ฟีลา (บริษัท)

บริษัท

ฟีลา (อังกฤษ: Fila, Inc) ตราสินค้าอุปกรณ์กีฬา, รองเท้า และเสื้อผ้าแฟชั่นสัญชาติเกาหลีใต้ ปัจจุบันมีสำนักงานทั่วโลกกว่า 11 แห่ง

ฟีลา
(FILA)
ประเภทบริษัทเอกชน
ISINKR7081660003 Edit this on Wikidata
อุตสาหกรรม
ก่อตั้งเบลลา, อิตาลี
1911; 113 ปีที่แล้ว (1911)
สำนักงานใหญ่,
พื้นที่ให้บริการ
ทั่วโลก
บุคลากรหลัก
  • ยุน-ซู ยุน,
    ประธาน & ซีอีโอ, กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานบริษัทฟีลาเกาหลี
  • ย็อง-ชาน โช,
    กรรมการผู้จัดการใหญ่, ซีเอฟโอฟีลาสหรัฐอเมริกา
  • จอน แอปส์เตียน,
    ประธานฟีลาสหรัฐอเมริกา[1]
  • ลี ดง ชิค,
    ผู้อำนวยการฟีลาสปอร์ต
ผลิตภัณฑ์
พนักงาน
1,000
บริษัทแม่ฟีลาเกาหลี
เว็บไซต์www.fila.com
ร้านค้าฟีลาที่ถนนนาธาน, ฮ่องกง

ฟีลา ก่อตั้งขึ้นมาเมื่อปี ค.ศ. 1909 โดยพี่น้องตระกูลฟีลาที่เมืองเบลลา, แคว้นปีเยมอนเต, ประเทศอิตาลี โดยเริ่มต้นจากการผลิตเสื้อผ้าให้แก่ผู้คนที่อาศัยตามแถบเทือกเขาแอลป์ โดยผลิตภัณฑ์หลักในช่วงแรกของบริษัทคือ ชุดชั้นใน ก่อนจะเปลี่ยนมาผลิตชุดกีฬาในช่วงทศวรรษที่ 70 เริ่มจากการได้รับการรับรองจากบิยอร์น บอร์ก นักเทนนิสชื่อดังชาวสวีเดน และได้รับความนิยมมากขึ้นเมื่อได้เข้าไปสู่แวดวงผลิตภัณฑ์กีฬาอย่างเต็มตัว

เดิมที ฟีลา เป็นตราสินค้าของบริษัทชอปโฮลดิงปาร์เตซิปาซีโอนี และขายให้กับ บริษัทกองทุนป้องกันความเสี่ยงสหรัฐเซอร์เบอรัสบริหารเงินทุน ในปี ค.ศ. 2003 หลังจากที่ทางบริษัทประสบกับภาวะกดดันด้านการเงิน เซอร์เบอรัสเป็นเจ้าของฟิลา ผ่าน บริษัทโฮลดิงกีฬาต่างประเทศซึ่งเป็นเจ้าของและดำเนินธุรกิจฟีลาทั่วทุกมุมโลกด้วยข้อยกเว้น ฟีลาเกาหลี ซึ่งเป็นบริษัทที่แยกออกมาดำเนินกิจกรรมต่างหากภายใต้ตราสินค้าเดียวกัน

ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2007 บริษัทฟีลาอิตาลีและทั่วโลก ได้ถูกซื้อกิจการทั้งหมดจากฟีลาเกาหลี ซึ่งเป็นกลุ่มทุนของเอสบีไอ ซึ่งทำให้ฟีลากลายเป็นบริษัทสินค้ากีฬาที่ใหญ่ที่สุดในเกาหลีใต้

ในปี ค.ศ. 2009 แอนตาสปอร์ตส์ของจีนได้รับสิทธิในการใช้ตราสินค้าในประเทศจีน (ในชื่อ "ฟูลโปรสเปก") จากเบลล์อินเตอร์เนชันแนล ฟีลาเกาหลียังคงเป็นเจ้าของหุ้นร้อยละ 15 ของกิจการร่วมค้า ฟูลโปรสเปก[2]

ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2011 ฟีลาเกาหลี ได้ควบรวมกิจการผู้ผลิตอุปกรณ์กอล์ฟ บริษัทแอกคิวช์เนต กลายเป็นเจ้าของใหม่ของผลิตภัณฑ์ไม้ชั้นนำระดับโลก เช่นเดียวกับไทลีสต์ ที่ 1.23 พันล้านเหรียญสหรัฐ[3][4]

อดีตและปัจจุบันสปอนเซอร์ แก้

โฆษก แก้

ในวัฒนธรรมร่วมสมัย แก้

ฟีลา ปรากฏอยู่ในวัฒนธรรมร่วมสมัย เช่น ปรากฏในการ์ตูนญี่ปุ่นแบบมังงะเรื่อง The Prince of Tennis ด้วยเป็นยี่ห้อของหมวกและรองเท้าของอิชิเซน เรียวมะ ตัวละครเอกในเรื่อง[11]

อ้างอิง แก้

  1. "Executive Bios at Fila.com". Fila.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-04. สืบค้นเมื่อ 9 July 2011.
  2. "DISCLOSEABLE TRANSACTIONS PROPOSED ACQUISITION OF FULL PROSPECT LIMITED AND FILA MARKETING (HONG KONG) LIMITED" (PDF). ANTA. Hong Kong Stock Exchange. 12 August 2009. สืบค้นเมื่อ 29 March 2011.
  3. "Fila Korea buys Titleist for global expansion". Yonhap News. 2011-05-21. สืบค้นเมื่อ 2011-09-20.
  4. Thomas, Denny; Robert MacMillan (2011-05-20). "Fila Korea buys Titleist golf company for $1.2 billion". Reuter. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-03-03. สืบค้นเมื่อ 2011-09-20.
  5. "JENNY SHIN". integration.filabrandcenter.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-06-08. สืบค้นเมื่อ 20 May 2016.
  6. "FILA Riddick Bowe Cross Trainers Commercial". ยูทูบ. 14 March 2015. สืบค้นเมื่อ 4 June 2016.
  7. "Infinite, the New Faces of Fila Korea". Dramafever. 2 January 2013.[ลิงก์เสีย]
  8. "B1A4 chosen as the new faces of 'FILA'". Allkpop. 2 December 2014.
  9. Ho, Stewart (9 September 2012). "Jung Il Woo Braves the Outdoors for Fila Sport". enewsWorld. CJ E&M. สืบค้นเมื่อ 11 December 2012.[ลิงก์เสีย]
  10. "Kim Soo-hyun laid-back, suave in Fila commercial". Kpopherald. 5 March 2015.
  11. "the prince of tennis จร้าเพื่อนๆ(อัพเพิ่มแล้วนะจร้า)". เด็กดี.คอม. 4 June 2016. สืบค้นเมื่อ 10 November 2009.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้