ฟุตบอลในประเทศอาร์เจนตินา

ฟุตบอลในประเทศอาร์เจนตินา เป็นกีฬาที่ได้รับความนิยมมากที่สุดของประเทศ โดยเป็นหนึ่งในประเทศที่มีผู้เล่นมากที่สุด (2,658,811 คน ซึ่งแบ่งเป็น 331,811 คนที่ได้ทำการจดทะเบียน และ 2,327,000 คนที่ไม่ได้ทำการจดทะเบียน; กับ 3,377 สโมสร และเจ้าหน้าที่ 37,161 คน โดยอิงข้อมูลจากฟีฟ่า)[1] และเป็นกีฬาสันทนาการที่ได้รับความนิยมมากที่สุด โดยมีผู้เล่นตั้งแต่วัยเด็กถึงวัยชรา[2] ร้อยละของชาวอาร์เจนตินาประกาศถึงความภักดีต่อสโมสรฟุตบอลอาร์เจนตินาเป็นจำนวนถึง 90 เปอร์เซนต์[3]

ฟุตบอลในประเทศอาร์เจนตินา
ประเทศอาร์เจนตินา
องค์กรบริหารดูแลสมาคมฟุตบอลอาร์เจนตินา
ทีมชาติอาร์เจนตินา
แข่งขันครั้งแรกค.ศ. 1867
นักฟุตบอลจดทะเบียน331,811 คน
จำนวนสโมสร3,337 สโมสร
การแข่งขันระดับชาติ
การแข่งขันของสโมสร
การแข่งขันระดับนานาชาติ

ฟุตบอลได้รับการแนะนำให้รู้จักในประเทศอาร์เจนตินาในช่วงครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 19 โดยผู้อพยพชาวอังกฤษที่บัวโนสไอเรส และได้มีการจัดการแข่งขันลีกอาร์เจนตินาครั้งแรกขึ้นใน ค.ศ. 1891 นับเป็นลีกที่มีความเก่าแก่ที่สุดเป็นอันดับสามของโลก (นับตั้งแต่บริเตนใหญ่และเนเธอร์แลนด์)[4] ส่วนสมาคมฟุตบอลอาร์เจนตินา (อาฟา) ได้รับการก่อตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1893 และเป็นสมาคมฟุตบอลแห่งชาติที่มีความเก่าแก่ที่สุดเป็นอันดับแปดของโลก

ฟุตบอลทีมชาติอาร์เจนตินาเป็นหนึ่งในแปดทีมชาติที่เคยชนะการแข่งขันฟุตบอลโลก โดยสามารถทำได้ใน ค.ศ. 1978 และ 1986 รวมทั้งได้ตำแหน่งรองชนะเลิศใน ค.ศ. 1930 และ 1990 ทีมนี้ยังชนะการแข่งขันระดับแถวหน้า ดังรายการโกปาอาเมริกาถึงสิบสี่สมัย รวมถึงคอนเฟเดอเรชันส์คัพใน ค.ศ. 1992 ส่วนฟุตบอลโอลิมปิกทีมชาติอาร์เจนตินาเคยได้รับรางวัลสองเหรียญทอง (ใน ค.ศ. 2004 และ 2008) ในขณะที่รุ่นอายุไม่เกิน 20 ปี ได้เคยชนะการแข่งขันฟุตบอลโลกเยาวชนอายุไม่เกิน 20 ปี มาแล้วถึงหกสมัย ส่วนการแข่งขันในระดับสโมสร ทีมสโมสรจากอาร์เจนตินายังชนะการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรโลกได้มากที่สุด (9 สมัย) และมากที่สุดในโกปาบีเบร์ตาโดรีช (22 สมัย)

สำหรับฟุตบอลหญิงได้มีการแข่งขันลีกแห่งชาติตั้งแต่ ค.ศ. 1991 ซึ่งคือรายการกัมเปโอนาโตเดฟุตโบลเฟเมนิโน นอกจากนี้ ฟุตบอลหญิงทีมชาติอาร์เจนตินายังได้รับการคัดเลือกเข้าสู่การแข่งขันฟุตบอลโลกหญิงครั้งแรกใน ค.ศ. 2007 และชนะการแข่งขันฟุตบอลหญิงชิงแชมป์อเมริกาใต้ (ซึ่งเป็นการแข่งขันระดับสูงสุดของทวีป) ครั้งแรกใน ค.ศ. 2006

ส่วนด้านฟุตซอล ทีมชาติอาร์เจนตินาได้เป็นแชมป์อาเอเมเอเฟ ฟุตซอลเวิลด์คัพ ใน ค.ศ. 1994 [5] รวมถึงได้เข้าแข่งขันฟุตซอลชิงแชมป์โลกของสหพันธ์ฟุตบอลระหว่างประเทศ โดยได้อันดับสี่ในฟุตซอลชิงแชมป์โลก 2004 ทีมชาติอาร์เจนตินายังชนะการแข่งขันฟุตซอลโกปาอาเมริกาใน ค.ศ. 2003 นอกจากนี้ ทีมชาติอาร์เจนตินายังได้เป็นแชมป์โลกฟุตซอลสำหรับคนพิการทางสายตาใน ค.ศ. 1998

ทีมชาติอาร์เจนตินายังชนะการแข่งขันฟุตบอลชายหาดชิงแชมป์โลก โดยมีผลงานที่ดีที่สุดคืออันดับสามใน ค.ศ. 2001[6]

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "Argentina: country information - FIFA.com". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-03-28. สืบค้นเมื่อ 2014-07-10.
  2. Secretaría de Deportes de la Nación e INDEC; Censo sobre Hábitos en actividades físicas y deportivas de la población argentina, Buenos Aires, 2000.
  3. Consulto Aequis เก็บถาวร 2008-09-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (สเปน)
  4. Argentina 1891 at rsssf
  5. AMF statistics เก็บถาวร 2008-09-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (สเปน)
  6. AFA - Fútbol Playa (สเปน)

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้