คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็น 1 ใน 4 คณะกลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งอยู่ติดกับถนนพญาไท แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถือเป็นคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์แห่งแรกของประเทศไทย ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2476 ในฐานะแผนกสถาปัตยกรรมศาสตร์ สังกัดคณะวิศวกรรมศาสตร์ และได้แยกตัวมาเป็นคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ เมื่อปี พ.ศ. 2482
Faculty of Architecture, Chulalongkorn University | |
เสาหัวเม็ด | |
ชื่อเดิม | แผนกสถาปัตยกรรมศาสตร์ |
---|---|
สถาปนา | 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2476 |
สังกัดการศึกษา | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
คณบดี | ผู้ช่วยศาสตราจารย์สรายุทธ ทรัพย์สุข |
ที่อยู่ | |
สี | สีน้ำตาล[1] |
เว็บไซต์ | www |
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประกอบด้วย 6 ภาควิชาหลัก ได้แก่ ภาควิชาสถาปัตยกรรม ภาควิชาการออกแบบอุตสาหกรรม ภาควิชาเคหการ ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง ภาควิชาภูมิสถาปัตยกรรม และภาควิชาสถาปัตยกรรมภายใน[2]
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับการจัดอันดับให้เป็นอันดับ 1 ร่วมของไทยในสาขาสถาปัตยกรรม และสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้าง (อันดับที่ 101 – 150 ของโลก) จากการจัดอันดับของคิวเอสแบ่งตามรายวิชา[3]
ประวัติ
แก้การศึกษาวิชาสถาปัตยกรรมนั้นเริ่มขึ้นที่โรงเรียนเพาะช่าง มีอาจารย์นารถ โพธิประสาท ผู้ซึ่งได้รับทุนรัฐบาลไปศึกษาวิชาสถาปัตยกรรมจากมหาวิทยาลัยลิเวอร์พูล ประเทศอังกฤษกลับมารับราชการสอนและได้เป็นผู้วางหลักสูตรสถาปัตยกรรมขั้นทดลองเมื่อ พ.ศ. 2473 รับนักเรียนเพาะช่างที่เรียนวิชาวาดเขียนเข้าเรียน 2 รุ่นรวม 30 คน
การทดลองสอนปรากฏผลเป็นที่น่าพอใจ กระทรวงธรรมการจึงมีคำสั่งที่ 75/12679 ลงวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2475 ให้โอนแผนกสถาปัตยกรรมของโรงเรียนเพาะช่างไปขึ้นกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และต่อมาในวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2476 ซึ่งถือเป็นวันสถาปนาคณะฯ ได้มีพระราชกฤษฎีกาประกาศให้เป็นแผนกวิชาสังกัดคณะวิศวกรรมศาสตร์ แต่เนื่องลักษณะวิชาและการเรียนการสอนแตกต่างกัน มหาวิทยาลัยจึงแยกแผนกวิชาสถาปัตยกรรมเป็นแผนกอิสระหลักสูตรอนุปริญญา 3 ปี ขึ้นตรงต่อมหาวิทยาลัยและแต่งตั้งพระเจริญวิศวกรรมรักษาการณ์ในตำแหน่งหัวหน้าแผนกอิสระสถาปัตยกรรมดังกล่าว
ต่อมาในปี พ.ศ. 2482 มหาวิทยาลัยได้อนุมัติให้ยกจากแผนกวิชาขึ้นเป็นคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และปรับเป็นหลักสูตรปริญญาตรี 5 ปี และในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2486 ได้มีพระราชบัญญัติจุฬาลงกรณ์ พ.ศ. 2486 กำหนดให้คณะสถาปัตยกรรมประกอบด้วย 3 วิชา คือแผนกวิชาสถาปัตยกรรม แผนกวิชาศิลปกรรม และแผนกวิชาผังเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจึงนับเป็นโรงเรียนระดับอุดมศึกษาทางสถาปัตยกรรมแห่งแรกที่ทำหน้าที่ผลิตสถาปนิกให้แก่สังคมไทย
ปัจจุบันการเรียนการสอนได้ขยายขอบเขตความรับผิดชอบออกไปสู่การผลิตนักออกแบบสาขาอื่น ๆ รวมทั้งผลิตและส่งเสริมการสร้างสรรค์งานทางวิชาการและงานวิจัยเกี่ยวกับการออกแบบแทบทุกสาขา รวมทั้งสถาปัตยกรรมและศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวเนื่อง โดยมีจุดประสงค์หลัก ในอันที่จะสร้างให้บัณฑิตของสถาบันแห่งนี้ มีความรู้และความสามารถที่จะปฏิบัติวิชาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีจริยธรรม หรืออาจสามารถค้นคว้าและวิจัย เกี่ยวกับประเด็นต่าง ๆ ในศาสตร์ว่าด้วยการออกแบบแทบทุกสาขา รวมทั้งสถาปัตยกรรมและศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวเนื่อง เพื่อสนองความต้องการของสังคมไทย
ลำดับเหตุการณ์โดยสังเขป
แก้- พ.ศ. 2475 ได้มีคำสั่งโอนแผนกสถาปัตยกรรมของโรงเรียนเพาะช่างไปสมทบขึ้นอยู่กับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- พ.ศ. 2476 ได้มีการจัดตั้งแผนกสถาปัตยกรรมศาสตร์ขึ้นเป็นแผนกหนึ่งในคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- พ.ศ. 2477 มีการแยกแผนกสถาปัตยกรรมแยกออกจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ โดยมีฐานะเป็นแผนกอิสระขึ้นตรงต่อมหาวิทยาลัย ทั้งนี้ได้ขอยืมสถานที่ของกรมศิลปากรเป็นที่เรียนชั่วคราว
- พ.ศ. 2482 แผนกสถาปัตยกรรมศาสตร์ได้ยกฐานะขึ้นเป็นคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ปรับปรุงหลักสูตรเป็นขั้นปริญญาสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต ใช้เวลาเรียน 5 ปี
- พ.ศ. 2486 ได้มีการประกาศให้คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ประกอบด้วย 3 แผนกวิชา คือ แผนกสถาปัตยกรรม แผนศิลปกรรม และแผนกผังเมือง โดยจัดให้วิชาในแผนกศิลปกรรมและแผนกผังเมืองเป็นวิชาประกอบ ซึ่งนิสิตจะต้องศึกษาเพื่อรับปริญญาสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต ในเวลาต่อมา แผนกเหล่านี้ได้เปลี่ยนฐานะเป็นภาควิชาในที่สุด
ทำเนียบคณบดี
แก้คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้พัฒนาก้าวหน้ามาถึงปัจจุบัน มีผู้ดำรงตำแหน่งคณบดี ดังต่อไปนี้
ทำเนียบคณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[4] | ||
ชื่อ | ระยะเวลาอยู่ในตำแหน่ง
| |
---|---|---|
1. พระยาประกิตกลศาสตร์ (รุณชิต กาญจนวณิชย์) | พ.ศ. 2486 – พ.ศ. 2497 | |
2. ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าโวฒยากร วรวรรณ | พ.ศ. 2497 – พ.ศ. 2508 | |
3. ศาสตราจารย์ หม่อมราชวงศ์แหลมฉาน หัสดินทร | พ.ศ. 2508 – พ.ศ. 2517 | |
4. ศาสตราจารย์ ร้อยเอก กฤษฎา อรุณวงศ์ ณ อยุธยา | พ.ศ. 2517 – พ.ศ. 2521 | |
5. รองศาสตราจารย์ หม่อมหลวงประทีป มาลากุล | พ.ศ. 2521 – พ.ศ. 2524 | |
6. รองศาสตราจารย์ เฉลิม สุจริต | พ.ศ. 2525 – พ.ศ. 2531 | |
7. รองศาสตราจารย์ ต่อพงศ์ ยมนาค | พ.ศ. 2531 – พ.ศ. 2539 | |
8. ศาสตราจารย์ เดชา บุญค้ำ | พ.ศ. 2539 – พ.ศ. 2543 | |
9. รองศาสตราจารย์ ดร.วีระ สัจกุล | พ.ศ. 2543 – พ.ศ. 2547 | |
10. ศาสตราจารย์ เลอสม สถาปิตานนท์ | พ.ศ. 2547 – พ.ศ. 2551 | |
11. ศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต จุลาสัย | พ.ศ. 2551 – พ.ศ. 2555 | |
12. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พงศ์ศักดิ์ วัฒนสินธุ์ | พ.ศ. 2555 – พ.ศ. 2558 | |
13. รองศาสตราจารย์ ดร.ปิ่นรัชฎ์ กาญจนัษฐิติ | พ.ศ. 2558 – พ.ศ. 2566 | |
14. ผู้ช่วยศาสตราจารย์สรายุทธ ทรัพย์สุข | พ.ศ. 2566 – ปัจจุบัน |
หน่วยงานและหลักสูตร
แก้
หน่วยงาน | ระดับปริญญาตรี | ระดับปริญญาโท | ระดับปริญญาเอก | |
---|---|---|---|---|
ภาควิชาสถาปัตยกรรม เก็บถาวร 2007-01-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน |
หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต
|
หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
|
หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต
| |
หลักสูตรภูมิสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต |
หลักสูตรภูมิสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
|||
ภาควิชาสถาปัตยกรรมภายใน เก็บถาวร 2007-01-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน |
หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต
|
|||
ภาควิชาการออกแบบอุตสาหกรรม เก็บถาวร 2009-08-31 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน |
หลักสูตรการออกแบบอุตสาหกรรมบัณฑิต |
หลักสูตรการออกแบบอุตสาหกรรมมหาบัณฑิต |
||
ภาควิชาเคหการ เก็บถาวร 2007-03-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน |
หลักสูตรเคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิต
|
|||
หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต
|
หลักสูตรการวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต
|
หลักสูตรการวางแผนภาคและเมืองดุษฎีบัณฑิต
|
||
International Program in Design and Architecture (INDA)[ลิงก์เสีย] |
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต
|
|||
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต
|
เกียรติประวัติ
แก้ดูเพิ่ม รายนามบุคคลจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ปูชนียาจารย์ที่มีชื่อเสียง
แก้คำนำหน้าชื่อ | รายชื่อ | สาขา | เกียรติประวัติ | อ้างอิง |
---|---|---|---|---|
ศาสตราจารย์กิตติคุณ ร้อยเอก | กฤษฎา อรุณวงศ์ ณ อยุธยา | อดีตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร อดีตคณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อดีตนายกสมาคมสถาปนิกสยาม ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (สถาปัตยกรรมร่วมสมัย) | ||
อาจารย์ | นารถ โพธิประสาท | ผู้ก่อตั้งคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันการศึกษาด้านสถาปัตยกรรม ระดับปริญญาแห่งแรกของประเทศไทย | ||
รองศาตราจารย์ | ปิยานันท์ ประสารราชกิจ | นายกสมาคมแม่บ้านตำรวจ | ||
ศาสตราจารย์ | พระพรหมพิจิตร | คณาจารย์ผู้สอนในคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้ทรงคุณวุฒิในด้านสถาปัตยกรรมไทย | ||
ศาสตราจารย์ | เลอสม สถาปิตานนท์ | อดีตคณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รองอธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | ||
ศาสตราจารย์ | หม่อมเจ้าโวฒยากร วรวรรณ | อดีตคณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | [5][6] |
กิจกรรมของคณะ
แก้- การประชุมทางวิชาการประจำปี สาระศาสตร์ สถาปัตยกรรม
- กิจกรรมนอกหลักสูตรของนิสิต: ละครเวทีประจำปีของนิสิต คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ – ละคอนถาปัด, ค่ายอาสาพัฒนาชนบท, หนังสือเรือนไทย, พิธีศีลจุ่ม
เรือนไทย
แก้เรือนไทย เป็นหนังสือแนวตลกขบขัน ที่จัดทำขึ้นโดยนิสิตคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นกิจกรรมนอกหลักสูตรอีกอย่างหนึ่งของนิสิตคณะสถาปัตย์ฯ ที่มีประวัติการทำสืบทอดกันมายาวนานต่อเนื่องเกือบ 50 ปี
โดยในปัจจุบัน หนังสือเรือนไทย มีกำหนดออกวางจำหน่ายปีละหนึ่งครั้ง บริเวณหน้างานละคอนถาปัด หอประชุมใหญ่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ราวเดือนพฤษภาคมของทุกปี โดยมีนิสิตชั้นปีที่ 2 ขึ้นปีที่ 3 ร่วมกันจัดทำระหว่างปิดภาคเรียนฤดูร้อน เพื่อฝึกฝนประสบการณ์ของนิสิตในการร่วมทำงานเป็นทีม รับผิดชอบบริหารจัดการโครงงาน และนำความคิดสร้างสรรค์มาใช้ผลิตชิ้นงาน ให้สำเร็จออกมาเป็นรูปเป็นร่างได้ และนำรายได้จากการขายหนังสือไปใช้ในกิจกรรมของคณะ
ละคอนถาปัด
แก้ละคอนถาปัด หรือ ละครสถาปัตย์ เป็นกิจกรรมประจำปีของนิสิตคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่มีนิสิตชั้นปีที่ 3 ขึ้นปีที่ 4 เป็นแม่งาน[7] ร่วมกับนิสิตเก่าและนิสิตปัจจุบันของคณะ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความสามัคคีในหมู่คณะ นำความคิดสร้างสรรค์มาทำกิจกรรม เพื่อหารายได้สำหรับใช้ในกิจกรรมของนิสิตหลังจากสิ้นสุดยุคของกิจกรรม "ลูกทุ่งถาปัด" ในอดีตก่อนหน้านี้ลงไป ละคอนถาปัดเป็นกิจกรรมที่นิสิตสถาปัตย์ฯทำกันมาอย่างต่อเนื่องยาวนานกว่า 30 ปี ระหว่างช่วงปิดภาคเรียนฤดูร้อน จนกลายเป็นประเพณีอย่างหนึ่งที่เป็นที่รู้จักกันดีของคณะสถาปัตย์ฯ จุฬาฯ ในปัจจุบันละคอนถาปัดมีจำนวน 10 รอบ โดยจัดการแสดงช่วงเดือนพฤษภาคมก่อนเปิดเทอมที่หอประชุมใหญ่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยบริเวณหน้างานมีของที่ระลึกที่เกี่ยวข้องกับละคอนที่ทำขึ้นโดยนิสิตวางจำหน่ายด้วย เช่น เสื้อ ซีดีเพลงละคอน และหนังสือเรือนไทย เป็นต้น ในวาระพิเศษอาจมีการจัดการแสดงละครเพิ่มจากปกติ เช่น ในช่วงงานจุฬาวิชาการ
ละคอนถาปัด มีมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2517 นักแสดงและบุคคลในวงการบันเทิงหลายคน เริ่มจากการแสดงละคอนถาปัด เช่น ปัญญา นิรันดร์กุล, ศรัณยู วงษ์กระจ่าง, ภิญโญ รู้ธรรม และบรรดาเหล่าซูโม่จากรายการเพชฌฆาตความเครียด[8]
ในปัจจุบันนี้ นอกจากละคอนถาปัดที่จุฬาแล้ว ก็ยังมีละคอนถาปัดที่อื่นๆด้วย เช่น คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง, คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ และการออกแบบสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต เป็นต้น[9]
อ้างอิง
แก้- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยประจำตำแหน่ง ครุยวิทยฐานะ และเข็มวิทยฐานะของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๔๑ , เล่ม ๑๑๕, ตอน ๒๑ก, ๒๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๑, หน้า ๑
- ↑ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2021). หลักสูตรที่เปิดสอน.
- ↑ Architecture / Built Environment
- ↑ รายนามคณบดี (2551). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [1]. (เข้าถึงเมื่อ: 17 พฤศจิกายน 2552).
- ↑ สถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ↑ สถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ↑ "Mulan" ละครใหม่จากถาปัดการละคอน[ลิงก์เสีย] วอยซ์ทีวี
- ↑ กลับมาอีกครั้ง ละคอนถาปัด เสนอเรื่อง “ทวิภพ” กระจกนำพา กาลเวลาหวนคืน มติชน
- ↑ ถาปัดการละคอน 51แผลงฤทธาพาเสนอ "เกราะเพชรเจ็ดสี" เก็บถาวร 2008-05-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน entertainment.impaqmsn.com
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
- สาระศาสตร์ เก็บถาวร 2006-04-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- เว็บสมาคมนิสิตเก่าคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เก็บถาวร 2006-02-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ภาพถ่ายดาวเทียมจากวิกิแมเปีย หรือกูเกิลแมปส์
- แผนที่จากลองดูแมป หรือเฮียวีโก
- ภาพถ่ายทางอากาศจากเทอร์ราเซิร์ฟเวอร์