ภาควิชาเคมีเทคนิค คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ภาควิชาเคมีเทคนิค หรือ เคมเทค เป็นภาควิชาหนึ่งของ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดสอนในหลักสูตรเคมีวิศวกรรม (B.Sc Chemical Engineering) ซึ่งเป็นหลักสูตรแรกของประเทศไทยในระดับปริญญาตรีโดยมี 2 แขนงวิชา ได้แก่  แขนงวิชาเคมีวิศวกรรม และ แขนงวิชาเทคโนโลยีทางเชื้อเพลิง และเปิดสอนในระดับปริญญาโทและระดับปริญญาเอกในแขนงวิชาดังกล่าวด้วย

ภาควิชาเคมีเทคนิค
Department of Chemical Technology
คติพจน์เคมเทคกลั่นคน เคมเทคกลั่นความรู้
สถาปนา14 กรกฎาคม 2502
ที่อยู่
ชั้น G อาคารมหามกุฎ
เว็บไซต์http://www.chemtech.sc.chula.ac.th

ประวัติ แก้

ภาควิชาเคมีเทคนิคขึ้นเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2502 จากวิสัยทัศน์ของ ศ.ดร.แถบ นีละนิธิ  ที่เห็นว่าอุตสาหกรรมเคมีจะเป็นอุตสาหกรรมที่จะเข้ามามีบทบาทอย่างมากในการพัฒนาประเทศ  ถึงได้เสนอให้มีการจัดตั้งภาควิชาเคมีเทคนิคขึ้น ซึ่งนับได้ว่าเป็นภาควิชาแรกทางสาขาวิศวกรรมเคมีของประเทศไทย  โดยในตอนแรกได้รับการสนับสนุนด้านบุคลากรและอุปกรณ์จากภาควิชาเคมี  การพัฒนาภาควิชาเคมีเทคนิคเป็นไปในรูปการใช้หลักสูตรเคมีวิศวกรรมเป็นแกนและนำวิธีการที่เป็นเทคโนโลยีเฉพาะเรื่องที่สำคัญและเกี่ยวข้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจและ อุตสาหกรรมของประเทศมาผสมผสานในลักษณะดังกล่าว  จึงนับได้ว่าภาควิชาเคมีเทคนิคเป็นแกนนำให้เกิดการพัฒนาการศึกษา  ด้านเคมีวิศวกรรมและได้แตกแขนงออกเป็นการศึกษาวัสดุศาสตร์และเทคโนโลยีอาหารซึ่งต่อมาได้เจริญก้าวหน้าและขยายขอบข่ายออกไป  เป็นภาควิชาวัสดุศาสตร์  เมื่อปี พ.ศ. 2517  และภาควิชาเทคโนโลยีทางอาหาร  เมื่อปี พ.ศ. 2527ตามลำดับ[1]

หลักสูตรเคมีวิศวกรรม คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นหลักสูตรที่มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างวิศวกรเคมีให้กับภาคอุตสาหกรรมมาตั้งแต่เปิดสอนหลักสูตรเมื่อปี พ.ศ. 2502 มาจนถึงปัจจุบัน บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาไปประกอบอาชีพและมีบทบาทสำคัญในวงการอุตสาหกรรมเคมี ปิโตรเคมี อุตสาหกรรมน้ำมัน ฯลฯ หลักสูตรเคมีวิศวกรรมได้รับการรับรองโดยสภาวิศวกรในสาขาวิศวกรรมเคมี ดังนั้นบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรเคมีวิศวกรรม สามารถขอรับใบประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมสาขาเคมี (ใบ กว.) ได้เช่นเดียวกับบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ และยังสามารถสมัครเป็นสมาชิกของสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้อีกด้วย[2]


หลักสูตร แก้

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) สาขาเคมีวิศวกรรม ของภาควิชาเคมีเทคนิค ได้รับการรับรองหลักสูตรจากสภาวิศวกร ดังนั้นบัณฑิตทีสำเร็จการศึกษาจากภาควิชาฯ จึงมีสิทธิในการขอใบอนุญาตฯ สาขาเคมี ทั้งนี้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของสภาวิศวกร หลักสูตรของภาควิชาเคมีเทคนิคได้มีการปรับปรุงหลักสูตรแล้วกว่า 10 ครั้งจนถึงปัจจุบันและมีการปรับหลักสุตรครั้งล่าสุดเมื่อปีพ.ศ. 2561

ระดับปริญญาตรี แก้

วิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) สาขาเคมีวิศวกรรม (B.Sc Chemical Engineering) มี 2 แขนงวิชาย่อย ได้แก่

  • แขนงวิชาเคมีวิศวกรรม (Chemical Engineering) ศึกษาในรายวิชาที่เกี่ยวข้องกับวิศวกรรมเคมี
  • แขนงวิชาเทคโนโลยีทางเชื้อเพลิง (Fuel Technology) ศึกษาในรายวิชาเทคโนโลยีทางปิโตรเลียมเพิ่มเติม

ระดับปริญญาโท แก้

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.)

  • สาขาวิชาเคมีเทคนิค (Master Program in Chemical Technology)
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรมเชื้อเพลิง (Master Program in Fuel Technology and Innovation)

ระดับปริญญาเอก แก้

วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต (วท.ด.) สาขาวิชาเคมีเทคนิค (Doctoral Program in Chemical Technology)[3]

คณาจารย์ แก้

  1. ศาสตราจารย์ ดร.ธราพงษ์ วิทิตศานต์
  2. ศาสตราจารย์ ดร.พรพจน์  เปี่ยมสมบูรณ์
  3. ศาสตราจารย์ ดร.สมเกียรติ  งามประเสริฐสิทธิ์
  4. ศาสตราจารย์ ดร.ณัฐธยาน์  พงศ์สถาบดี
  5. ศาสตราจารย์ ดร.ชวลิต งามจรัสศรีวิชัย
  6. ศาสตราจารย์ ดร.นพิดา หิญชีระนันทน์
  7. ศาสตราจารย์ ดร.ศิริลักษณ์  พุ่มประดับ
  8. ศาสตราจารย์ ดร.เบญจพล  เฉลิมสินสุวรรณ
  9. รองศาสตราจารย์ ดร.ขันทอง สุนทราภา
  10. รองศาสตราจารย์ ดร.เก็จวลี พฤกษาทร
  11. รองศาสตราจารย์ ดร.ประพันธ์ คูชลธารา
  12. รองศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ เรียบร้อยเจริญ
  13. รองศาสตราจารย์ ดร.นิสิต  ตัณฑวิเชฐ
  14. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุชญา  นิติวัฒนานนท์
  15. อาจารย์ ดร.ณัฐพล พินทุโยธิน
  16. อาจารย์ ดร.ณัฏฐพล ภู่ตระกูลโชติ
  17. อาจารย์ ดร.มนัสวี สุทธิพงษ์
  18. อาจารย์ ดร.ธีรวัฒน์  เสมา
  19. อาจารย์ ดร.จิตติ เกษมชัยนันท์
  20. อาจารย์ ดร.พิชญา อินนา
  21. อาจารย์ ดร.ภูวเดช พรอรุณธรรม

ศาสตราจารย์กิตติคุณ

  1. ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.สมศักดิ์ ดำรงค์เลิศ
  2. ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร. ภัทรพรรณ ประศาสน์สารกิจ[4]

อดีตคณาจารย์

  1. ศาสตราจารย์ ดร.แถบ นีละนิธิ
  2. ศาสตราจารย์ ดร.ประสม สถาปิตานนท์
  3. ศาสตราจารย์ ดร.ปราโมทย์ ไชยเวช
  4. ศาสตราจารย์ พล.ต.ดร.สุวรรณ ไทยวัฒน์
  5. รองศาสตราจารย์ ดร.เลอสรวง เมฆสุต
  6. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ชุบ เทศเจริญ
  7. อาจารย์ ดร.เพียรพรรค ทัศคร
  8. อาจารย์ ดร.โสมพรรษ์ พูลผล
  9. อาจารย์ พวงจันทร์ เหล่าศิริชน
  10. ศาสตราจารย์ ดร.สมชาย โอสุวรรณ
  11. ศาสตราจารย์ ดร.มะลิ หุ่นสม
  12. รองศาสตราจารย์ ดร.พัชรี ปานกุล
  13. รองศาสตราจารย์ ดร.กัญจนา บุณยเกียรติ
  14. รองศาสตราจารย์ ดร.ชูชาติ บารมี
  15. รองศาสตราจารย์ ดร.วิชา วนดุรงค์วรรณ
  16. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สำราญ ทั่งทอง
  17. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.คุณากร ภู่จินดา
  18. อาจารย์ เอี่ยม เอี่ยมวนานนทชัย
  19. อาจารย์ เยี่ยม จันทรประสิทธิ์

มูลนิธินิสิตเก่าเคมเทค-จุฬา[5] แก้

ก่อตั้งเมื่อปีพ.ศ. 2562 ในโอกาสครบรอบ 60 ปีภาควิชาเคมีเทคนิค จากการบริจาคจากศิษย์เก่าของภาควิชา มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นสื่อกลางในการเชื่อมต่อระหว่างนิสิตเก่ากับภาควิชา เพื่อช่วยกันพัฒนาภาควิชา เช่น การจัดอบรมให้นิสิตปัจจุบันโดยรุ่นพี่นิสิตเก่า เป็นต้น

อ้างอิง แก้

  1. http://www.chemtech.sc.chula.ac.th/ct/about-us/
  2. http://www.chemtech.sc.chula.ac.th/uploadfile/press%20released/CT%20BSc.pdf[ลิงก์เสีย]
  3. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-04-09. สืบค้นเมื่อ 2019-04-28.
  4. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-04-28. สืบค้นเมื่อ 2021-04-28.
  5. "Alumni – Department of Chemical Technology, Faculty of Science" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).