ฟ้อนเล็บ เป็นการฟ้อนของชาวไทยภาคเหนือการแสดงจะมีดนตรีบรรเลงประกอบ จะมีเนื้อร้องหรือไม่มีเนื้อร้องก็ได้ โอกาสที่แสดง ในงานเทศกาลหรืองานนักขัตฤกษ์ต่าง ๆ

ประวัติ

แก้

ฟ้อนเล็บเป็นศิลปะการแสดงที่เป็นเอกลักษณ์ทางภาคเหนือโดยเฉพาะรูปแบบการฟ้อนมีอยู่ 2 แบบ คือแบบพื้นเมืองหรือฟ้อนเมือง และแบบคุ้มเจ้าหลวง กระบวนท่ารำเป็นลีลาท่าฟ้อนที่มีความงดงามเช่นเดียวกับฟ้อนเทียน เพลงแต่ไม่ถือเทียน นิยมฟ้อนในเวลากลางวัน สำหรับชื่อชุดการแสดงจะมีความหมายตามลักษณะของผู้แสดงที่จะสวมเล็บยาวสีทองทุกนิ้ว ยกเว้นนิ้วหัวแม่มือ

ฟ้อนเล็บของกรมศิลปากร ได้รับรูปแบบการฟ้อนจากคุ้มเจ้าหลวงเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ พระราชชายาเจ้าดารารัศมี เป็นผู้ปรับปรุง ซึ่งได้นำมาเผยแพร่ที่กรุงเทพมหานครในคราวสมโภชพระเศวตคชเดชน์ดิลก ช้างเผือกในรัชกาลที่ 7 เมื่อ พ.ศ. 2470 แล้วนางลมุล ยมะคุปต์ ผู้เชี่ยวชาญการสอนนาฏศิลป์ไทย วิทยาลัยนาฏศิลป กรมศิลปากรได้นำมาฝึกให้ละครคณะหลวงในรัชกาลที่ 7 และถ่ายทอดให้ เป็นชุดการแสดงของกรมศิลปากรโดยมีเนื้อร้องประกอบการแสดง เพื่อเป็นการบวงสรวงหรือฟ้อนต้อนรับตามประเพณีทางภาคเหนือ

ผู้แสดง

แก้

ฟ้อนแต่ละชุดจะใช้จำนวนคนแตกต่างกันไป นิยมกันมี 4 คู่ 6 คู่ 8 คู่ หรือ 10 คู่

การแต่งกาย

แก้

จะแต่งกายแบบไทยชาวภาคเหนือสมัยโบราณ คือ เกล้าผมทรงญี่ปุ่นทัดดอกไม้(ดอกเอื้อง)และอุบะ นุ่งผ้าตามแบบชาวเหนือ สวมเสื้อทรงกระบอกแขนยาว คอกลมห่มสไบเฉียง นุ่งผ้าซิ่นลายขวาง และ สวมเล็บมือยาว 8 นิ้ว เว้นแต่นิ้วโป้งหรือนิ้วหัวแม่มือ[ต้องการอ้างอิง]

ท่ารำ

แก้

ผู้แสดงจะร่ายรำตามทำนองเพลงที่เชื่องช้า ส่วนการใช้ท่าฟ้อนเล็บนั้น ช่างฟ้อนมักจะจำต่อ ๆ กันมา เป็นท่าฟ้อนดั้งเดิมของชาวเหนือ คือ

  1. ท่าพายเรือ
  2. ท่าบัวบานบิด
  3. ท่าหย่อน
  4. ท่าพัก
  5. บังสุริยา
  6. ไหว้
  7. ท่าหงส์
  8. ท่านกยุง
  9. ท่าเปิด

ต่อมาเมื่อนาฎศิลป์ทางภาคกลางแพร่มาสู่ภาคเหนือ การฟ้อนเล็บก็มีการปรับวิธีการฟ้อนให้เข้ากับท่ารำแม่บท เพิ่มท่ารำให้มากขึ้นและแตกต่างกันไป

ดนตรี

แก้

เครื่องดนตรีที่ใช้ในการฟ้อนเป็นวงกลองตึ่งโนง วงต๊กเส้ง หรือวงปี่พาทย์ล้านนา (นิยิมใช้กับฟ้อนเล็บแม่ครูบัวเรียว) ซึ่งเป็นดนตรีของชาวภาคเหนือ ได้แก่ กลองแอว กลองตะโล้ดโป๊ด ฉาบ ฆ้องโหม่งใหญ่ ฆ้องโหม่งเล็ก ฉิ่ง ปี่แนหน้อย ปี่แนหลวง แต่ถ้าเป็นวงต๊กเส้ง จะเพิ่ม สิ้ง มาด้วย เวลาดนตรีบรรเลงเสียงปี่ดังไพเราะเยือกเย็นมาก ท่วงทำนองเชื่องช้า เสียงกลองจะตีดัง ต๊ก สว่า ตึ่ง นง อย่างนี้เรื่อยไป ส่วนช่างฟ้อนก็จะฟ้อนช้า ๆ ไปตามลีลาของเพลง เพลงที่ใช้บรรเลงฟ้อนเล็บจะแบ่งตามท้องถิ่นหลักของแต่ละที่จะใช้เพลงฟ้อนเล็บ

อ้างอิง

แก้