญลักษณ์อย่างอื่นแทนที่อักขระยูนิโคด

ระบบการเขียน แก้

ไม่มีระบบการเขียนที่เป็นทางการในจีน นักภาษาศาสตร์ชาวรัสเซียที่ศึกษาภาษานี้เขียนด้วยอักษรซีริลลิกแบบรัสเซีย นักภาษาศาสตร์กลุ่มอื่น ๆ ใช้สัทอักษร[5][6] หรือใช้อักษรที่ใช้เขียนภาษาวาคี[7][8] เนื่องจากผู้พูดภาษานี้ส่วนใหญ่ใช้ภาษาอุยกูร์ในโรงเรียนจึงมีบางส่วนเขียนภาษานี้ด้วยอักษรอุยกูร์[3]

ระบบการเขียน แก้

ใน ค.ศ. 1958 นักภาษาศาสตร์ Gāo Èrqiāng ศึกษาภาษาซาริดกลีร่วมกับนักภาษาศาสตร์ชาวทาจิก โดยใช้สัญลักษณ์ 37 อันจากสัทอักษรสากล ในพจนานุกรมซาริโกลี-ฮั่นฉบับปี 1996 Gāo Èrqiāng ใช้ 26 พยัญชนะและ 8 ทวิอักษรจากอักษรพินอิน

อักษรซารืโกลี (Gao 1996)[9]
ตัวพิมพ์ใหญ่ A B C Dz D E F GC GH G HY H I J KH K L M
ตัวพิมพ์เล็ก a b c d dz e f g gc gh h hy i j k kh l m
สะกด [a] [b] [x] [d] [d͡z] [e] [f] [ɡ] [ɣ] [ʁ] [χ] [h] [i] [d͡ʒ] [k] [q] [l] [m]
ตัวพิมพ์ใหญ่ N O P Q R S SS TS T U Ü V W X Y ZY ZZ Z
ตัวพิมพ์เล็ก n o p q r s ss t ts u ü v w x y z zy zz
สะกด [n] [o] [p] [t͡ʃ] [r] [s] [θ] [t] [t͡s] [u] [ɯ] [v] [w] [ʃ] [j] [z] [ʒ] [ð]

สัทวิทยา แก้

สระ ได้แก่ a [a], e [e], ɛy [ɛi̯] (บางสำเนียงเป็น æy หรือ ay [æi̯ / ai̯]), ɛw [ɛu̯] (บางสำเนียงเป็น æw หรือ aw [æu̯ /au̯]), ə [ə], i [i], o [o / ɔ], u [u], ы [ɯ] (บางสำเนียงเป็น ů [ʊ]) ในบางสำเนียงอาจมีสระเสียงยาวที่ต่างไปดังนี้: ā, ē, ī, ō, ū, ы̄, ǝ̄[ต้องการอ้างอิง]

พยัญชนะมี 29 ตัว ได้แก่ p /p/, b /b/, t /t/, d /d/, k /k ~ c/, g /ɡ ~ ɟ/, q /q/, c /ts/, ʒ /dz/, č /tɕ/, ǰ /dʑ/, s /s/, z /z/, /x/, γ̌ /ɣ/, f /f/, v /v/, θ /θ/, δ /ð/, x /χ/, γ /ʁ/, š /ɕ/, ž /ʑ/, w /w/, y /j/, m /m/, n /n, ŋ/, l /l/, r /r/

คำศัพท์ แก้

รากศัพท์ของภาษาซาริโกลีส่วนใหญ่ใกล้เคียงกับภาษากลุ่มอิหร่านตะวันออกอื่นๆ มีบางส่วนรับอิทธิพลจากภาษากลุ่มอิหร่านตะวันตกเช่นภาษาเปอร์เซียหรือภาษาทาจิก

อ้างอิง แก้

  1. Gao, Erqiang (高尔锵) (1996). 塔吉克汉词典 [Tajik-Chinese Dictionary] (ภาษาจีนตัวย่อ). Sichuan Nationalities Publishing House (四川民族出版社). ISBN 978-7-5409-1744-9.
  2. ภาษาซาริโกลี ที่ Ethnologue (18th ed., 2015) (ต้องสมัครสมาชิก)
  3. 3.0 3.1 Yang, Yi-fang 杨亦凡; Abdurahman Tursun 阿不都热合曼·吐尔逊 Aray Zangbek 阿来·藏别克 Qian, Wei-liang 钱伟量 (2017). "Jīyú "Yīdài Yīlù" zhànlüè shìjiǎo de Zhōngguó Tǎjíkè yǔyán wénzì bǎohù yǔ chuánchéng wèntí fēnxī" 基于"一带一路"战略视角的中国塔吉克语言文字保护与传承问题分析 [Research of Protection and Inheritance of Sarikoli Tajik Language and Characters]. Jiāmùsī zhíyè xuéyuàn xuébào / Journal of Juamjusi Education Institute (ภาษาจีน). 2017 (4): 263–265. doi:10.3969/j.issn.1000-9795.2017.04.176. 近代以来,我国塔吉克族使用阿拉伯维吾尔文拼写高山塔吉克语
  4. มีชื่อเรียกหลายแบบ เช่น 萨里库尔语, Sàlǐkùěryǔ, 萨雷阔勒语, Sàléikuòlèyǔ, 色勒库尔语, Sèlèkùěryǔ หรือ 撒里科里语, Sǎlǐkēlǐyǔ.
  5. Gawarjon (高尔锵/Gāo Ěrqiāng) (1985). Tǎjíkèyǔ jiǎnzhì 塔吉克语简志 [Outline of the Tajik language] (ภาษาจีน). Beijing: Minzu chubanshe.
  6. Gawarjon (高尔锵/Gāo Ěrqiāng) (1996). Tǎjíkè-Hàn cìdiǎn 塔吉克汉词典 [Tajik–Chinese Dictionary] (ภาษาจีน). Chengdou: Sichuan minzu chubanshe. ISBN 7-5409-1744-X.
  7. Pakhalina, Tatiana N. (Татьяна Н. Пахалина) (1966). Sarykol'skij Jazyk Сарыкольский язык [The Sarikoli Language] (ภาษารัสเซีย). Moskva: Akademia Nauk SSSR.
  8. Pakhalina, Tatiana N. (Татьяна Н. Пахалина) (1971). Sarykol'sko-russkij slovar' Сарыкольско-русский словарь [Sarikoli–Russian Dictionary] (ภาษารัสเซีย). Moskva: Akademia Nauk SSSR.
  9. Gao 1996.

อ่านเพิ่ม แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้