ภคินีนิเวทิตา
ภคินีนิเวทิตา (bhagini nibedita ; อังกฤษ: Sister Nivedita; ชื่อเมื่อเกิด มากาเรต เอลิซาเบธ นอเบิล; Margaret Elizabeth Noble; เกิด 28 ตุลาคม 1867 – 13 ตุลาคม 1911)[1][2] เป็นคุณครู, นักเขียน, นักกิจกรรมสังคม, ผู้ก่อตั้งโรงเรียนชาวไอร์แลนด์ ศิษย์ของสวามี วิเวกานันท์[3][4]
ภคิตีนิเวทิตา | |
---|---|
ซิสเตอร์นิเวทิตาในอินเดีย | |
ส่วนบุคคล | |
เกิด | มากาเร็ต เอลิซาเบธ นอเบิล 28 ตุลาคม ค.ศ. 1867 |
มรณภาพ | แม่แบบ:Death-date (aged 43) |
ศาสนา | ศาสนาฮินดู เมื่อเกิด: โรมันคาทอลิก |
ก่อตั้ง | โรงเรียนสตรีรามกฤษณะสรทภคตีนิเวทิตา |
ปรัชญา | อทไวตะเวทันตะ |
ตำแหน่งชั้นสูง | |
ครู | สวามี วิเวกานันท์ |
งานเขียน | พระมารดากาลี, โครงข่ายของชีวิตอินเดีย, นิทานกล่อมเด็กฮินดู, การศึกษาแนวอินเดียเรื่องความรักกับความตาย, ท่านคุรุดังที่ฉันมองท่าน, เรื่องเล่าบางประการจากการเดินทางกับสวามี วิเวกานันท์, ความเรียงคัดสรรของภคนีนิเวทิตา, การเรียนรู้จากบ้านตะวันออกหลังหนึ่ง, ความเชื่อเกี่ยวกับชาวฮินดูและชาวพุทธ, ฝีเท้าของประวัติศาสตร์อินเดีย, ศาสนาและธรรมะ |
เธอได้พบกับสวามี วิเวกานันท์ในปี 1895 ที่ลอนดอน ก่อนจะเดินทางไปกัลกัตตา (ปัจจุบันคือ โกลกาตา ประเทศอินเดีย) ในปี 1898 สวามี วิเวกานันท์ได้ตั้งชื่อให้กับเธอใหม่ว่า นิเวทิตา (แปลว่า "ผู้ซึ่งอุทิศตนแด่พระเจ้า") ขณะที่เขาพาเธอเข้าสู่การสาบานตนเป็น พรหมจรรยะ ในวันที่ 25 มีนาคม 1898 ต่อมาในเดือนพฤศจิกายน 1898 เธอได้ก่อตั้งโรวเรียนสตรีขึ้นในย่านบาฆบะซาร์ของกัลกัตตา เธอประสงค์ที่จะสร้างการศึกษาให้กับเด็กหญิงที่ขาดแม้หระทั่งการศึกษาขั้นพื้นฐาน ระหว่างการแพร่ระบาดของอหิวาห์ในกัลกัตตาเมื่อปี 1899 นิเวทิตาได้อาสาสมัครเป็นพยาบาลและดูแลผู้ป่วยยากไร้ นิเวทิตามีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับคณะศาสนทูตรามกฤษณะที่พึ่งตั้งใหม่ นิเวทิตาสร้างคุณูปการมากมายต่อวงการชาตินิยมอินเดียจนทำให้เธอต้องถอนตัวออกจากคณะศาสนทูตรามกฤษณะภายใต้สวามี พรหมานันทะ ผู้เป็นประธานในขณะนั้น นิเวทิตาเสียชีวิตในวันที่ 13 ตุลาคม 1911 ในเมืองดาร์จีลิง จารึกหลุมศพของเธอจารึกไว้ว่า "[ภายใต้]นี้คือร่างของภคินีนิเวทิตา ผู้ซึ่งมอบทุกอย่างของเธอแก่อินเดีย" (Here lies Sister Nivedita who gave her all to India)[5]
อ้างอิง
แก้- ↑ Constance Jones; James D. Ryan (2007). Encyclopedia of Hinduism. Infobase Publishing. pp. 316–317. ISBN 978-0-8160-7564-5.
- ↑ "Hindus want national holiday on October 13 to mark Sister Nivedita's 100th death anniversary". Hindustan Times (Highbeam). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 March 2015. สืบค้นเมื่อ 9 June 2012.
- ↑ Margaret Elizabeth Noble. Studies From An Eastern Home. Forgotten Books. p. 1. ISBN 1-60506-665-6.
- ↑ Ananda Kentish Coomaraswamy; Whitall N. (INT) Perry (2011). The Wisdom of Ananda Coomaraswamy: Reflections on Indian Art, Life, and Religion. World Wisdom, Inc. pp. 129–. ISBN 978-1-935493-95-2.
- ↑ Compiled (2008). Awakening Indians to India (Paperback). Chinmaya Mission. pp. 370–. ISBN 978-81-7597-434-0.[ลิงก์เสีย]
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- Sister Nivedita and Vivekananda ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (เก็บถาวร 26 ตุลาคม 2009)
- The Complete Works of Sister Nivedita – 5 Volumes (Free Download Pdf & Djvu) at Archive.org
- A Small Paragraph about Sister Nivedita เก็บถาวร 2021-01-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน - (100 words)