พูดคุย:ตระกูลเจ้าเจ็ดตน

(เปลี่ยนทางจาก พูดคุย:ราชวงศ์ทิพย์จักร)
ความคิดเห็นล่าสุดเมื่อ: 3 ปีที่แล้ว โดย Horus ในหัวข้อ ชื่อราชวงศ์
ตระกูลเจ้าเจ็ดตน เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิประวัติศาสตร์และสถานีย่อย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับประวัติศาสตร์โลก เพื่อเป็นแนวทางสำหรับการศึกษาค้นคว้าที่น่าเชื่อถือสำหรับผู้อ่าน ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ ตระกูลเจ้าเจ็ดตน หรือแวะไปที่หน้าโครงการหรือหน้าสถานีย่อยเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
 ดี  บทความนี้อยู่ที่ระดับดี ตามการจัดระดับการเขียนบทความ
ตระกูลเจ้าเจ็ดตน เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิประเทศไทยและสถานีย่อย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับประเทศไทย ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ ตระกูลเจ้าเจ็ดตน หรือแวะไปที่หน้าโครงการหรือหน้าสถานีย่อยเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
 ดี  บทความนี้อยู่ที่ระดับดี ตามการจัดระดับการเขียนบทความ

ชื่อราชวงศ์ แก้

ผมคิดว่าชื่อราชวงศ์น่าจะถูกต้องทั้งคู่ แต่ต้องพิจารณากันต่อไปว่าชื่อซึ่งเป็นที่นิยมใช้อะไรมากกว่ากัน --Horus (พูดคุย) 22:08, 6 กุมภาพันธ์ 2564 (+07)ตอบกลับ

ชื่อราชวงศ์เท่าที่ผมศึกษามาเอกสารเก่าสุดคือ เพ็ชร์ลานนา ในปี 2507 กล่าวถึงความพยายามของการจัดลำดับสายสกุลภายใต้ "ราชวงศ์ทิพย์จักราธิวงศ์" ของพระราชชายาเจ้าดารารัศมีผ่านการสัมภาษณ์เจ้าราชภาคีนัยผู้เป็นเลขาการจัดลำดับสาแหรก และนอกเหนือจากนั้นยังมีเอกสารหลายแห่งนิยมใช้ "ทิพย์จักราธิวงศ์" อยู่มาก แต่เป็นที่น่าสังเกตว่าบางส่วนสะกดโดยใช้ "ทิพจักราธิวงศ์" ซึ่งหลักฐานเก่าสุดปรากฏในหนังสือพงศาวดารเมืองนครเชียงใหม่ในประโยคว่า"ตั้งเจ้าอุปราชบุตรพระเจ้านครดวงทิพ เปนเจ้าพรหมาภิพงษ์ธาดา สามันตวิชิตประเทศราช บริสัษยนารถทิพจักราธิวงษ์ ดำรงโยนวิไสย อภัยรัษฎารักษ์ อุดมศักดิสุรนางค์ ลำปางคมหานคราธิปตัย เจ้านครลำปาง" (โปรดสังเกตว่า คำว่าดวงทิพ ก็ไม่มี "ย์") แต่นั่นเป็นเพียงการเฉลิมพระนามเท่านั้น ไม่ได้ระบุถึงชื่อราชวงศ์แต่อย่างใด นอกเหนือจากนั้น ในหนังสือประวัติศาสตร์ล้านนาของสรัสสวดี อ๋องสกุล จะระบุเพียงคำว่า "เจ้าเจ็ดตน" ไม่กล่าวถึงชื่อราชวงศ์เลยครับ เมื่อขยายขอบเขตการศึกษาออกไปในต่างประเทศ พบการกล่าวถึงชื่อราชวงศ์ในหนังสือ Southeast Asian Personalities of Chinese Descent ว่า "Thipphachakkrathiwong" สำหรับการพิจารณาจากความนิยมคำว่า "ราชวงศ์ทิพย์จักร" ดูน่าจะง่ายสุด เพราะสะกดง่าย และออกเสียงสั้นกว่าชื่อราชวงศ์เต็ม แต่ทั้งหมดนี้ก็เป็นเพียงข้อสังเกตครับ --Mtsrp (คุย) 09:19, 7 กุมภาพันธ์ 2564 (+07)ตอบกลับ

ตัวชี้วัดหนึ่งที่ผมได้สนทนากับคุณไปแล้วคือ ดูว่านักวิชาการ/แหล่งอ้างอิงที่โดดเด่นในแวดวงนั้นใช้อะไรมากกว่ากันครับ อีกอย่างหนึ่งก็ดูจำนวนผลการค้นหาในกูเกิล --Horus (พูดคุย) 12:42, 7 กุมภาพันธ์ 2564 (+07)ตอบกลับ
แหล่งอ้างอิงที่โดดเด่นที่ผมไปหามาแล้วโดนคุณฟ้องว่าแสปมนั่นไงครับ ตำราวิชาการทั้งนั้น ผมอิงแบบ APA 7th edition ซึ่งเป็นมาตรฐานสากลแล้ว และ edition ล่าสุดเค้าก็ยกเลิกระบบเลขหน้าไปแล้ว แต่คุณก็ไม่พอใจให้ผมไปตามเอาเลขหน้าอีก อนึ่งผลจำนวนการค้นหาในกูเกิลผมเองก็ไม่ทราบว่าจะวัดยังไง ถ้า"ทิพย์จักราธิวงศ์" กับ"เจ็ดตน" ยังน่าจะพอวัดได้แต่ก็จะไปค้านกับหนังสือของสำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพราะในหนังสือระบุไว้ว่านี่เป็นชื่อเต็มของราชวงศ์เจ้าเจ็ดตน แต่ถ้า "ทิพย์จักราธิวงศ์" กับ "ทิพย์จักร" น่าจะวัดได้ยากเพราะบางส่วนของคำเป็นส่วนหนึ่งของคำเต็ม ถ้าทราบวิธีการวัดได้โปรดบอกเป็นวิทยาทานด้วยครับ--Mtsrp (คุย) 13:07, 7 กุมภาพันธ์ 2564 (+07)ตอบกลับ
ดีที่คุณยกประเด็นชื่อเต็มมานะครับ สังเกตว่าบทความเมืองหลวงของประเทศก็ใช้ว่า กรุงเทพมหานคร ไม่ใช่ กรุงเทพมหานคร อมรรัตนโกสินทร์ฯ คิดว่ากรณีนี้ก็ใช้หลักเกณฑ์เดียวกันครับ ไม่ใช่ว่าชื่อเต็มจะต้องเอามาตั้งเป็นชื่อบทความ และประเด็น APA 7th edition ไม่ทราบว่าเวลาเขียนเอกสารวิชาการ หรือบทความ เขาไม่อ้างเลขหน้ากันแล้วเหรอครับ แปลว่าคนจะตรวจทานแต่ละทีก็ต้องอ่านทั้งเล่มถึงจะทราบอย่างนั้นหรือครับ (en:w:Wikipedia:Citing_sources#Identifying_parts_of_a_source) --Horus (พูดคุย) 13:58, 7 กุมภาพันธ์ 2564 (+07)ตอบกลับ

ปกติผมอ่านเอกสารหรือบทความทางวิชาการช่วง 10 ปีหลังมานี้ การ cite จะใช้ระบบ “นาม ปี” กันทั้งนั้นแล้วล่ะครับ “ระบบ นาม ปี หน้า” จะเจอในบทความเก่ามากๆ มาคิดอีกทีหายไปตอนไหนก็ไม่รู้ (ช่วงนั้นเป็น APA 6th edItion) และเป็นแบบนี้หมดทั้งเอกสารต่างประเทศและของไทยครับ ยิ่ง 7th edition จะเห็นว่ามีการตัดเมืองพิมพ์ออกไปแล้ว เหลือแค่สำนักพิมพ์ด้วยซ้ำ ดังนั้นน้ำหนักของสิ่งที่จะอ้าง จะอยู่กับความซ้ำของการอ้างอิงเสียมากกว่า ถ้าเป็นบทความทางประวัติศาสตร์ หลักฐานชั้นต้นก็จะมีความน่าเชื่อถือมากกว่าหลักฐานชั้นรอง แต่ถ้าทางวิทยาศาสตร์ ยิ่งหาเอกสารทางวิชาการอ้างอิงได้มาก เท่ากับ confirm สิ่งที่เราพูดได้เยอะ แต่การเขียน wiki จะเขียนแบบวิชาการไม่ได้ เพราะถ้าให้ผมเขียนแบบวิชาการ ก็คงจะเขียนว่า ดังปรากฏหลักฐาน...สอดคล้องกับ...และยังมีข้อเพิ่มเติมดังที่....กล่าว อะไรทำนองนี้ซึ่งมันไม่ใช่ภาษาของสารานุกรมครับ อนึ่งในหน้าที่คุณยกมาก็ระบุไว้ว่า Page numbers are not required for a reference to the book or article as a whole. เพราะ edition ต่างๆ มีการเปลี่ยนแปลงเลขหน้าได้ ดังนั้นผมคิดว่านั่นน่าจะเป็นส่วนหนึ่งของสาเหตุที่ยกเลิกระบบ “นาม ปี หน้า” ไป ครับ 😀 Mtsrp (คุย) 17:29, 7 กุมภาพันธ์ 2564 (+07)ตอบกลับ

อย่างนั้นแปลว่า อ้างอิงที่ระบุเลขหน้าคืออ้างอิงที่ไม่ดี ล้าสมัย ทำนองนั้นหรือครับ ผมคิดว่าอะไรที่มันเจาะจงสิดี (ระบุทั้ง edition และเลขหน้า) กว่าแบบที่ปล่อยให้กำกวม และปล่อยให้เป็นภาระของผู้อ่าน ขนาดจะอ้างอิงคลิป เขายังจะให้ระบุช่วงเวลาให้ชัดเจน ไม่ใช่ปล่อยให้คนดูทั้งหมดเอง --Horus (พูดคุย) 19:52, 7 กุมภาพันธ์ 2564 (+07)ตอบกลับ
กลับไปที่หน้า "ตระกูลเจ้าเจ็ดตน"