ฟุตบอลทีมชาติแกมเบีย

ฟุตบอลทีมชาติแกมเบีย เป็นทีมฟุตบอลชายตัวแทนของประเทศแกมเบียในการแข่งขันระดับนานาชาติ อยู่ภายใต้การดูแลของสหพันธ์ฟุตบอลแกมเบีย โดยในช่วงก่อน ค.ศ. 1965 ทีมลงแข่งขันในชื่อ บริติชแกมเบีย ทีมชาติแกมเบียไม่เคยผ่านเข้าไปเล่นในรอบสุดท้ายของฟุตบอลโลก แต่ได้ผ่านเข้าไปเล่นในรอบสุดท้ายของแอฟริกาคัพออฟเนชันส์เป็นครั้งแรกในปี 2021

 แกมเบีย
ฉายาThe Scorpions (แมงป่องพิฆาต)
สมาคมสหพันธ์ฟุตบอลแกมเบีย
สมาพันธ์ย่อยสหภาพฟุตบอลแอฟริกาตะวันตก (WAFU)
สมาพันธ์สมาพันธ์ฟุตบอลแห่งแอฟริกา (CAF)
หัวหน้าผู้ฝึกสอนTom Saintfiet
กัปตันOmar Colley
ติดทีมชาติสูงสุดOmar Colley (42)
ทำประตูสูงสุดAssan Ceesay (11)
สนามเหย้าสนามกีฬาอิสรภาพ
รหัสฟีฟ่าGAM
อันดับฟีฟ่า
อันดับปัจจุบัน 130 Steady (4 เมษายน 2024)[1]
อันดับสูงสุด65 (มิถุนายน 2009)
อันดับต่ำสุด179
เกมระดับนานาชาติครั้งแรก
ธงชาติประเทศแกมเบีย British Gambia 2–1 เซียร์ราลีโอน
(แกมเบีย; 9 กุมภาพันธ์ 1953)
ชนะสูงสุด
ธงชาติประเทศแกมเบีย แกมเบีย 6–0 เลโซโท ธงชาติเลโซโท
(บันจูล แกมเบีย; 12 ตุลาคม 2002)
แพ้สูงสุด
ธงชาติกินี กินี 8–0 แกมเบีย ธงชาติประเทศแกมเบีย
(กินี; 14 พฤษภาคม 1972)
แอฟริกาคัพออฟเนชันส์
เข้าร่วม2 (ครั้งแรกใน 2021)
ผลงานดีที่สุดรอบก่อนรองชนะเลิศ (2021)

ประวัติ แก้

ทีมชาติบริติชแกมเบียลงแข่งขันเกมแรกเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1953 โดยเปิดบ้านเอาชนะเซียร์ราลีโอนในนัดกระชับมิตร 2–1[2] ต่อมาในเดือนเมษายน ค.ศ. 1963 ทีมได้เข้าร่วมแข่งขันในรายการ L'Amitié ที่เซเนกัล โดยเป็นการแข่งขันของชาติที่พูดภาษาฝรั่งเศส แกมเบียอยู่ในกลุ่มเดียวกับทีมสมัครเล่นจากฝรั่งเศส, อัปเปอร์โวลตา (บูร์กินาฟาโซในปัจจุบัน) และกาบอง ในนัดแรก แกมเบียแพ้ทีมสมัครเล่นจากฝรั่งเศส 5–1 ก่อนที่จะเสมอกับอัปเปอร์โวลตาและกาบองด้วยผลเสมอ 2–2 ทั้งสองนัด ทำให้แกมเบียต้องตกรอบ

หลังจากการแข่งขันที่เซเนกัล แกมเบียก็ไม่ได้ลงแข่งขันฟุตบอลอีกจนกระทั่งวันที่ 16 พฤศจิกายน ค.ศ. 1968 ซึ่งพวกเขาบุกแพ้เซียร์ราลีโอนในเกมกระชับมิตร 2–1 ทั้งสองทีมพบกันอีกครั้งในวันที่ 24 เมษายน ค.ศ. 1971 และเป็นเซียร์ราลีโอนที่เอาชนะไปได้อีกครั้งด้วยผล 3–1 ต่อมาในวันที่ 2 พฤษภาคม ค.ศ. 1971 แกมเบียบุกไปแพ้กินีในเกมกระชับมิตร 4–2 และในวันที่ 14 พฤษภาคม ค.ศ. 1972 แกมเบียได้เข้าร่วมแข่งขันรอบคัดเลือกของแอฟริกันเกมส์ โดยพวกเขาแพ้กินี 8–0 ทำให้ต้องตกรอบ

ค.ศ. 1975 แกมเบียได้เข้าร่วมแข่งขันรอบคัดเลือกของโอลิมปิกฤดูร้อน 1976 โดยพวกเขาถูกจับสลากมาพบกับกินี แกมเบียแพ้ในบ้านในเลกแรกด้วยผล 1–0 เมื่อวันที่ 27 เมษายน ค.ศ. 1975 ก่อนที่จะบุกแพ้ในเลกที่สองถึง 6–0 เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน ทำให้กินีผ่านเข้ารอบด้วยผลประตูรวม 7–0

เดือนสิงหาคม ค.ศ. 1975 แกมเบียได้เข้าร่วมแข่งขันแอฟริกาคัพออฟเนชันส์รอบคัดเลือกเป็นครั้งแรก โดยมีเป้าหมายเพื่อผ่านเข้าไปเล่นในแอฟริกาคัพออฟเนชันส์ 1976 รอบสุดท้ายที่เอธิโอเปีย พวกเขาถูกจับสลากพบกับโมร็อกโก และแพ้ด้วยผล 3–0 ทั้งสองนัด ทำให้โมร็อกโกผ่านเข้ารอบด้วยผลประตูรวม 6–0 หลังจากรอบคัดเลือกครั้งนั้นสิ้นสุด แกมเบียได้ลงแข่งพบกับทีมจากยุโรปเป็นครั้งแรก ซึ่งทีมเปิดบ้านแพ้เดนมาร์กในเกมกระชับมิตร 4–1 เมื่อวันที่ 30 มกราคม ค.ศ. 1977[3] ต่อมาในวันที่ 12 ตุลาคม ค.ศ. 2002 แกมเบียชนะด้วยผลต่างประตูมากที่สุดในประวัติศาสตร์ของทีมในนัดที่เอาชนะเลโซโท 6–0[4]

เดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2014 แกมเบียถูกแบนจากการแข่งขันทุกรายการของสมาพันธ์ฟุตบอลแห่งแอฟริกา (CAF) เป็นระยะเวลาสองปี หลังจากที่มีการตรวจพบว่ามีการโกงอายุของผู้เล่น[5] ทีมเริ่มมีพัฒนาที่ดีขึ้นในการแข่งขันแอฟริกาคัพออฟเนชันส์ 2019 รอบคัดเลือก แม้ว่าสุดท้ายจะไม่สามารถผ่านเข้าไปเล่นในรอบสุดท้าย แต่พวกเขาก็สามารถเสมอกับทีมใหญ่ของทวีปอย่างแอลจีเรียได้ทั้งสองนัด

ในการแข่งขันแอฟริกาคัพออฟเนชันส์ 2021 รอบคัดเลือก แกมเบียประเดิมการแข่งขันด้วยการบุกชนะแองโกลาที่ลูอันดา 1–3 นับเป็นชัยชนะเกมเยือนนัดแรกของทีมในการแข่งขันรอบคัดเลือกของรายการแข่งขันหลัก ผลงานอันยอดเยี่ยมทำให้ทีมสามารถผ่านเข้าไปเล่นในรอบสุดท้ายของแอฟริกาคัพออฟเนชันส์ได้เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ โดยแกมเบียเข้าร่วมแข่งขันในฐานะทีมชาติที่มีอันดับโลกฟีฟ่าต่ำที่สุด อย่างไรก็ตาม พวกเขาสามารถเอาชนะตูนิเซียในรอบแบ่งกลุ่ม และผ่านเข้าสู่รอบแพ้คัดออกด้วยการเป็นอันดับที่สองของกลุ่ม พวกเขาสามารถเอาชนะกินีในรอบ 16 ทีมสุดท้ายก่อนที่จะตกรอบก่อนรองชนะเลิศด้วยการแพ้แคเมอรูน

สนามเหย้า แก้

 
แฟนฟุตบอลรับชมเกมที่แกมเบียพบกับกินี

สนามกีฬาอิสรภาพเป็นสนามกีฬาอเนกประสงค์ที่ตั้งอยู่ที่บากาอูในแกมเบีย มีความจุ 30,000 ที่นั่ง[6] มักใช้จัดการแข่งขันฟุตบอลเป็นหลัก รวมถึงใช้จัดงานคอนเสิร์ต, กิจกรรมทางการเมือง, งานจัดแสดงสินค้า และงานเฉลิมฉลองระดับชาติ

อ้างอิง แก้

  1. "The FIFA/Coca-Cola World Ranking". FIFA. 4 เมษายน 2024. สืบค้นเมื่อ 4 เมษายน 2024.
  2. "World Football Elo Ratings: Gambia". World Football Elo Rankings. สืบค้นเมื่อ 19 September 2019.
  3. "Gambia – List of International Matches". Rsssf.com. สืบค้นเมื่อ 2012-04-20.
  4. "Gambia v Lesotho, 13 October 2002". 11v11.com.
  5. "The Gambia disqualified from all Caf competitions". BBC Sport. สืบค้นเมื่อ 27 May 2014.
  6. "Archived copy". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-09-23. สืบค้นเมื่อ 2013-08-27.{{cite web}}: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

แม่แบบ:ฟุตบอลในประเทศแกมเบีย