ภาษากาปัมปางัน

(เปลี่ยนทางจาก ภาษากาปัมปังกัน)

ภาษากาปัมปางัน เป็นภาษาหนึ่งที่ใช้พูดในประเทศฟิลิปปินส์

ภาษากาปัมปางัน
Pampangan
Amánung Kapangpángan, Amánung Sísuan
"กาปัมปางัน" ที่เขียนด้วยอักษรกูลีตัน ระบบอักษรในอดีต
ออกเสียง[kəːpəmˈpaːŋən]
ประเทศที่มีการพูดประเทศฟิลิปปินส์
ภูมิภาคเขตกิตนางลูโซน (จังหวัดปัมปังกาทั้งหมด, จังหวัดตาร์ลักตอนใต้, จังหวัดบาตาอันตะวันออกเฉียงเหนือ, จังหวัดบูลาคันตะวันตก, จังหวัดนูเวบาเอซีฮาตะวันตกเฉียงใต้, จังหวัดซัมบาเลสตะวันออกเฉียงใต้)
ชาติพันธุ์ชาวกาปัมปางัน
จำนวนผู้พูด2.8 ล้านคน  (2010)[1]
ภาษาแม่ที่มีผู้พูดมากเป็นอันดับ 7 ในประเทศ[2]
ตระกูลภาษา
ระบบการเขียนอักษรละติน (ชุดตัวอักษรกาปัมปางัน)
อดีตเขียนด้วย: กูลีตัน
สถานภาพทางการ
ภาษาทางการAngeles City[3][4][5]
ภาษาชนกลุ่มน้อยที่รับรองในภาษาภูมิภาคในประเทศฟิลิปปินส์
ผู้วางระเบียบKomisyon sa Wikang Filipino
รหัสภาษา
ISO 639-2pam
ISO 639-3pam
บริเวณที่มีผู้พูดภาษากาปัมปางัน
บทความนี้มีสัญลักษณ์สัทอักษรสากล หากระบบของคุณไม่รองรับการแสดงผลที่ถูกต้อง คุณอาจเห็นปรัศนี กล่อง หรือสัญลักษณ์อย่างอื่นแทนที่อักขระยูนิโคด

สัทวิทยา แก้

ภาษากาปัมปางันมาตรฐานมี 21 หน่วยเสียง แบ่งเป็นเสียงพยัญชนะ 15 เสียง และเสียงสระ 5 เสียง ในสำเนียงตะวันตกบางส่วนมีเสียงสระหกเสียง โครงสร้างพยางค์ของภาษานี้เรียบง่าย โดยแต่ละพยางค์มีพยัญชนะและสระอย่างน้อยหนึ่งตัว

สระ แก้

พยัญชนะ แก้

ริมฝีปาก ฟัน /
ปุ่มเหงือก
เพดานแข็ง เพดานอ่อน เส้นเสียง
นาสิก m n ŋ
หยุด ไม่ก้อง p t k ʔ
ก้อง b d g
เสียดแทรก s ʃ
ลิ้นกระทบ/รัว ɾ ~ r
เปิด l j w

ไวยากรณ์ แก้

คำนาม แก้

คำนามมี 3 การก คือ สัมบูรณ์ เกี่ยวพัน และกรรมตรง เป็นภาษาที่นิยมใช้ในรูปถูกกระทำ เครื่องหมายสำหรับการกสัมบูรณ์จะแสดงการกระทำของอกรรมกริยาและกรรมของสกรรมกริยา เครื่องหมายแสดงการกเกี่ยวพัน แสดงกรรมของอกรรมกริยา และการกระทำของสกรรมกริยา และใช้แสดงความเป็นเจ้าของ เครื่องหมายแสดงกรรมเหมือนกับบุพบทในภาษาอังกฤษแสดงตำแหน่งและทิศทาง เครื่องหมายของคำนามแบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ ใช้กับบุคคลและใช้ทั่วไป ดังในตาราง

  การกสัมบูรณ์ (Absolutive) การกเกี่ยวพัน (Ergative) การกกรรมตรง (Oblique)
เอกพจน์ทั่วไป ing -ng,
ning
king
พหูพจน์ทั่วไป ding
ring
ring karing
เอกพจน์บุคคล i -ng kang
พหูพจน์บุคคล di
ri
ri kari

ตัวอย่างประโยค

  • Dinatang ya ing lalaki = ผู้ชายมาถึง
  • Ikit neng Juan i Maria = จอห์นเห็นมาเรีย
  • Munta la ri Elena at Roberto king bale nang Miguel = เอเลนาและโรเบอร์โตจะไปบ้านของมิเกล
  • Nukarin la ring libro = หนังสือเหล่านั้นอยู่ที่ไหน

สรรพนาม แก้

  การกสัมบูรณ์
(อิสระ)
การกสัมบูรณ์
(ภายใน)
การกเกี่ยวพัน การกกรรมตรง
เอกพจน์บุรุษที่ 1 yaku, aku ku ku kanaku, kaku
เอกพจน์บุรุษที่ 2 ika ka mu keka
เอกพจน์บุรุษที่ 3 iya, ya ya na keya, kaya
ทวิพจน์บุรุษที่ 1 ikata kata, ta ta kekata
พหูพจน์บุรุษที่ 1 รวมผู้ฟัง ikatamu, itamu katamu, tamu tamu, ta kekatamu, kekata
พหูพจน์บุรุษที่ 1 ไม่รวมผู้ฟัง ikami, ike kami, ke mi kekami, keke
พหูพจน์บุรุษที่ 2 ikayo, iko kayu, ko yu kekayu, keko
พหูพจน์บุรุษที่ 3 ila la da karela

ตัวอย่างประโยค

  • Sinulat ku. = ฉันเขียนแล้ว (อดีต)
  • Silatanan na ku = (เขา) เขียนถึงฉัน
  • Dinatang ya = เขามาถึงแล้ว
  • Ninu ing minaus keka? = ใครเรียกคุณ

คำสรรพนามแสดงความเป็นเจ้าของตามหลังคำที่ถูกขยาย คำสรรพนามที่เป็นกรรมอาจใช้แทนคำสรรพนามแสดงความเป็นเจ้าของได้ แต่จะนำหน้าคำที่ถูกขยาย เช่น

  • Ing bale ku = Ing kakung bale = บ้านของฉัน

คำสรรพนามทวิพจน์ ikata ใช้แทนสรรพนามบุรุษที่ 1 และ 2 คำสรรพนามรวมผู้ฟัง ikatamu ใช้แทนบุรุษที่ 1 และ 2 อาจรวมบุรุษที่ 3 ด้วย คำสรรพนามไม่รวมผู้ฟัง ikami ใช้แทนสรรพนามบุรุษที่ 1 และ 3 แต่ไม่รวมบุรุษที่ 2 ตัวอย่างเช่น

  • Ala tang nasi = เรา (คุณและฉัน) กินข้าว
  • Ala tamung nasi = เรา (คุณและฉันและคนอื่น ๆ) กินข้าว
  • Ala keng nasi = เรา (คนอื่น ๆ และฉัน ไม่รวมคุณ) กินข้าว

ภาษากาปัมปางันต้องแสดงคำสรรพนาม แม้ว่าจะมีคำนามปรากฏอยู่ก็ตาม เช่น

  • Dinatang ya i Ernine = เออร์นินมาถึง
  • Mamasa la ri Maria at Juan = มาเรียและฮวนกำลังอ่านหนังสือ

สรรพนาม ya และ la มีรูปพิเศษเมื่อใช้เป็นคำสันธานกับคำ ati (มี) และ ala (ไม่มี) เช่น

  • Ati yu king Pampanga = เขาอยู่ในปัมปางา
  • Ala lu ring doktor keni = หมอไม่ได้อยู่ที่นี่นาน

การรวมคำสรรพนาม แก้

การเรียงลำดับและรูปแบบของคำสรรพนามในภาษากาปัมปางันแสดงในตารางข้างล่าง สรรพนามเหล่านี้มีลำดับแน่นอนในการตามหลังคำกริยาหรืออนุภาค เช่น คำปฏิเสธ คำสรรพนามภายในจะตามหลังคำสรรพนามอีกตัวเป็นลำดับแรก เช่น

  • Ikit da ka = ฉันเห็นคุณ
  • Silatanan na ku = เขาเขียนถึงฉัน

การเรียงลำดับคำสรรพนามสลับกันถือว่าผิดไวยากรณ์ มีการรวมตัวของคำสรรพนามด้วย เช่น

  • Ikit ke (แทน Ikit ku ya) = ฉันเห็นหล่อน
  • Dinan kung pera (Dinan ku lang pera) = ฉันจะให้เงินแก่พวกเขา

คำสรรพนามที่รวมกันนี้ใช้ในคำถามด้วย เช่น

  • Akakit mya? = คุณเห็นเขาไหม

ตารางต่อไปนี้แสดงคำสรรพนามที่รวมกันได้ ช่องว่างแสดงว่าคำสรรพนามคู่นั้นรวมกันไม่ได้ ตามแนวตั้งเป็นสรรพนามรูปสัมบูรณ์ ส่วนแนวนอนเป็นสรรพนามรูปเกี่ยวพัน

  yaku
1 s
ika
2 s
ya
3 s
ikata
1 dual
ikatamu
1 p inc.
ikami
1 p exc.
ikayo
2 p
ila
3 p
ku
1 s
(ing sarili ku) da ka ke
kya
- - - da ko
da kayu
ko
ku la
mu
2 s
mu ku (ing sarili mu) me
mya
- - mu ke
mu kami
- mo
mu la
na
3 s
na ku na ka ne
nya
(ing sarili na)
na kata na katamu na ke
na kami
na ko
na kayu
no
nu la
ta
1 dual
- - te
tya
(ing sarili ta) - - - to
ta la
tamu
1 p inc.
- - ta ya - (ing sarili tamu) - - ta la
mi
1 p exc.
- da ka mi ya - - (ing sarili mi) da ko
da kayu
mi la
yu
2 p
yu ku - ye
ya
- - yu ke
yu kami
(ing sarili yu) yo
yu la
da
3 p
da ku da ka de
dya
da kata da katamu da ke
da kami
da ko
da kayu
do
da la
(ing sarili da)

คำสรรพนามชี้เฉพาะ แก้

คำสรรพนามชนิดนี้ในภาษากาปัมปางันต่างจากภาษาในฟิลิปปินส์อื่น ๆ คือมีการแยกรูปเอกพจน์กับพหูพจน์

  การกสัมบูรณ์ การกเกี่ยวพัน การกกรรมตรง สถานที่ ภายใน
เอกพจน์ พหูพจน์ เอกพจน์ พหูพจน์ เอกพจน์ พหูพจน์ เอกพจน์ พหูพจน์
ใกล้กับผู้พูดที่สุด
(นี่ ที่นี่)
ini deni
reni
nini dareni kanini kareni oyni oreni keni
ใกล้ผู้พูดหรือสถานที่
(นี่ ที่นี่)
iti deti
reti
niti dareti kaniti kareti oyti oreti keti
สถานที่ที่อยู่ใกล้
(ที่นั่น นั่น)
iyan den
ren
niyan daren kanyan karen oyan oren ken
อยู่ไกล
(โน่น)
ita deta
reta
nita dareta kanita kareta oyta oreta keta

imi และ iti หมายถึง "นี่" เหมือนกันแต่ใช้ต่างกัน iti ใช้แทนสิ่งที่เป็นนามธรรม เช่น iting musika (ดนตรีนี้) ini ใช้กับสิ่งที่เป็นรูปธรรมเท่านั้น เช่น ining libru (หนังสือเล่มนี้)

ในรูปชี้บ่งสถานที่ keni ใช้เมื่อผู้พูดไม่อยู่ใกล้สิ่งที่พูดถึง keti ใช้เมื่อผู้พูดอยู่ใกล้สิ่งที่พูดถึง ทั้งสองคำหมายถึง "ที่นี่" เหมือนกัน ตัวอย่างเช่น

  • Ninu ing lalaking ita = ใครคือผู้ชายคนนั้น
  • Me keni = มาที่นี่
  • Ati ku keti = ฉันอยู่ที่นี่
  • Oreni adwang regalo para keka = นี่คือของขวัญ 2 ชิ้น สำหรับคุณ

คำกริยา แก้

คำกริยาในภาษากาปัมปางันมีโครงสร้างที่ซับซ้อน มีการลงวิภัติปัจจัยผันตามสิ่งเน้น จุดประสงค์ รูปแบบ และอื่น ๆ ผู้พูดภาษาอื่น ๆ ในฟิลิปปินส์จะมองว่าคำกริยาของภาษากาปัมปางันยากกว่าภาษาอื่น เพราะมีรูปแบบที่คาดเดาได้ยาก ตัวอย่างเช่นคำว่า sulat (เขียน) ซึ่งเป็นรากศัพท์ที่พบทั้งภาษาตากาล็อกและภาษากาปัมปางัน มีการผันต่างกันดังนี้

  • susulat ภาษากาปัมปางันแปลว่า "กำลังเขียน" ภาษาตากาล็อกแปลว่า "จะเขียน"
  • sumulat ภาษากาปัมปางันแปลว่า "จะเขียน" ภาษาตากาล็อกแปลว่า "เขียนแล้ว" และใช้เป็นรูปนามกริยาทั้ง 2 ภาษา
  • sinulat แปลว่า "เขียนแล้ว" ทั้ง 2 ภาษา แต่ภาษากาปัมปางันเน้นผู้กระทำ ภาษาตากาล็อกเป็นรูปเน้นกรรม

มีคำกริยาในรูปเน้นผู้ถูกกระทำที่ไม่ใช้อาคม -um- แต่ใช้การเชื่อมต่อ เช่น gawa(ทำ) bulus (จม) sindi (สูบบุหรี่) คำกริยาเหล่านี้เกิดจากการเปลี่ยนเสียงสระในรูปเน้นผู้กระทำจะเกิดกับคำกริยาที่มีสระ u ที่พยางค์แรก เช่น lucas (เอาออกไป) lukas (จะเอาออกไป) lulukas (กำลังเอาออกไป) และ likas (เอาออกไปแล้ว)

  นามกริยา &
Contemplative
ความต่อเนื่อง สมบูรณ์
เน้นผู้กระทำ1a -um- CV- -in-
เน้นผู้กระทำ1b - CV- -in-
-i-
เน้นผู้กระทำ1c m- mVm- min-
me-
เน้นผู้กระทำ2 mag- mág- mig-, meg-
เน้นผู้กระทำ3 ma- má- ne-
เน้นผู้กระทำ4 maN- máN- meN-
เน้นกรรม1 -an CV- ... -an -in-
-i-
-e-
เน้นกรรม2
เน้นการใช้ประโยชน์
i- iCV- i- -in-
i- -i-
i- -e-
เน้นกรรม3
เน้นสถานที่
-an CV- ... -an -in- ... -an
-i- ... -an
-e- ... -an
เน้นเครื่องมือ ipaN- páN- piN-, peN
เน้นเหตุผล ka- ká- ke-

ตัวอย่างประโยคทั่วไป

  • Kumusta naka? = คุณเป็นอย่างไรบ้าง
  • Masalese kupu = ฉันสบายดี
  • Nanung lagyu mu? = คุณชื่ออะไร

จำนวน แก้

1 = metung 2 = adwa 3 = atlu 4 = apat 5 = lima 6 = anam 7 = pitu 8 = walu 9 = siyam 10 = apulu

อ้างอิง แก้

  1. "2010 Census of Population and Housing, Report No. 2A - Demographic and Housing Characteristics (Non-Sample Variables)" (PDF) (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-05-02.
  2. "2010 Census of Population and Housing, Report No. 2A - Demographic and Housing Characteristics (Non-Sample Variables)" (PDF) (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-05-02.
  3. Ordinance No. 424, City of Angeles.
  4. Orejas, Tonette (July 22, 2021). "Angeles traffic signs soon in Kapampangan". Inquirer.net. The Philippine Daily Inquirer. สืบค้นเมื่อ September 7, 2021.
  5. Orejas, Tonette (September 7, 2021). "Drivers welcome Kapampangan traffic signs". Inquirer.net. The Philippine Daily Inquirer. สืบค้นเมื่อ September 7, 2021.
บรรณานุกรม
  • Bautista, Ma. Lourdes S. 1996. An Outline: The National Language and the Language of Instruction. In Readings in Philippine Sociolinguistics, ed. by Ma. Lourdes S. Bautista, 223. Manila: De La Salle University Press, Inc.
  • Bergaño, Diego. 1860. Vocabulario de la Lengua Pampanga en Romance. 2nd ed. Manila: Imprenta de Ramirez y Giraudier.
  • Castro, Rosalina Icban. 1981. Literature of the Pampangos. Manila: University of the East Press.
  • Fernández, Eligío. 1876. Nuevo Vocabulario, ó Manual de Conversaciónes en Español, Tagálo y Pampángo. Binondo: Imprenta de M. Perez
  • Forman, Michael. 1971. Kapampangan Grammar Notes. Honolulu: University of Hawaii Press
  • Gallárdo, José. 1985–86. Magaral Tang Capampangan. Ing Máyap a Balità, ed. by José Gallárdo, May 1985- June 1986. San Fernando: Archdiocese of San Fernando.
  • Henson, Mariano A. 1965. The Province of Pampanga and Its Towns: A.D. 1300–1965. 4th ed. revised. Angeles City: By the author.
  • Kitano Hiroaki. 1997. Kapampangan. In Facts About The World's Major Languages, ed. by Jane Garry. New York: H.W. Wilson. Pre-published copy
  • Lacson, Evangelina Hilario. 1984. Kapampangan Writing: A Selected Compendium and Critique. Ermita, Manila: National Historical Institute.
  • Manlapaz, Edna Zapanta. 1981. Kapampangan Literature: A Historical Survey and Anthology. Quezon City: Ateneo de Manila University Press.
  • Panganiban, J.V. 1972. Diksyunaryo-Tesauro Pilipino-Ingles. Quezon City: Manlapaz Publishing Co.
  • Pangilinan, Michael Raymon M. 2004. Critical Diacritical. In Kapampangan Magazine, ed. by Elmer G. Cato,32-33, Issue XIV. Angeles City: KMagazine.
  • Samson, Venancio. 2004. Problems on Pampango Orthography. In Kapampangan Magazine, ed. by Elmer G. Cato,32-33, Issue XII. Angeles City: KMagazine.
  • Samson, Venancio. 2011. Kapampangan Dictionary. Angeles City: The Juan D. Nepomuceno Center for Kapampangan Studies, Holy Angel University Press. ISBN 978-971-0546-07-7
  • Tayag, Katoks (Renato). 1985. "The Vanishing Pampango Nation", Recollections and Digressions. Escolta, Manila: Philnabank Club c/o Philippine National Bank.
  • Turla, Ernesto C. 1999. Classic Kapampangan Dictionary. Offprint Copy

แหล่งข้อมูลอื่น แก้