ฟราโญ ตุจมัน

นักการเมือง ทหาร และประธานาธิบดีโครเอเชีย
(เปลี่ยนทางจาก ฟรานโย ตุดมัน)

ฟราโญ ตุจมัน (โครเอเชีย: Franjo Tuđman; 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2465 – 10 ธันวาคม พ.ศ. 2542) เป็นทหารและนักการเมืองของประเทศโครเอเชียซึ่งดำรงตำแหน่งเป็นประธานาธิบดีคนแรกของโครเอเชียตั้งแต่ พ.ศ. 2533 จนกระทั่งถึงแก่อสัญกรรมใน พ.ศ. 2542 และเขาเป็นประธานาธิบดีคนสุดท้ายของสาธารณรัฐสังคมนิยมโครเอเชีย เมื่อมีการประกาศเอกราชจากยูโกสลาเวียเมื่อ พ.ศ. 2533

ฟราโญ ตุจมัน
ตุจมันใน พ.ศ. 2538
ประธานาธิบดีแห่งโครเอเชียคนที่ 1
ดำรงตำแหน่ง
22 ธันวาคม พ.ศ. 2533 – 10 ธันวาคม พ.ศ. 2542
ก่อนหน้าตัวเขาเอง (ในฐานะประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐสังคมนิยมโครเอเชีย)
ถัดไป
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด14 พฤษภาคม พ.ศ. 2465
เวลิกอเตอร์กอวีชเช ราชอาณาจักรยูโกสลาเวีย
เสียชีวิต10 ธันวาคม พ.ศ. 2542 (77 ปี)
ซาเกร็บ ประเทศโครเอเชีย
ที่ไว้ศพสุสานมิรอกอย ซาเกร็บ ประเทศโครเอเชีย
คู่สมรสอังกิตซา ตุจมัน
บุตร3 คน
บุพการี
  • สติเยปาน ตุจมัน
  • ยุสตินา กมัซ
ศิษย์เก่า
วิชาชีพนักการเมือง, นักประวัติศาสตร์, ทหาร
ลายมือชื่อ
เว็บไซต์tudjman.hr
ชื่อเล่น"ฟรันต์เซ็ก"
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ ยูโกสลาเวีย (2479–2504)
 โครเอเชีย (2538–2542)
สังกัดพลพรรคยูโกสลาเวีย (2479–2485)
กองทัพประชาชนยูโกสลาเวีย (2488–2504)
กองทัพโครเอเชีย (2538–2542)
ประจำการ1942–1961
1995–1999
ยศพลตรี (พลพรรคยูโกสลาเวีย)
จอมพล (กองทัพโครเอเชีย)[1][2]
ผ่านศึกสงครามโลกครั้งที่สอง
สงครามยูโกสลาเวีย
สงครามบอสเนีย

เขาเกิดที่หมู่บ้านแห่งหนึ่งในเวลิกอเตอร์กอวีชเช ในช่วงที่เขาเป็นวัยรุ่นเขาผ่านสงครามโลกครั้งที่สองและเข้าร่วมกับพลพรรคแห่งยูโกสลาเวีย ต่อมาเขาได้รับรัฐการเป็นทหารประจำกองทัพประชาชนยูโกสลาเวีย จนกระทั่งได้ลาออกจากการเป็นทหารไปและได้ทำหน้าที่เป็นอาจารย์สอนวิชารัฐศาสตร์ประจำมหาวิทยาลัยซาเกร็บและสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยซาดาร์ เขาได้เป็นประธานาธิบดีคนแรกของประเทศโครเอเชียหลังได้รับเอกราชจากยูโกสลาเวีย ซึ่งเขาดำรงตำแหน่งในช่วงสงครามยูโกสลาเวียซึ่งเขามีบทบาทในสงครามนี้ทั้งในสงครามบอสเนีย สมครามการประกาศเอกราชของโครเอเชีย และการปราบกบฏกรายินาซึ่งเป็นชาวเซิร์บในโครเอเชีย เขาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีเรื่อยมาจนกระทั่งถึงแก่อสัญกรรมด้วยโรคมะเร็ง เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2542 บทบาทของเขาในประวัติศาสตร์ยังคงเป็นที่ถกเถียง โดยฝ่ายที่สนับสนุนเขามองว่าเขามีบุญคุณต่อชาวโครแอตในฐานะผู้ประกาศเอกราชจากยูโกสลาเวีย แต่ฝ่ายที่ต่อต้านเขาได้มองว่าเขาเป็นเผด็จการเบ็ดเสร็จ

ชีวิตช่วงต้น แก้

เขาเกิดที่หมู่บ้านแห่งหนึ่งในเวลิกอเตอร์กอวีชเชซึ่งอยู่ในภูมิภาคเคอร์วัตสกอซากอริเยซึ่งในขณะนั้นยังเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรยูโกสลาเวีย หลังจากที่เขาเกิดได้ไม่นานครอบครัวของเขาก็ย้ายถิ่นฐานออกไป เขาเป็นบุตรของสติเยปาน ตุจมัน ซึ่งเป็นสมาชิกพรรคกสิกรแห่งโครเอเชีย[3] และยุสตินา กมัซ เขามีพี่สาว 2 คน คือดานิตซา อานา (เสียชีวิตตั้งแต่ยังเป็นทารก) อิวิตซา และน้องชายอีกหนึ่งคนคือสติเยปาน (ชเตเฟ็ก) เมื่อตุจมันอายุได้เจ็ดปี มารดาของเขาได้เสียชีวิตลงขณะกำลังคลอดบุตรคนที่ห้า[4][5] วัยเด็กเขาได้รับอิทธิพลจากผู้เป็นบิดาซึ่งมีแนวคิดที่ต่อต้านศาสนา[3] เขาเข้าศึกษาระดับชั้นประถมศึกษาที่หมู่บ้านของเขาเองตั้งแต่ พ.ศ. 2472 ถึง พ.ศ. 2476 ซึ่งตลอดเวลาที่เขาศึกษาอยู่เขามีผลการเรียนที่ดีเยี่ยม[6]

ต่อมาเขาเข้าศึกษาระดับมัธยมศึกษาใน พ.ศ. 2477 แต่ต้องหยุดเรียนไปเนื่องจากสภาพทางเศรษฐกิจที่ย่ำแย่และไม่มีเงินมากพอที่จะชำระค่าเทอม[7] แต่เพราะความช่วยเหลือจากทางราชการในตำบลและครูที่ปรึกษาของเขา ทำให้เขาได้ศึกษาต่อ เขาฝักใฝ่ลัทธิคอมมิวนิสต์ เป็นเหตุให้เขาถูกจับกุมเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2483 หลังจากที่เขาเข้าร่วมขบวนของนักศึกษาที่เฉลิมฉลองการปฏิวัติรัสเซีย[8]

เส้นทางการเมือง แก้

เมื่อปี พ.ศ. 2484 โครเอเชียอยู่ภายใต้การปกครองของรัฐเอกราชโครเอเชียซึ่งเป็นหนึ่งในรัฐหุ่นเชิดของนาซีเยอรมนี เขาจึงเข้าร่วมกับพลพรรคยูโกสลาเวียในช่วงต้นปี พ.ศ. 2485 โดยได้รับการคัดเลือกจากมาร์กอ เบลินิช[8] และบิดาของเขาก็เข้าร่วมด้วย และได้ก่อตั้งสภาต่อต้านฟาสซิสต์แห่งรัฐเพื่อการปลดปล่อยแห่งชาติโครเอเชียขึ้นมา เป็นเหตุให้บิดา น้องชาย และตัวเขาถูกพวกอูสตาเช (กลุ่มลัทธิฟาสซิสต์ที่ปกครองโครเอเชียในเวลานั้น) จับกุมตัว แต่สามารถรอดชีวิตมาได้ยกเว้นน้องชายของเขาคือสติเยปานซึ่งถูกพวกเกสตาโพสังหาร[8]

หลังเสร็จสิ้นสงคราม เขาได้รับราชการทหารและได้รับตำแหน่งในกระทรวงกลาโหมของยูโกสลาเวีย ต่อมาเขาได้รับยศพลตรีก่อนที่เขาจะลาออกไปเป็นอาจารย์สอนวิชารัฐศาสตร์ในมหาวิทยาลัยซาเกร็บ[9] และเขาได้รับปริญญาเอกจากคณะประวัติศาสตร์เมื่อ พ.ศ. 2508 จากมหาวิทยาลัยซาดาร์[10] ต่อมาเขาจึงมาเป็นนักประวัติศาสตร์และเขาต่อต้านระบอบการปกครองของสาธารณรัฐสังคมนิยมโครเอเชียในเวลานั้น เขาจึงได้เข้าร่วมขบวนการโครเอเชียสปริงซึ่งเรียกร้องให้มีการปฏิรูปการปกครองเสียใหม่ ทำให้เขาถูกทางการจับกุมและถูกจำคุกใน พ.ศ. 2515[ต้องการอ้างอิง] หลังจากนั้นเขาจึงได้อาศัยอยู่อย่างโดดเดี่ยวและสงบจนกระทั่งสิ้นสุดการปกครองระบอบคอมมิวนิสต์ในสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมยูโกสลาเวีย เขาจึงเข้าสู่เส้นทางการเมืองใน พ.ศ. 2532 ด้วยการก่อตั้งพรรคสหภาพประชาธิปไตยโครเอเชีย ต่อมาพรรคของเขาได้ชนะการเลือกตั้งในโครเอเชีย เขาจึงเป็นประธานาธิบดีโครเอเชียเป็นคนแรก และได้ประกาศเอกราชจากสหพันธ์สาธารณรัฐยูโกสลาเวียและได้รับเอกราชในวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2534 หลังจากผ่านการลงประชามติเห็นชอบจากชาวโครเอเชียร้อยละ 93

ในฐานะผู้นำในช่วงเวลาของสงครามยูโกสลาเวีย แก้

หลังจากที่โครเอเชียได้รับเอกราช ชนชาติเซิร์บซึ่งอาศัยอยู่ในโครเอเชียจำนวนมากได้ก่อการกบฏและตั้งประเทศเซอร์เบียกรายินาขึ้นมา เซอร์เบียกรายินาได้รับการสนับสนุนจากกองทัพยูโกสลาเวีย มีการสู้รบกันมาจนกระทั่งมีการลงนามสนธิสัญญาหยุดยิงใน พ.ศ. 2535 ทว่าสงครามกลับลุกลามไปถึงประเทศบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนาซึ่งเป็นพันธมิตรของโครเอเชีย แต่ต่อมาความร่วมมือระหว่างบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนากับโครเอเชียได้เกิดปัญหาขึ้น เมื่อรัฐบาลของเขาหันไปสนับสนุนสาธารณรัฐโครเอเชียแห่งเฮิร์ตเซก-บอสเนียระหว่างสงครามโครแอต-บอสนีแอก[11] ซึ่งมีการวิพากษ์วิจารณ์ในเรื่องการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวบอสนีแอกโดยทหารโครแอต ต่อมาเฮิร์ตเซก-บอสเนียก็ถูกยุบรวมกับบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา และใน พ.ศ. 2538 เขาได้ลงนามร่วมกับอาลียา อีเซตเบกอวิชเพื่อยุติสงครามโครแอต-บอสเนียกและทั้งสองประเทศได้ร่วมมือกันอีกครั้งเพื่อดำเนินปฏิบัติการพายุซึ่งเป็นการหยุดสงครามในโครเอเชียได้สำเร็จจากการที่สามารถปราบปรามกบฏชาวเซิร์บในโครเอเชีย[12] และเขาได้รับเลือกตั้งอีกครั้งใน พ.ศ. 2535 ถึง พ.ศ. 2540

ถึงแก่อสัญกรรม แก้

ตุจมันป่วยด้วยโรคมะเร็งตั้งแต่ พ.ศ. 2536 และสุขภาพของเขาได้อ่อนแอลงจนทรุดหนักลงตามลำดับ และได้ถึงแก่อสัญกรรมอย่างสงบในวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2542[13] สิริอายุได้ 77 ปี และมีพิธีศพที่ซาเกร็บและศพของเขาถูกฝังไว้ที่นั่น

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. "ODLUKA O OZNAKAMA ČINOVA I DUŽNOSTI U ORUŽANIM SNAGAMA REPUBLIKE HRVATSKE" (ภาษาโครเอเชีย). สืบค้นเมื่อ 15 December 2013.
  2. "Rank Vrhovnik". ZASTUPNIČKI DOM SABORA REPUBLIKE HRVATSKE. สืบค้นเมื่อ 15 April 2017.
  3. 3.0 3.1 Sadkovich 2010, p. 38.
  4. Hudelist 2004, p. 15.
  5. Sadkovich 2010, p. 37.
  6. Hudelist 2004, p. 18.
  7. Hudelist 2004, p. 27.
  8. 8.0 8.1 8.2 Sadkovich 2010, p. 50.
  9. "Tudjman, Franjo". Istrapedia (ภาษาโครเอเชีย). สืบค้นเมื่อ 27 March 2015.
  10. Sadkovich 2010, p. 119.
  11. Christia 2012, pp. 157–158.
  12. Tanner 2001, p. 294.
  13. "Croats mourn Croatian president". BBC News. 11 December 1999. His organs did not function properly, he was taken off the life support system he had been attached to since his November surgery. Tudjman died at 23:14 (22:14 GMT) on Friday [10 Dec] at the Dubrava clinic in the capital Zagreb, a government spokesman said. Death of Tudjman เก็บถาวร 2009-06-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, cnn.com; 13 December 1999; accessed 16 May 2015.
  14. 14.0 14.1 14.2 Hrvatska Radiotelevizija, บ.ก. (16 พฤษภาคม 2539). "Odlikovanja predsjednika hrvatske Dr. Franje Tuđmana". สืบค้นเมื่อ 7 พฤศจิกายน 2553. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)