สถานีโทรทัศน์
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
สถานีโทรทัศน์ เป็นหน่วยงาน ที่เป็นเจ้าของคลื่นความถี่วิทยุโทรทัศน์ หรือเป็นผู้รับสัมปทานคลื่นความถี่วิทยุโทรทัศน์ รวมถึงเป็นผู้จัดสรรเวลาในการออกอากาศวิทยุโทรทัศน์ ผ่านคลื่นความถี่ดังกล่าว และยังเป็นบริการส่งสัญญาณออกอากาศวิทยุโทรทัศน์ ไปสู่เครื่องรับโทรทัศน์ โดยผ่านคลื่นความถี่ทางอากาศ โดยมากจะอยู่ในรูปของนิติบุคคล หรือบริษัทจำกัด บ้างก็เป็นรัฐวิสาหกิจ และบ้างก็เป็นบริษัทมหาชนจำกัด
โทรทัศน์ภาคพื้นดิน
แก้มุมมองและกรณีตัวอย่างในบทความนี้อาจไม่ได้แสดงถึงมุมมองที่เป็นสากลของเรื่อง |
โทรทัศน์ภาคพื้นดิน (Terrestrial television) เป็นการออกอากาศวิทยุโทรทัศน์ ด้วยการส่งสัญญาณคลื่นไปตามอากาศ (มิใช่ส่งขึ้นสู่ชั้นอวกาศ) ซึ่งสามารถใช้เสาอากาศรับสัญญาณคลื่นดังกล่าว เพื่อใช้เครื่องรับโทรทัศน์แปลงเป็นสัญญาณโทรทัศน์เพื่อรับชมได้ทันที โดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพื่อเข้าถึงการรับชมแต่อย่างใด
โทรทัศน์ภาคพื้นดินในประเทศไทย
แก้สำหรับในประเทศไทย คลื่นความถี่โทรทัศน์ภาคพื้นดิน เป็นทรัพยากรสื่อสารของชาติ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย โดยมีหน่วยราชการ, รัฐวิสาหกิจในรูปบริษัทมหาชน หรือหน่วยงานของรัฐ เป็นเจ้าของคลื่นความถี่ หรืออาจทำสัญญาสัมปทาน ร่วมกับนิติบุคคลภาคเอกชน เพื่อมอบสิทธิให้เป็นผู้ดำเนินกิจการก็ได้
ยุคหลังประกาศใช้พระราชบัญญัติ กสทช.
แก้วุฒิสภาไทย ลงมติให้ผ่านร่างพระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เป็นผลให้เปลี่ยนแปลงระบบคลื่นความถี่ จากเดิมที่ใช้โทรทัศน์ระบบแอนะล็อก ไปสู่การเป็นโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัล ภายใน พ.ศ. 2558 โดยจะเป็นโทรทัศน์ความละเอียดสูงจำนวนหนึ่ง ตามขีดความสามารถเท่าที่มีในระยะแรก
ต่อมา คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) วางแผนแม่บทโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัล โดยแต่เดิมกำหนดให้มีบริการโทรทัศน์ภาคพื้นดินเพิ่มขึ้นเป็นจำนวน 48 ช่อง โดยแบ่งเป็นกลุ่มช่องรายการเชิงธุรกิจ 24 ช่อง โดยมี 7 ช่องโทรทัศน์ความละเอียดสูง เป็นรายการทั่วไปทั้งหมด นอกนั้นเป็นช่องโทรทัศน์ความละเอียดมาตรฐาน ประกอบด้วย 7 ช่องรายการทั่วไป, 7 ช่องรายการประเภทข่าว และ 3 ช่องรายการเด็ก/เยาวชน ส่วนกลุ่มช่องรายการเพื่อบริการสาธารณะ 12 ช่อง จะจัดสรรให้สถานีโทรทัศน์ภาคพื้นดินเดิม 3 ช่องรายการ อีกส่วนหนึ่งจำแนกตามหมวดต่าง ๆ ดังต่อไปนี้คือ การส่งเสริมความเข้าใจระหว่างรัฐบาลและรัฐสภากับประชาชน, การส่งเสริมการปกครองระบอบประชาธิปไตย, ความมั่นคงของรัฐ, ความปลอดภัยสาธารณะ, เด็กและครอบครัว (ซึ่ง กสทช.หารือเบื้องต้นว่าจะให้ไทยพีบีเอสดำเนินการเพิ่มอีกช่องหนึ่ง), การศึกษา และความรู้, ศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม, สุขภาพ กีฬา และคุณภาพชีวิต, บุคคลด้อยโอกาส และเยาวชน โดยกลุ่มช่องรายการเพื่อบริการชุมชนและภูมิภาคอีก 12 ช่อง ยังไม่มีการกำหนดสัดส่วนของหมวดหมู่ โดยได้มีการประมูลไปแล้วเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2556
สำหรับสถานีโทรทัศน์ภาคพื้นดินเดิม ซึ่งมีสถานะเป็นช่องรายการเชิงธุรกิจ (คือไทยทีวีสีช่อง 3, ช่อง 7 สี และโมเดิร์นไนน์ทีวี) จะต้องเข้าประมูลช่องรายการเชิงธุรกิจ ทั้งนี้ กสทช.อนุญาตให้ทดลองออกอากาศ โดยเข้าใช้สัญญาณ ในส่วนรายการชุมชนและภูมิภาค ไปพลางก่อนได้ เมื่อคลื่นความถี่พร้อมสำหรับการออกอากาศแล้ว ส่วนสถานีโทรทัศน์ภาคพื้นดินเดิม ซึ่งมีสถานะเป็นช่องรายการเพื่อสาธารณะ (คือ ททบ.5, สทท. และไทยพีบีเอส) กสทช.จะอนุญาตให้เข้าใช้สัญญาณ ในส่วนช่องรายการเพื่อสาธารณะได้ เมื่อคลื่นความถี่พร้อมสำหรับการออกอากาศแล้ว
ทั้งนี้ สถานีโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัลในประเทศไทย ได้เริ่มการออกอากาศตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2557 และได้ยุติการออกอากาศโทรทัศน์ระบบแอนะล็อกเป็นรายช่องและรายพื้นที่ โดยเริ่มจากช่องไทยพีบีเอสเป็นช่องแรก เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2558[1] และไทยทีวีสีช่อง 3 เป็นช่องสุดท้ายเมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2563
โทรทัศน์ดาวเทียม
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
โทรทัศน์ผ่านสายเคเบิล (เคเบิลทีวี)
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |