ฟรานซิส เบคอน ไวส์เคานต์เซนต์อัลบันที่ 1 (อังกฤษ: Francis Bacon, 1st Viscount St. Alban) (22 มกราคม ค.ศ. 1561 – 9 เมษายน ค.ศ. 1626) เป็นนักปราชญ์ รัฐบุรุษ นักวิทยาศาสตร์ นักกฎหมาย และนักเขียนชาวอังกฤษ เป็นประธานศาลสูงสุดของอังกฤษ เบคอนเป็นที่รู้จักในฐานะผู้คิดค้นประสบการณ์นิยม (empiricism)[1]

ฟรานซิส เบคอน
ภาพโดยPourbus the Younger, 1617
ไวส์เคานต์เซนต์อัลบัน
ประธานศาลสูงสุดแห่งอังกฤษ
ดำรงตำแหน่ง
7 มีนาคม ค.ศ. 1617 – 3 พฤษภาคม ค.ศ. 1621 (1617-03-07 – 1621-05-03)
กษัตริย์พระเจ้าเจมส์ที่ 1
ก่อนหน้าเซอร์ โทมัส เอเกอร์ตัน
ถัดไปจอห์น วิลเลียมส์
อัยการสูงสุดแห่งอังกฤษและเวลส์
ดำรงตำแหน่ง
26 ตุลาคม ค.ศ. 1613 – 7 มีนาคม ค.ศ. 1617 (1613-10-26 – 1617-03-07)
กษัตริย์พระเจ้าเจมส์ที่ 1
ก่อนหน้าเซอร์ เฮนรี โฮบาร์ท
ถัดไปเซอร์ เฮนรี เยลเวอร์ตัน
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด22 มกราคม ค.ศ. 1561(1561-01-22)
สแตรนด์, ลอนดอน, อังกฤษ
เสียชีวิต9 เมษายน ค.ศ. 1626(1626-04-09) (65 ปี)
ไฮเกต, มิดเดิลเซ็กซ์, อังกฤษ
บุพการี
ศิษย์เก่า
ผลงานสำคัญผลงานโดยฟรานซิส เบคอน
ลายมือชื่อ
ผลงานเด่นNovum Organum
ยุคปรัชญายุคสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา
ปรัชญาในศตวรรษที่ 17
แนวทางปรัชญาตะวันตก
สำนักประสบการณ์นิยม
ความสนใจหลัก
แนวคิดเด่น

มุมมองทางศาสนา

แก้

แม่แบบ:ไม่สารา แม้ว่าเบคอน จะมีความเป็นเลิศทางวิชาการอย่างมากล้นและตัวเขาเองก็เป็นประจักษ์นิยม แต่ทว่าสิ่งที่น่าตกใจคือ เบคอนเป็นคนที่เชื่อในการมีอยู่ของพระเจ้า และไม่คิดว่าวิทยาศาสตร์เป็นการลบล้างพระเจ้า โดยประโยคสุดโด่งดังของเขาที่เขาได้ระบุไว้ในงานของเขา The Essayes Or Covnsels, Civill and Morall, of Francis Lo. Vervlam, Viscovnt St. Alban (1625) ก็คือ “ความรู้วิทยาศาสตร์อันน้อยนิดโน้มน้าวจิตใจของมนุษย์ไปสู่ลัทธิอเทวนิยม แต่ความรู้วิทยาศาสตร์ที่ลึกซึ้งจะนำจิตใจของมนุษย์มาสู่ศาสนา”[2]

ทัศนะที่มีน้ำหนักจากนักวิชาการที่ได้ศึกษางานของเบคอนอย่างละเอียด อย่าง สตีเฟน แม็คไนท์ (Stephen A. McKnight) ในหนังสือของเขา The Religious Foundation of Francis Bacon’s Thought (2006) ให้เหตุผลว่าเบคอนถือความเชื่อทางศาสนาอย่างแท้จริง แม็คไนท์ใช้ "การวิเคราะห์ข้อความอย่างใกล้ชิด" ของงานแปดชิ้นของเบคอนเพื่อแสดงให้เห็นว่า "วิสัยทัศน์ของเบคอนในการปฏิรูปหรือ 'การสร้างโครงสร้าง' นั้นดึงมาจากพระคัมภีร์ของยิว-คริสเตียนและยิ่งไปกว่านั้น งานของเขาไม่ได้เป็นปฏิเสธศาสนาคริสต์หรือศาสนาใด ความเชื่อเหล่านั้นยังเป็นรากฐานที่สำคัญของโครงการทั้งหมดของเขาอีกด้วย

แม็คไนท์ โต้แย้งว่างานเขียนของเบคอนมีจุดมุ่งหมายที่จะเปิดเผย "ความเข้าใจพระคัมภีร์ในระดับที่แท้จริงและลึกซึ้งยิ่งขึ้นและการช่วยชีวิตของพระเจ้าในประวัติศาสตร์"[3]

อ้างอิง

แก้
  1. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-07-08. สืบค้นเมื่อ 2012-10-08.
  2. Bacon, Francis (1625). The Essayes Or Covnsels, Civill and Morall, of Francis Lo. Vervlam, Viscovnt St. Alban. London. p. 90.
  3. Stephen McKnight. The ReligiousFoundations of Francis Bacon’s Thought. (Columbia: University of Missouri Press, 2006) p.3