กลุ่มภาษาเคลต์ภาคพื้นทวีป

กลุ่มภาษาเคลต์ภาคพื้นทวีป (อังกฤษ: Continental Celtic languages) เป็นชื่อในยุคใหม่ของกลุ่มภาษาเคลต์ที่ตายไปแล้วและเคยใช้พูดในบริเวณภาคพื้นทวีป (ตรงข้ามกับกลุ่มภาษาเคลต์หมู่เกาะที่มีจุดกำเนิดในอังกฤษและไอร์แลนด์) กลุ่มภาษานี้ใช้พูดโดยกลุ่มชนที่ชาวโรมันและกรีกเรียกว่าเกลตอย เคลต์ กอล และกาลาแต ภาษาเหล่านี้ใช้พูดตั้งแต่คาบสมุทรไอบีเรียไปจนถึงคาบสมุทรบอลข่านและเอเชียน้อย ภาษาเหล่านี้ถูกแทนที่ด้วยกลุ่มภาษาเยอรมันและกลุ่มภาษาอิตาลี

กลุ่มภาษาเคลต์ภาคพื้นทวีป
(ภูมิศาสตร์)
ภูมิภาค:ยุโรปภาคพื้นทวีป อานาโตเลีย
การจําแนก
ทางภาษาศาสตร์
:
อินโด-ยูโรเปียน
  • เคลต์
    • กลุ่มภาษาเคลต์ภาคพื้นทวีป
กลุ่มย่อย:
กลอตโตลอก:None
{{{mapalt}}}
กลุ่มภาษาเคลต์ในยุคเหล็กถึงสมัยโบราณคลาสสิก 1: ภูมิภาคศูนย์กลางยุคเหล็กตอนต้น (ฮัลชตัท -H-, ลาแตนตอนต้น -L-) 2: บริเวณที่คาดว่าเกิดการขยายตัวของชนเคลต์นศตวรรษที่ 4 ก่อน ค.ศ. L: พื้นที่ลาแตน H: พื้นที่ฮัลชตัท I: ไอบีเรีย B: บริติชไอลส์ G: กาลาเตีย ตั้งถิ่นฐานศตวรรษที่ 3 ก่อน ค.ศ. (หลัง 279 ปีก่อน ค.ศ.)

ภาษาที่ได้รับการรับรอง แก้

มีความเป็นไปได้ว่าชาวเคลต์พูดภาษาและภาษาย่อยหลายภาษาทั่วยุโรปก่อนสมัยโรมัน แต่มีภาษาจำนวนน้อยเท่านั้นที่ได้รับการรับรอง:

  • เลปอนติก (ศตวรรษที่ 6 ถึง 4 ก่อน ค.ศ.)[1] ใช้พูดทางใต้ของเทือกเขาแอลป์ มีหลักฐานทางจารึกกับชื่อสถานที่จำนวนหนึ่ง
  • กอล (ศตวรรษที่ 3 ก่อน ค.ศ. ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 5 (?))[1] เป็นภาษาหลักในพื้นที่กอล มักถือว่าแบ่งออกเป็น 2 ภาษาย่อย ซิสอัลไพน์ (ใช้พูดในบริเวณที่ปัจจุบันคืออิตาลี) และทรานส์อัลไพน์ (ใช้พูดในบริเวณที่ปัจจุบันคือฝรั่งเศส) เหลือหลักฐานในรูปของจารึกและชื่อสถานที่ และชื่อชนเผ่าใในงานเขียนของนักเขียนสมัยคลาสสิก
  • กาลาเตีย ใช้พูดในภูมิภาคอังการา (ปัจจุบันอยู่ในตุรกีตอนกลาง) นักเขียนสมัยคลาสสิกระบุว่า ภาษานี้มีความคล้ายคลึงกับภาษากอล และมีหลักฐานการรุกรานและตั้งถิ่นฐานโดยชาวเคลต์จากยุโรปในพื้นที่อังการา
  • นอริก เคยใช้พูดในออสเตรียและสโลวีเนีย พบเอกสารเพียงสองชิ้นเท่านั้น
  • เคลติเบเรียน หรือ สเปน-เคลต์ตะวันออกเฉียงเหนือ (ศตวรรษที่ 3 ถึง 1 ก่อน ค.ศ.)[1] เป็นชื่อของภาษาที่ใช้ทางตะวันออกเฉียงเหนือของคาบสมุทรไอบีเรีย ในบริเวณต้นน้ำของแม่น้ำคูโร ตาโย ยูคาร์ ตูเรียและเอเบร พบจารึกราว 200 ชิ้นและในชื่อสถานที่ ต่างจากภาษาไอบีเรียที่ไม่ใช่ภาษาตระกูลอินโด-ยูโรเปียนที่ใช้พูดในคาบสมุทรไอบีเรียตะวันตกเฉียงใต้
  • Gallaecian มีอีกชื่อว่า Gallaic หรือ สเปน-เคลต์ตะวันตกเฉียงเหนือ ปรากฏในชุดจารึกภาษาละตินที่มีศัพท์และประโยคโดดเดี่ยวที่เป็นภาษากลุ่มเคลต์[2][3] เคยใช้พูดในคาบสมุทรไอบีเรียตะวันตกเฉียงเหนือ

การใช้ชื่อนี้ แก้

กลุ่มภาษาเคลต์ภาคพื้นทวีปเป็นศัพท์ใหม่ที่ใช้เพื่อแยกต่างหากจากกลุ่มภาษาเคลต์หมู่เกาะ แต่ไม่มีหลักฐานว่าเป็นกลุ่มของภาษาที่มีความคล้ายคลึงกัน กลุ่มภาษานี้แบ่งได้เป็นสองกลุ่มย่อยคือกลุ่มจี ได้แก่ภาษาเคลติเบเรียนที่ได้รับอิทธิพลจากภาษาฝรั่งเศสและภาษาสเปนมาก กับภาษาที่เหลือที่จัดเป็นกลุ่มพี

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 Lambert 1994, p. 14.
  2. Colera, Jordán (2007). p. 750. In the northwest of the Iberian Peninsula, and more specifically between the west and north Atlantic coasts and an imaginary line running north-south and linking Oviedo and Merida, there is a corpus of Latin inscriptions with particular characteristics of its own. This corpus contains some linguistic features that are clearly Celtic and others that in our opinion are not Celtic. The former we shall group, for the moment, under the label northwestern Hispano-Celtic. The latter are the same features found in well-documented contemporary inscriptions in the region occupied by the Lusitanians, and therefore belonging to the variety known as LUSITANIAN, or more broadly as GALLO-LUSITANIAN. As we have already said, we do not consider this variety to belong to the Celtic language family. {{cite book}}: |title= ไม่มีหรือว่างเปล่า (help)
  3. Prósper, B.M. (2005). "Estudios sobre la fonética y la morfología de la lengua celtibérica" [Studies on the phonetics and morphology of the Celtiberian language]. ใน Villar Liebana, Francisco; Prósper, B.M. (บ.ก.). Vascos, celtas e indoeuropeos. Genes y lenguas [Basques, Celts and Indo-Europeans. Genes and languages] (ภาษาสเปน). Ediciones Universidad de Salamanca. pp. 333–350. ISBN 84-7800-530-7.

บรรณานุกรม แก้

  • Ball, M.; Fife, J. (1993). The Celtic Languages. Routledge.
  • Cowgill, Warren (1975). "The origins of the Insular Celtic conjunct and absolute verbal endings". ใน H. Rix (บ.ก.). Flexion und Wortbildung: Akten der V. Fachtagung der Indogermanischen Gesellschaft, Regensburg, 9.–14. September 1973. Wiesbaden: Reichert. pp. 40–70. ISBN 3-920153-40-5.
  • Galliou, Patrick; Jones, Michael (1991). The Bretons. Oxford: Blackwell Publishing. ISBN 0-631-16406-5.
  • Lambert, Pierre-Yves (1994). La langue gauloise [The Gallic language] (ภาษาฝรั่งเศส). éditions errance. ISBN 978-2877722247.
  • McCone, Kim (1991). "The PIE stops and syllabic nasals in Celtic". Studia Celtica Japonica. 4: 37–69.
  • McCone, Kim (1992). "Relative Chronologie: Keltisch". ใน Beekes, R.; Lubotsky, A.; Weitenberg, J. (บ.ก.). Rekonstruktion und relative Chronologie: Akten Der VIII. Fachtagung Der Indogermanischen Gesellschaft, Leiden, 31. August–4. September 1987. Institut für Sprachwissenschaft der Universität Innsbruck. pp. 12–39. ISBN 3-85124-613-6.
  • Schrijver, Peter (1995). Studies in British Celtic historical phonology. Amsterdam: Rodopi. ISBN 90-5183-820-4.
  • Stifter, David (2008). "Old Celtic 2008 (classroom material)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 July 2008.