ฟ้อนเบิกฟ้าป่าแดด

ฟ้อนเบิกฟ้าป่าแดด เป็นฟ้อน (ศิลปะล้านนา) ที่แสดงถึงเอกลักษณ์ตัวตนของชาวอำเภอป่าแดดได้อย่างหนึ่งคือการรวบเอาเอกลักษณ์ของคนแต่ละชนเผ่าที่อาศัยในอำเภอ เช่น ไท-ยวน(ฅนเมือง),ไท-ยอง,ไท-ลาวถ่ายทอดออกมาเป็นรูปแบบการฟ้อนซึ่งมีความอ่อนช้อยและงดงานอีกฟ้อนหนึ่งผู้ประดิษฐ์ท่าฟ้อนนายธีรวุฒิ เปลี่ยนแก้ว ชาวอำเภอป่าแดด โดยมีท่าฟ้อนดังนี้

  1. นบน้อมไหว้สา (สื่อถึงความอ่อน้อมและเป็นมิตรของคนอำเภอป่าแดด)
  2. เบิกฟ้าป่าแดด (หมายถึงชาวอำเภอป่าแดดยินดีต้อนรับทุกที่และพร้อมจะเปิดม่านรับทุกดท่านที่มาเยือน)
  3. แทบไท้ธาตุจอม (หมายถึงคนอำเภอป่าแดดเคารพบูชาพระธาตุจอมคีรีเป็นสิ่งคู่บ้านคู่เมืองมาตั้งแต่ในอดีต)
  4. ปรองดองกันไว้ (สื่อให้เห็นว่าคนอำเภอป่าแดดอยู่ร่วมกันอย่างผาสุก)
  5. รวมใจชนเผ่า (สื่อให้เห็นว่าแม่มีความหลากหลายชนเผ่าแต่คนอำเภอป่าแดดก็อยู่ร่วมกันได้)
  6. เหมือนเถาว์เกี่ยวขอน (บอกถึงความสามัคคีของตนในอำเภอ)
  7. วอนให้รักษา (สื่อให้รู้ว่าให้คนในอำเภอรักษาสิ่งดี ๆ จารีตวัฒนธรรมที่สืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษนี้ไว้)
  8. จารีตล้านนา (บอกให้รู้ว่าชาวอำเภอป่าแดดมีจารีตประเพณีที่งดงามตั้งแต่สมัยอดีตที่ยาวนาน)
  9. คู่ฟ้าไชยนารายฯ (สื่อให้รู้ว่าอดีตอำเภอป่าแดด(เวียงปากน้ำ)จะเคยเป็นผืนแผ่นดินของอาณาจักรภูกามยาวแต่ก็สามมารถดำรงอยู่ได้ในอาณาจักรไชยนารายฯ)เปรียบเสมือนเมืองพี่เมืองน้องกัน

อ้างอิง แก้

ขอขอบคุณสำนักงานวัฒนธรรม จังหวัดเชียงราย นายธีรวุฒิ เปลี่ยนแก้ว ศิลปิพื้นบ้าน จังหวัดเชียงราย นายสมบูรณ์ ศรีโชติ ประธานวัฒนธรรมอำเภอป่าแดด จังหวัดเชียงราย