ภววิทยา (วิทยาการสารสนเทศ)

ภววิทยา (อังกฤษ: ontology information science) ในทางวิทยาการคอมพิวเตอร์และวิทยาการสารสนเทศ หมายถึง วิธีการบรรยายขอบเขตแนวคิดที่สนใจ หรือข้อกำหนดที่เกี่ยวกับแนวคิด โดยภววิทยาเป็นการสร้างโครงสร้างฐานความรู้หรือขอบเขตใดขอบเขตหนึ่งซึ่งมีแนวคิดและความเข้าใจตรงกันและใช้ในการนิยามตัวแบบ (model) ภายในขอบเขตขององค์ความรู้เพื่ออธิบายสิ่งที่เราสนใจ (domain) ให้ได้ใจความและถูกต้อง

ความหมาย

แก้

ภววิทยาโดยทั่วไปแล้วจะหมายถึงคำอธิบายที่ชัดเจน ของหลักการในการอธิบายถึงขอบเขต คุณสมบัติของแต่ละสิ่งก็จะอธิบายถึงคุณลักษณะของสิ่งนั้นๆ คือภาษาที่ใช้เป็นตัวอธิบายข้อมูลเชิงสัมพันธ์ หรือเรียกง่ายๆ ว่า “ข้อมูลที่ใช้อธิบายความหมายของข้อมูล”

ความสามารถของออนโทโลจี

แก้

ภววิทยาถูกสร้างขึ้นมาเพื่อจำกัดองค์ความรู้ (Knowledge) ของขอบเขตข้อมูลนั้น ๆ โดยมีความสามารถในการใช้ข้อมูลร่วมกัน สามารถนำข้อมูลกลับมาใช้ได้ และมีความสามารถในการถ่ายทอดคุณสมบัติ การนำออนโทโลยีมาใช้งานจึงเป็นทางเลือกหนึ่งในการแชร์ข้อมูล และแยกองค์ความรู้ออกจากฐานข้อมูล

ลักษณะ

แก้

ภววิทยาจะเน้นไปที่คลาส ซึ่งอธิบายถึงสิ่งนั้นในขอบเขตที่มันควรจะเป็น คือต้องใช้เทคโนโลยีออนโทโลยี จำแนกความรู้ออกมาแล้วจัดแยกหมวดหมู่ให้เป็นกลุ่ม ๆ แล้วแตกเป็นโครงสร้างข้อมูลแบบลำดับชั้น หมวดหมู่ เพื่อให้ผู้ใช้ หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ประมวลผล อ่านและทำการวิเคราะห์ข้อมูลได้ง่ายขึ้น ช่วยให้กระบวนการต่างๆดำเนินไปได้เร็วขึ้น เพื่ออธิบายสิ่งเหล่านี้ให้มนุษย์และคอมพิวเตอร์ความเข้าใจได้ตรงกัน ในปัจจุบันได้กำหนดภาษามาตรฐานที่ใช้จำลองและออกแบบโครงสร้างของเอกสารเอกซ์เอ็มแอล โดยใช้นิยามแนวคิดให้อยู่ในรูปของกฎ คลาส ความสัมพันธ์ระหว่างคลาส และสมบัติของคลาส

ภววิทยาช่วยในการจำแนก

  • สิ่งเดียวกันแต่มีหลายชื่อ
  • ชื่อเดียวกันแต่อาจหมายถึงได้หลายสิ่ง
  • สิ่งเดียวที่มีโครงสร้างต่าง ๆ กัน
  • ความรู้ที่ยังไม่ได้รับการระบุให้ชัดเจน

ภววิทยามักจะอธิบายถึง

  • มีการจัดระดับชั้นของวัตถุ (object) อย่างไร เช่น คน, สัตว์, สิ่งของ
  • มีการจัดกลุ่มวัตถุ (class) อย่างไร เช่น คนหมายถึงคนทั้งหมด, ผู้บริหาร หมายถึงบางส่วนของคน
  • สมบัติของวัตถุ (attribute) เช่น คนมี 2 ขา
  • ความสัมพันธ์ระหว่างวัตถุ (relation) เช่น คนหายใจได้ คุยกันได้
  • สิ่งที่ทำให้คุณสมบัติหรือความสัมพันธ์ของเปลี่ยนไป (event)

ตัวอย่าง web ontology language

แก้
 <owl11xml:SubClassOf>
    <owl11xml:OWLClass owl11xml:URI="#bicycle"/>
    <owl11xml:OWLClass owl11xml:URI="#vehicle"/>
  </owl11xml:SubClassOf>
  <owl11xml:EquivalentClasses>
    <owl11xml:OWLClass owl11xml:URI="#bus_driver"/>
    <owl11xml:ObjectIntersectionOf>
      <owl11xml:OWLClass owl11xml:URI="#person"/>
      <owl11xml:ObjectSomeValuesFrom>
        <owl11xml:ObjectProperty owl11xml:URI="#drives"/>
        <owl11xml:OWLClass owl11xml:URI="#bus"/>
      </owl11xml:ObjectSomeValuesFrom>
    </owl11xml:ObjectIntersectionOf>
  </owl11xml:EquivalentClasses>
  <owl11xml:SubClassOf>
    <owl11xml:OWLClass owl11xml:URI="#white_van_man"/>
    <owl11xml:ObjectAllValuesFrom>
      <owl11xml:ObjectProperty owl11xml:URI="#reads"/>
      <owl11xml:OWLClass owl11xml:URI="#tabloid"/>
    </owl11xml:ObjectAllValuesFrom>
  </owl11xml:SubClassOf>

อ้างอิง

แก้