พูดคุย:ราชมังคลากีฬาสถาน

หน้านี้เป็นหน้าพูดคุยสำหรับการแสดงความเห็นเพื่อพัฒนาบทความ ราชมังคลากีฬาสถาน

ราชมังคลากีฬาสถาน เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิประเทศไทยและสถานีย่อย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับประเทศไทย ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ ราชมังคลากีฬาสถาน หรือแวะไปที่หน้าโครงการหรือหน้าสถานีย่อยเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
 พอใช้  บทความนี้อยู่ที่ระดับพอใช้ ตามการจัดระดับการเขียนบทความ
ราชมังคลากีฬาสถาน เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิฟุตบอลและสถานีย่อย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับฟุตบอล ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ ราชมังคลากีฬาสถาน หรือแวะไปที่หน้าโครงการหรือหน้าสถานีย่อยเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
 พอใช้  บทความนี้อยู่ที่ระดับพอใช้ ตามการจัดระดับการเขียนบทความ

สนามกีฬา "แห่งชาติ" แก้

มีการย้อนไปมาหลายรอบในด้านหมวดหมู่ อยากให้มาคุยหาข้อสรุปไว้ตรงนี้ก่อนจะกลายเป็นสงครามแก้ไข --Sasakubo1717 (พูดคุย) 19:09, 3 พฤษภาคม 2555 (ICT)

  • ในภาพก็ระบุไว้ว่า National Stadium ส่วนที่มีการระบุว่าสนามกีฬาแห่งชาติมีแห่งเดียวก็ไม่ผิด แต่นี่เป็นเพียงหนึ่งหมวดหมู่เท่านั้น ไม่ใช่บทความ --Sasakubo1717 (พูดคุย) 19:23, 3 พฤษภาคม 2555 (ICT)

  1. ไม่มีข้อจำกัดว่า ...แห่งชาติ จะต้องมีแห่งเดียว (แต่ส่วนใหญ่จะมีแห่งเดียว)
  2. จะนำเข้าหรือนำออกซึ่งเนื้อหา ควรใช้ WP:AGF และมีแหล่งอ้างอิงที่น่าเชื่อถือ ถ้าทุกคนมีแหล่งอ้างอิงของตนก็นำมาเปรียบเทียบกัน ถ้าหากน่าเชื่อถือทุกฝ่ายก็ใส่ข้อมูลของทุกฝ่ายได้
  3. ชื่อภาษาอังกฤษกับชื่อภาษาไทยอาจไม่ต้องสอดคล้องตามกัน อาจละคำว่าแห่งชาติไปหรือเติมเข้ามาก็ได้
ขอความร่วมมือใช้หน้าอภิปรายเพื่อหาข้อยุติก่อนย้อนการแก้ไขกันไปมา ขอบคุณครับ

อาจศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมจาก หมวดหมู่:สนามกีฬาแห่งชาติ และบทความที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

--taweethaも (พูดคุย) 14:01, 4 พฤษภาคม 2555 (ICT)


ข้อสังเกตจาก ENWP (ซึ่งเราไม่จำเป็นต้องยึดตาม)

  1. ในบทความ สนามกีฬาแห่งชาติ ที่แปลตาม National Stadium ของอังกฤษ สนามกีฬาแห่งชาติมีลักษณะเป็นสนาม Host ของประเทศ (และแม้แต่ใน ENWP เองก็ลิสต์ทั้งสองสนามไว้ว่าเป็น National Stadium)
  2. หมวดหมู่ว่าด้วย National Stadium ที่ใส่ไว้ใน ENWP มีแต่ราชมังคลาฯ เท่านั้นที่อยู่ในหมวดหมู่นี้ สนามศุภฯ ไม่อยู่ในหมวดหมู่นี้

ว่าด้วยข้อเท็จจริง

  1. เว็บไซต์ของกรมพลศึกษา เขียนว่าสนามศุภชลาศัยเป็นสนามกีฬาแห่งชาติ ([1])
  2. เว็บไซต์ของการกีฬาแห่งประเทศไทย พูดถึงราชมังคลาฯ ในรูปว่าเป็นส่วนหนึ่งของศูนย์กีฬาหัวหมาก (ดูเพิ่ม [2]) ศูนย์กีฬาหัวหมากโดยลักษณะแล้วเป็น Sport Complex ซึ่งไม่ตรงกับลักษณะของสนามกีฬาแห่งชาติที่ใช้สำหรับกีฬาโดยเฉพาะ แม้ราชมังคลาฯ จะเขียนว่าเป็น National Stadium ในสนามและมีลักษณะตามนั้นก็ตาม
  3. แม้ราชมังคลาฯ จะไม่ได้มีการระบุว่าเป็นสนามกีฬาแห่งชาติก็ดี แต่ลักษณะ de facto ที่ว่าเป็นสนาม Host ของประเทศ (i.e. สำหรับจัดงานฟุตบอลทีมชาติ) จึงทำให้ราชมังคลาแม้จะเป็นสนามกีฬาอยู่ใน complex ที่เสียลักษณะของ National Stadium แต่ลำพัง stand alone มันก็เป็น National Stadium โดย de facto อยู่ ส่วนสนามศุภชาลาศัยนั้นเป็น National Stadium ชัดเจนแล้ว เพราะในเว็บไซต์กล่าวไว้เช่นนั้น
  4. จึงเรียนมาเพื่อประกอบการพิจารณาครับ

--∫G′(∞)dx 16:13, 4 พฤษภาคม 2555 (ICT)


  •   ความเห็น สนามศุภฯ ในปัจจุบันแทบไม่มีบทบาทในการแข่งขันระดับชาติแล้ว แม้จะได้ชื่อว่าสนามกีฬาแห่งชาติ แต่โดยพฤตินัยราชมังคลาเป็นสนามกีฬาแห่งชาติไปแล้ว --Sasakubo1717 (พูดคุย) 16:51, 4 พฤษภาคม 2555 (ICT)
    • ผมอาศัยข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในบทความ (และแหล่งอ้างอิงของทางผู้รับผิดชอบ) ในการ classify ครับ ส่วนเรื่องว่าบทบาทในความเป็นจริง แม้สนามศุภฯ จะไม่ได้ใช้ในรูปของสนามกีฬาแห่งชาติแล้วก็ดี แต่เมื่อยังคงชื่อไว้เช่นนั้น ก็จำต้องคงไว้ตามนั้นครับ ส่วนลักษณะที่ว่าในทาง de facto ราชมังคลาฯ เป็นสนามกีฬาแห่งชาติแล้วก็ดี (ประกอบกับความเห็นและนิยามของคุณ Sry85 ด้านล่าง) ก็ให้เป็นไปตามนั้น กล่าวคือมีหมวดหมู่สนามกีฬาแห่งชาติตามปกติ
  • สิ่งที่ผมเห็นว่าน่าจะได้ข้อยุติ คือใส่ทั้งสองสนามในฐานะว่าเป็นสนามกีฬาแห่งชาติทั้งคู่ (ในหมวดหมู่สนามกีฬาแห่งชาติ) ในลักษณะว่าเป็นสนามกีฬาแห่งชาติในเชิงข้อเท็จจริง (เป็นสนามเหย้าของฟุตบอลทีมชาติไทย ซึ่งก็คือนิยามในบทความสนามกีฬาแห่งชาติ) กับเชิงเอกสารอ้างอิง (ในเว็บไซต์กรมพลศึกษา) น่าจะเหมาะสมที่สุดครับ ทั้งนี้คู่กรณีพิพาทหรือผู้เกี่ยวข้องก็ควรจะมาร่วมพิจารณาด้วยเช่นกัน --∫G′(∞)dx 10:53, 5 พฤษภาคม 2555 (ICT)

ขอบคุณคุณ ∫G′(∞)dx สำหรับข้อเท็จจริงอย่างละเอียด

  1. ข้อเท็จจริงพร้อมแหล่งอ้างอิงดังกล่าวเป็นประโยชน์ต่อการแก้ไขเนื้อหาบทความ
  2. เรื่องว่าด้วยหมวดหมู่นั้นก็แล้วแต่จะตกลงกันว่าจะยึดอะไรเป็นเกณฑ์ ไม่มีถูกไม่มีผิด เสนอว่าให้ผู้ร่วมโครงการที่รับผิดชอบดูแล WP:FOOTBALL กรณียังไม่มีผู้ใดลงชื่อร่วมโครงการมาก่อนข้อพิพาท ก็ขอเชิญผู้ที่อยากมีสิทธิ์มีเสียงในการดูแลในรายละเอียดเข้าไปลงชื่อได้เลยครับ

--taweethaも (พูดคุย) 19:29, 4 พฤษภาคม 2555 (ICT)

สนามกีฬาแห่งชาติ (National Stadium) ในบทความนี้ที่จัดอยู่ในหมวดหมู่ เพราะใช้เป็นสนามเหย้าของฟุตบอลทีมชาติไทย ในการแข่งขันฟุตบอลระหว่างประเทศ สนามกีฬาแห่งชาติไม่จำเป็นต้องมีสนามเดียว แต่เป็นสนามที่ได้คัดสรร ให้เป็นสนามเหย้าทีมชาตินั้นในการแข่งขัน --Sry85 (พูดคุย) 00:10, 5 พฤษภาคม 2555 (ICT)


ณ เวลานี้ 5/5/55 ความเห็นไปในทิศทางเดียวกัน แม้จะแตกต่างในด้านเหตุผลบ้าง ก็น่าจะได้ข้อยุติในระดับหนึ่งแล้ว --Sasakubo1717 (พูดคุย) 12:35, 5 พฤษภาคม 2555 (ICT)


ทั้งทรรศนะ de facto (ซึ่งผมคิดว่า ก็น่าจะแบบเดียวกับที่ว่า "เพราะใช้เป็นสนามเหย้าของฟุตบอลทีมชาติไทย ในการแข่งขันฟุตบอลระหว่างประเทศ") หากเป็นไปตามนิยามนี้ สนามกีฬาสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี, สนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวา 2550, สนามกีฬาสุระกุลภูเก็ต (ยังไม่มีบทความ), สนามไอโมบายล์สเตเดียมบุรีรัมย์ (ยังไม่มีบทความ) หรือแม้แต่สนามกีฬาศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย-ญี่ปุ่น) ดินแดง ก็ควรอยู่ในหมวดหมู่สนามกีฬาแห่งชาติด้วยเช่นกัน ถ้าไม่เช่นนั้น ก็ต้องเป็นไปตามสถานะที่ "เป็นทางการ" เพียงแห่งเดียว คือสนามกีฬาที่ปทุมวันเท่านั้น ไม่ทางใดก็ทางหนึ่งครับ -- ภาพการ์ตูนมาสคอต แทนตัว Zenith Zealotry Zenith Zealotry | เซนิทสโมสร 17:15, 5 พฤษภาคม 2555 (ICT)

  1. ไทย-ญี่ปุ่นไม่ใช่สนามกีฬาแห่งชาติ เพราะบทความที่กล่าวถึงพูดถึง Sport complex ซึ่งเสียลักษณะของความเป็นสนามเดี่ยว ๆ ไปแล้วครับ จริงอยู่ข้างในเป็นสนาม แต่ก็ไม่ได้มีบทความสนามแยกเป็นเอกเทศเหมือน ENWP (ในทางกลับกัน ENWP ไม่ได้เขียนในรูปลักษณะของความเป็นศูนย์เยาวชนเลย เขียนแต่ลักษณะสนาม)
  2. ผมเข้าใจว่านิยามที่ว่าใช้เป็นสนามเหย้านับความเป็นปัจจุบันของสถานะการเป็นสนามเหย้าด้วย ไม่เช่นนั้นทุกสนามที่ทีมชาติไทยไปแข่งก็นับเป็นสนามเหย้า ซึ่งนำไปสู่ตรรกะที่ว่าเป็นสนามกีฬาแห่งชาติหมด สนามที่คุณเซนิทยกมาในปัจจุบันต่างก็อยู่ในสถานะอื่นซึ่งไม่ใช่สถานะของสนามเหย้าของฟุตบอลทีมชาติในปัจจุบันแล้ว (เช่น บางสนามอาจใช้ในรูปของของสนามใน complex บ้าง หรือบางสนามก็เป็นสนามของสโมสร บางสนามก็สร้างมาเพื่อ One-time purpose เป็น host ของการแข่งขันเพียงครั้งคราว ไม่ได้หมายความจะให้ใช้ในลักษณะสนามเหย้าไปตลอด) จึงขาดลักษณะของความเป็นสนามเหย้าครับ (กล่าวโดยสรุป ผมมองว่านิยามคำว่าสนามเหย้าต้องไม่ใช้เป็นครั้งเป็นคราว ต้องมีความต่อเนื่องในการใช้นั่นเอง จึงจะนับเป็นสนามเหย้าได้) --∫G′(∞)dx 17:42, 5 พฤษภาคม 2555 (ICT)

ว่าด้วยหมวดหมู่สนามกีฬากีฬาแห่งชาติผมนึกว่าได้ข้อยุติไปแล้ว แต่ตามความเข้าใจของคุณZenith Zealotry ว่ายังไม่สรุป คราวนี้สมควรที่จะชี้ชัดกันไปเลยว่าหมวดหมู่สนามกีฬาแห่งชาติถูกต้องหรือไม่ หากไม่ชี้ชัดก็จะเกิดการแก้ไขไปมากันอยู่ ถึงที่สุดหากจำเป็นคงต้องลงคะแนนเพื่อหาข้อสรุปกันไปเลย --Sasakubo1717 (พูดคุย) 17:59, 5 มิถุนายน 2555 (ICT)

สิ่งที่ต้องพิจารณา ในการเป็นสนามกีฬาแห่งชาติ คือ ใช้แข่งฟุตบอลระหว่างทีมชาติไทยกับชาติอื่นนั้น บ่อยขนาดไหน มีบ่อยครั้งไปที่สนามไม่พร้อมสำหรับการแข่งขัน หรือ ในนัดการแข่งขันที่ไม่สำคัญ (คนดูไม่เยอะ) ก็เปลี่ยนไปใช้สนามอื่น ประเทศอื่นก็เช่นกัน เขาใช้หลักการเช่นนี้ อนึ่ง สนามแห่งนี้ก็ถือเป็นสนามกีฬาแห่งชาติในแง่สนามแข่งขันกรีฑา ที่ใช้จัดในเอเชียนเกมส์ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพด้วย --Sry85 (พูดคุย) 22:16, 6 มิถุนายน 2555 (ICT)

เหตุผลในเรื่องเรื่องนี้มีเพียงพอแล้วแต่ไม่มีการระบุอย่างชัดเจนว่าอยู่ในหมวดหมู่สนามกีฬาแห่งชาติ ส่วนผมมีความเห็นส่วนตัวว่าสนามศุภฯ ไม่ได้ใช้งานในระดับชาติ และถูกทดแทนด้วยราชมังคลาฯ และขอแสดงความเห็นสรุปความเห็นส่วนตัวว่า สนามแห่งนี้ เป็นสนามกีฬาแห่งชาติ --Sasakubo1717 (พูดคุย) 22:23, 6 มิถุนายน 2555 (ICT)

แทนที่จะดูแต่สนามไทยเพียงอย่างเดียว ผมแนะนำว่าให้ดูสนามของชาติอื่นบ้างว่า เขาใช้เกณฑ์อะไรเป็นสนามแห่งชาติของเขา แล้วลองเอามาเทียบกันดู อนึ่ง คำว่า แห่งชาติ (national) กับ นานาชาติ (international) นั้นมีความหมายต่างกัน ตามความคิดผมคือ สนามกีฬาแห่งชาติคือสนามที่ใช้แข่งขันกีฬาระดับชาติภายในประเทศเป็นหลัก --浓宝努 22:47, 6 มิถุนายน 2555 (ICT)

  • ดูภาพนี้ประกอบครับ   เขียนไว้ชัดเจน สนามกีฬาแห่งชาติ มิอาจตีความเป็นอย่างอื่นได้ --Sasakubo1717 (พูดคุย) 09:46, 7 มิถุนายน 2555 (ICT)
ในทางราชการแล้ว มีการระบุไว้ชัดเจนว่า สนามกีฬาแห่งชาติ คือ สนามศุภชลาศัย ในทัศนะของผมคิดว่าก็ควรจะยึดตามหลักของทางการเป็นสำคัญ แม้ว่าในทางปฏิบัติจะเป็นอย่างอื่นก็ตาม เพราะผมคิดว่าการจะเป็นแห่งชาติ หรือไม่แห่งชาติ คงจะต้องมีหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ชัดเจน เราคงจะตัดสินเอง ด้วยพฤติกรรมการใช้ ด้วยภาพ หรือด้วยลักษณะ ไม่ได้ --Pongsak ksm (พูดคุย) 11:55, 7 มิถุนายน 2555 (ICT)
  เห็นด้วย กับคุณPongsak ksm -- ภาพการ์ตูนมาสคอต แทนตัว Zenith Zealotry Zenith Zealotry | เซนิทสโมสร 16:18, 7 มิถุนายน 2555 (ICT)
ทางการระบุชัดเจนว่า สนามกีฬาแห่งชาติ คือ สนามศุภชลาศัย ถูกต้อง แต่ทางการ (การกีฬาแห่งประเทศไทย) ก็ระบุใช้ชื่อว่า ราชมังคลาฯ เป็นสนามกีฬาแห่งชาติเช่นกัน นอกจากนั้นแล้วฟีฟ่า ยังระบุโดยวงเล็บไว้วว่าเป็นNational Stadium ประเด็นของการเอาหมวดหมู่อ้างอิงนี้ออก คือมีผู้บอกว่า "สนามกีฬาแห่งชาติต้องมีแห่งเดียว" ซึ่งเป็นเหตุผลที่ขาดอ้างอิงมาสนับสนุนว่า ใครกล่าวเช่นนี้ --Poang6 (พูดคุย) 21:28, 7 มิถุนายน 2555 (ICT)
  • ในภาพผมขอให้ดูข้อความ อย่าไปดูลู่วิ่งหรือพื้นสนามให้ดูบริเวณที่นั่งจะเห็นข้อความบนสุดเขียนไว้ว่า RAJAMANGALA ตรงกลางเขียนว่า NATIONAL ล่างสุดเขียนว่า STADUIM ผมเห็นว่าเขียนไว้เช่นนั้นครับจึงตีความเป็นสนามกีฬาแห่งชาติ --Sasakubo1717 (พูดคุย) 20:47, 7 มิถุนายน 2555 (ICT)
สนามกีฬาแห่งชาติไม่จำเป็นต้องมีเพียงแห่งเดียว ข้อเท็จจริงที่ว่า (1) สนามศุภชลาศัยเป็นสนามกีฬาแห่งชาติอย่างเป็นทางการ และ/หรือ (2) สนามศุภชลาศัยในปัจจุบันแทบไม่มีบทบาทในการแข่งขันระดับชาติจึงไม่ควรเป็นเหตุผลหลักในการตัดสินใจในบทความนี้ครับ (ดูการอภิปรายด้านบน)--taweethaも (พูดคุย) 13:38, 7 มิถุนายน 2555 (ICT)
ตามที่คุณTaweetham กล่าวมามันก็ถูกอยู่ (1)+(2) ว่าใช้หลักเกณฑ์นั้นไม่ได้ ในแต่ละคนย่อมมีมุมมองที่แตกต่างกัน ซึ่งผมเองมีมุมมองเช่นนั้น อีกเหตุหนึ่งป้ายและภายในสนามเขียนไว้ว่า NATIONAL STADIUM แปลเป็นอื่นไม่ได้ ซึ่งป้ายเหล่านี้จัดทำขึ้นโดยผู้สร้างสนามหรือเจ้าของ ไม่ใช่ผู้เขียนบทความในวิกิพีเดียที่นำใส่หมวดหมู่สนามกีฬาแห่งชาติไปเขียนไว้เอง ปิดท้ายด้วยสนามแห่งนี้เป็นสนามกีฬาแห่งชาติ แม้ชื่อภาษาไทยไม่เขียนว่าสนามกีฬาแห่งชาติ --ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ Sasakubo1717 (พูดคุยหน้าที่เขียน) 14:45, 7 มิถุนายน 2555 (ICT)

สงครามการแก้ไข แก้

อนุโลมตามวิกิพีเดีย:สงครามแก้ไข

  1. รุ่นก่อนสงครามการแก้ไขคือ 03:06, 7 เมษายน 2555‎ EmausBot ไม่มีหมวดหมู่ สนามกีฬาแห่งชาติ
  2. สงครามการแก้ไขเริ่มเมื่อ 12:15, 1 พฤษภาคม 2555 โดยมีผู้เกี่ยวข้องสองฝ่ายคือ
    • ผู้เพิ่มหมวดหมู่สนามกีฬาแห่งชาติได้แก่ Sry85, Jungide (ย้อนไม่ถึงสามครั้ง), Sasakubo1717
    • ผู้นำหมวดหมู่สนามกีฬาแห่งชาติออกได้แก่ ZenithZealotry
  3. ขอให้ผู้ที่มีรายนามในข้อ 2 งดการแก้ไขอันเกี่ยวกับหมวดหมู่ดังกล่าวและร่วมอภิปรายที่หน้านี้จนกว่าจะมีข้อสรุป การย้อนการแก้ไขเจตนาดีของทั้งสองฝ่ายกันไปมาเป็นสงครามการแก้ไขอาจส่งผลกระทบทำให้บทความถูกล็อกและผู้ใช้ที่เกี่ยวข้องถูกสกัดกั้นได้

--taweethaも (พูดคุย) 15:45, 7 มิถุนายน 2555 (ICT)

  • มาลงนามรับทราบครับ -- ภาพการ์ตูนมาสคอต แทนตัว Zenith Zealotry Zenith Zealotry | เซนิทสโมสร 16:26, 7 มิถุนายน 2555 (ICT)
  • รับทราบ (ความเห็นส่วนตัวซึ่งมิได้เกี่ยวข้องโดยตรงกับบทความนี้ ทั้ง คุณSry85 และ คุณZenithZealotry ผมไม่ได้ยืนข้างฝ่ายใด บทความนี้ผมอาจเห็นด้วยกับท่านหนึ่ง แต่อีกบทความผมอาจเห็นด้วยกับอีกท่านหนึ่ง การแก้ไขทั้งปวงมาจากตัวผมเองทั้งสิ้น) --Sasakubo1717 (พูดคุย) 16:53, 7 มิถุนายน 2555 (ICT)
    • ต่อจากนี้ไปขอให้ท่านที่แสดงความเห็นชี้ชัดลงไปด้วยว่า เป็นสนามกีฬาแห่งชาติหรือไม่ อย่าเอาแต่แสดงความเห็น ไม่เช่นนั้นก็ไม่ได้ข้อยุติ คนหนึ่งแก้ คนหนึ่งย้อน เมื่อได้ข้อยุติใครไม่ทำตามก็ยับยั้งการใช้งานไว้สัก 1 วัน หรือ 3 วัน ไปสงบสติอารมณ์ --Sasakubo1717 (พูดคุย) 19:36, 7 มิถุนายน 2555 (ICT)

เนื่องด้วยแต่ละท่านได้ร่วมแสดงเหตุผลกันในเบื้องต้นแล้ว และคุณทวีธรรมได้เรียนเชิญให้ผมมาร่วมอภิปรายหน้าดังกล่าว เนื่องด้วยสถานะหนึ่งในอนุญาโตตุลาการปัจจุบัน ผมจึงขอเสนอให้ใช้อ้างอิงจาก ข้อมูลทางการประจำสนามกีฬาแห่งนี้, เอกสารราชการ, การกีฬาแห่งประเทศไทย และ ฟีฟ่า ฉบับปัจจุบัน เพื่อประกอบบทความ ตามหลัก WP:REF และ WP:V จากแหล่งอ้างอิงต่างๆ ร่วมกันในบทความนี้ครับ --B20180 (พูดคุย) 09:26, 8 มิถุนายน 2555 (ICT)

ถ้าเป็นเช่นนั้น ผมก็คิดว่าควรจะนำเอาข้อมูลมาเสนอในที่นี้ และเปรียบเทียบดูความน่าเชื่อถือ เพื่อประกอบการพิจารณาร่วมกัน เท่าที่เห็นชัดเจน แต่ในทัศนะของผมเห็นว่า กรมพลศึกษา ในฐานะส่วนราชการที่มีหน้าที่ในการกำกับดูแลการกีฬาของชาติ ได้ระบุไว้ชัดเจนว่า "สนามกีฬาแห่งชาติ คือ สนามศุภชลาศัยกรีฑาสถานแห่งชาติ สนามจินดารักษ์ิ สนามเทพหัสดิน สนามวอร์ม 200 เมตร สระว่ายน้ำวิสุทธารมณ์ อาคารกีฬานิมิบุตร อาคารจันทนยิ่งยง อาคาร สมบัติ คุรุพันธ์ นันทนาการ ลานกีฬาอเนกประสงค์"[3] แสดงว่าสนามศุภฯ หรือรัชมังคลาฯ ก็มิได้เป็นสนามกีฬาแห่งชาติด้วยกันทั้งนั้น แต่สนามศุภฯ เป็นส่วนหนึ่งในสนามกีฬาแห่งชาติ ส่วนกรณีรัชมังคลาฯ มีการระบุว่าเป็น "Natioal Stydium" นั้น ผมว่าอาจจะยังดูไม่เป็นทางการ --Pongsak ksm (พูดคุย) 14:22, 8 มิถุนายน 2555 (ICT)
การจะระบุว่าเป็นสนามกีฬาแห่งชาติหรือไม่ผมขอยกคำกล่าวจากวิกิพีเดียภาษาอังกฤษระบุว่า a national sport stadium, which typically serves as the primary or exclusive home for one or more of a country's national representative sports teams The term is most often used in reference to an football (soccer) stadium. Usually, a national stadium will be in or very near a country's capital city or largest city แปลได้ความว่าเป็นสนามซึ่งสำหรับเป็นสนามเหย้าของทีมกีฬาซึ่งเป็นตัวแทนของชาตินั้น มักใช้กับกีฬาฟุตบอล อยู่ใกล้เมืองหลวงหรือเมืองใหญ่ หากพิจารณาตามนี้ ราชมังคลาฯจะเป็นสนามกีฬาแห่งชาติ (ซึ่งก็ไม่แน่เสมอไปว่าจะต้องอยู่ในเมืองใหญ่หรือเมืองหลวง) en:National stadium ส่วนที่คุณPongsak ksm ระบุว่าไม่เป็นทางการนั้นผมขออ้างอิงความเห็นคุณทวีธรรมด้านบนเรื่องสนามบินสุวรรณภูมิ เป็นสนามบินนานาชาติ แต่ชื่อไม่ระบุว่านานาชาติและตั้งอยู่ในจังหวัดสมุทรปราการแต่ไม่ว่าเราจะบินในประเทศหรือต่างประเทศสนามบินสุวรรณภูมิถูกเรียกว่า BANGKOK ไม่ใช่ สมุทรปราการ ส่วนสนามบินเดิมนั้นปัจจุบันถูกเรียกว่าสนามบินดอนเมือง กรณีนี้ก็เช่นเดียว ราชมังคลาฯ จึงมีสถานะเป็นสนามกีฬาแห่งชาติด้วยเหตุผลการถูกใช้เป็นสนามเหย้าของฟุตบอลทีมชาติไทย และไม่ควรตีความตามตัวอักษรอย่างเคร่งครัดขอให้พิจารณาลักษณะการใช้งานประกอบ อีกประเด็น ป้าย และ ภายในสนาม ระบภาษาอังกฤษเอาไว้ว่า NATIONAL STADIUM และลิงก์อ้างอิงของคุณPoang6 ดูจะน่าเชื่อมากกว่าเพราะอ้างอิงจาก FIFA --Sasakubo1717 (พูดคุย) 18:46, 8 มิถุนายน 2555 (ICT)
สนามกีฬาแห่งชาติ ตามที่คุณ Pongsak ksm อ้างมานั้นเป็นชื่อของ sport complex ซึ่งรวมสนามกีฬาและกลุ่มอาคารด้านกีฬาต่าง ๆ ที่มีที่ตั้งอยู่แถวถนนพระรามที่ 1 ไม่ได้หมายถึงว่า สนามกีฬาแห่งชาติ ของประเทศไทย มีที่ไหนบ้าง ได้แก่สนามอะไรบ้าง และที่คุณบอกว่าลิงก์จากการกีฬาแห่งประเทศไทยและฟีฟ่าอาจจะยังไม่ดูเป็นทางการ นี่ยังไงนะครับ --Poang6 (พูดคุย) 00:19, 9 มิถุนายน 2555 (ICT)
ประเด็นที่จะพิจารณาคือ
  • ประเด็นที่ผมเสนอเพิ่มเติมว่าสนามกีฬาแห่งชาติ อาจจะไม่ได้หมายถึงสนามศุภฯ ก็หมายถึงคำว่า "สนามกีฬาแห่งชาติ" อาจจะหมายรวมถึงสนามที่ประกอบด้วยกีฬาทุกประเภท ไม่ใช่เฉพาะสนามฟุตบอล หรือสนามหลักเท่านั้น
  • ลิงก์ของ กกท. มีความน่าเชื่อถือครับ แต่สิ่งที่ไม่อาจจะนำมาเป็นเครื่องตัดสิน คือ ภาพ (การจัดเก้าอี้ในอัฒจรรย์)
  • ลิงก์ของ FIFA ก็เป็นอีกหนึ่งประเด็นประกอบการพิจารณา แต่ในทัศนะผมกลับมองว่าการที่ FIFA ระบุว่า ราชมังคลาฯ เป็น NATIONAL STADIUM ก็ไม่ได้หมายความว่าจะถือว่าสนามแห่งนี้เป็นสนามกีฬาแห่งชาติไปด้วย เพราะหลักเกณฑ์ในการกำหนดว่าสนามแห่งไหนเป็นสนามกีฬาแห่งชาติ ย่อมมีความแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ เช่นเดียวกับกรณีสนามบินสุวรรณภูมิ แม้ว่าในต่างประเทศจะระบุปลายทางว่า BANGKOK ก็ไม่ได้หมายความว่าจะต้องนับว่าอยู่ในเขตกรุงเทพฯ ตามไปด้วย อีกประการหนึ่งคือ FIFA อาจจะให้ความสำคัญกับฟุตบอลเป็นสำคัญ จึงมีความเข้าใจว่าสนามเหย้าของทีมชาติ จะถือเป็นสนามแห่งชาติไปด้วย
  • โดยรวมแล้ว ผมก็ไม่ได้ตัดทางว่าราชมังคลาฯ จะจัดว่าเป็นสนามกีฬาแห่งชาติไม่ได้ แต่ผมได้ศึกษาจากรายงานประจำปีของการกีฬาแห่งประเทศไทยแล้ว ยังไม่พบส่วนที่กล่าวไว้เลยว่าศูนย์กีฬาหัวหมาก หรือราชมังคลาฯ เป็นสนามกีฬาแห่งชาติ แต่ในทางกลับกันผมสนับสนุนว่าราชมังคลาฯ เป็น "สนามฟุตบอลแห่งชาติ" อันนี้ชัดเจน

--Pongsak ksm (พูดคุย) 02:09, 9 มิถุนายน 2555 (ICT)

สนันสนุนความเห็นคุณPongsak ksm ที่ระบุว่าราชมังคลาฯ เป็น "สนามฟุตบอลแห่งชาติ" ผมขอใช้ประโยชน์ต่อไปว่า ฟุตบอลเป็นกีฬาชนิดหนึ่ง จึงสามารถจัดเข้าหมวดหมู่นี้ได้หากมองด้วยเหตุผลนี้ (ขอลุกขึ้นยืนปรบมือให้เป็นเวลา 3 นาทีกับประโยคนี้ครับ --Sasakubo1717 (พูดคุย) 16:08, 9 มิถุนายน 2555 (ICT)
    • โดยส่วนใหญ่แล้วสนามกีฬาที่เป็นใช้แข่งขัน จุคนมาก ๆ และมีการแข่งขันกันระหว่างประเทศ จะเป็นกีฬาฟุตบอล ส่วนใหญ่ เพราะเป็นกีฬาที่ได้รับความนิยม ทั่วโลก จึงไม่แปลกที่สนามฟุตบอลนั้นจะเป็นสนามกีฬาแห่งชาติของแทบทุกประเทศจะมีสนามกีฬาแห่งชาติสำหรับฟุตบอล แต่ในบางประเทศ ก็มีสนามกีฬาแห่งชาติด้านอื่น เพราะประเทศนั้น นิยมในกีฬาอื่นด้วย เช่น ในอินเดีย ก็มีสนามกีฬาแห่งชาติสำหรับแข่งขันคริกเกตต์ (ในอินเดียก็มีสนามกีฬาแห่งชาติสำหรับฟุตบอลเช่นกัน) การมีสนามกีฬาแห่งชาติเพื่อใช้แข่งขันกับทีมกีฬาชาติอื่น (การแข่งขันอย่างเป็นทางการระดับนานาชาติ หรือ เรียกว่าทัวร์นาเมนต์) สนามเหย้าของทีมชาตินั้นมีความจำเป็น เพราะการแข่งขันจะเป็นแบบ เหย้า-เยือน เพื่อไม่ให้ได้เปรียบเสียเปรียบกัน ดังนั้นความหมายของสนามกีฬาแห่งชาติแบบสากล หมายถึง สนามกีฬาของทีมเหย้าของทีมชาตินั้น สนามกีฬาที่มีคำว่า แห่งชาติ นั้นเป็นแค่ส่วนประกอบของชื่อเท่านั้น หลายประเทศ สนามกีฬาแห่งชาติเขา ก็ไม่มีคำว่า แห่งชาติ (National) ก็มีเยอะแยะไป --Poang6 (พูดคุย) 03:10, 9 มิถุนายน 2555 (ICT)
      • ถูกต้องครับ สนามกีฬาแห่งชาติในความหมายโดยรวมมักจะหมายถึงสนามฟตุบอลเป็นส่วนใหญ่ แต่ในทัศนะของผมกลับมองว่าในความหมายของประเทศไทยแล้ว คำว่าสนามกีฬาแห่งชาติ หมายถึงทั้งหมด ทั้งสนามศุภฯ ทั้งอาคารโดยรอบ แต่หากเราจะตีความตามแบบสากล ผมก็ไม่มีความเห็นแย้งสำหรับสนามราชมังคลาฯ แต่ผมกลับมองว่าเราควรจะระบุไว้ในบทความว่าสนามไหน คือสนามกีฬาแห่งชาติอย่างเป็นทางการของประเทศไทย ส่วนสนามไหนเป็นสนามกีฬาที่มีการใช้ในลักษณะที่เป็นสนามกีฬาแห่งชาติ หรือในลักษณ์ว่าเป็นสนามกีฬาแห่งชาติโดยปริยาย สรุปผมไม่เห็นแย้ง ถ้าจะระบุหมวดหมู่ว่าราชมังคลาฯ เป็นสนามกีฬาแห่งชาติ แต่ควรระบุในบทความให้ชัดเจน --Pongsak ksm (พูดคุย) 10:12, 9 มิถุนายน 2555 (ICT)
        • บังเอิญเห็นว่ามีการให้น้ำหนักกับลิงก์ของฟีฟ่า ทำนองว่าขนาดเขายังยกให้เป็นสนามกีฬาแห่งชาติ ก็ในเมื่อชื่อภาษาอังกฤษว่า Rajamangala National Stadium ถ้าจะใช้คำแรงๆ หน่อยก็คือ ฝรั่งไม่ได้รับรู้และเข้าใจความเป็นทางการอย่างที่เราเข้าใจกัน ก็เลยกลายเป็นว่า ชื่อที่เราใช้กันนี้ ไป "ล่อลวง" ให้เขาเข้าใจว่า นี่คือ National Stadium เพราะมีคำนี้อยู่ในชื่อสนาม หรือแม้แต่การเรียงเก้าอี้ให้เป็นชื่อสนาม ถ้าเป็นฝรั่งไม่เข้าใจยังพอทำเนา แต่หากคนไทยแกล้งโง่ ก็คงต้องทบทวนตัวเองเสียใหม่แล้ว
          • ไม่เข้าใจประเด็นของคุณ ถ้าตัดคำถากถางออก ไม่รู้ว่าประเด็นคืออะไร --Poang6 (พูดคุย) 16:50, 9 มิถุนายน 2555 (ICT)
        • แท้ที่จริงการมีคำว่า "แห่งชาติ" หรือ "National" หรือไม่มี ไม่ได้ยืนยันว่าสนามนั้นๆ มีสถานะเป็นสนามกีฬาแห่งชาติ หากแต่อยู่ที่ว่า แต่ละประเทศจะประกาศให้สนามไหนมีสถานะนั้น นี่เป็นเหตุเป็นผลกับข้อมูลที่คุณ Pongsak ksm บอกว่า กกท.ไม่เคยกล่าวว่าศูนย์กีฬาหัวหมาก หรือแม้แต่ราชมังคลากีฬาสถาน มีสถานะเป็นสนามกีฬาแห่งชาติ นั่นก็เพราะศูนย์กีฬาที่ปทุมวัน ยังคงถือกรรมสิทธิ์ที่ประกาศมาก่อนหน้าหลายสิบปี ว่าที่นั่นมีสถานะเป็นสนามกีฬาแห่งชาติ
            • รายงานประจำปี กกท. ไม่น่าจะมีบอกครับ ว่าสนามไหนเป็นสนามแห่งชาติหรือ ไม่คงมีแต่ งบประมาณเท่าไหร่ กรรมการคือใคร หรือที่คุณอ้างว่า ศูนย์กีฬาที่ปทุมวัน เป็นสนามกีฬาแห่งชาติ นั้น อ้างอิงอยู่ไหน (ไม่เอาอ้างอิงจากเว็บของสนาม)
        • ส่วนที่อ้างเรื่องท่าอากาศยานมานั้น ก็เป็นคนละเรื่องกับสนามกีฬาอยู่แล้ว เพราะเป็นคนละอย่างกัน ไม่ทราบเหมือนกันว่า เอามาเทียบเคียงลากข้างกันได้อย่างไร
        • ส่วนที่อ้างว่า มีนิยามของสนามกีฬาแห่งชาติตามแบบสากลนั้น ก็เป็นเพียงปัจจัยประกอบที่บางประเทศนำมาใช้เท่านั้น สุดท้ายแล้วก็ขึ้นอยู่กับว่า ประเทศใดประกาศอย่างเป็นทางการ ให้สนามแห่งใดมีสถานะเป็นสนามกีฬาแห่งชาติ-- ภาพการ์ตูนมาสคอต แทนตัว Zenith Zealotry Zenith Zealotry | เซนิทสโมสร 15:51, 9 มิถุนายน 2555 (ICT)
          • ตามด้านบน ขอคำประกาศอย่างเป็นทางการหน่อย ว่าศูนย์กีฬาที่ปทุมวัน เป็นสนามกีฬาแห่งชาติ มีอ้างอิงบ้างไหม--Poang6 (พูดคุย) 16:50, 9 มิถุนายน 2555 (ICT)
            • ในปี พ.ศ. 2478 กรมพลศึกษา ได้ทำสัญญเช่ากับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อสร้างสนามกีฬาแห่งชาติสนามกีฬาแห่งชาติ และหมายกำหนดการ ที่ 13/2480 --Pongsak ksm (พูดคุย) 12:07, 18 มิถุนายน 2555 (ICT)
              • ประเด็นสนามศุภฯ นี้ สำหรับผมและหลายๆท่านไม่ได้เป็นปัญหา เพราะชื่อมันชัดเจนในตัวอยู่แล้ว ส่วนราชมังคลาฯ ผมใช้ข้อสังเกตุเดียวกับคุณทวีธรรมว่า เพราะเป็นชื่อพระราชทาน + และพระราชพิธีรัชมังคลา --Sasakubo1717 (พูดคุย) 16:21, 18 มิถุนายน 2555 (ICT)

ลงคะแนน แก้

ด้วยเหตุผลประการทั้งปวงข้างต้น ทั้งสองฝ่ายมีเหตุผลดีและอภิปรายกันมาเป็นเวลากว่าเดือนเต็มแล้ว จึงต้องหาข้อยุติด้วยการเชิญท่านทั้งหลายพิจารณาลงคะแนนว่าควรเพิ่มหมวดหมู่สนามกีฬาแห่งชาติ ลงในหน้านี้หรือไม่ (  เห็นด้วย ,   ไม่เห็นด้วย ,   เป็นกลาง =(ไม่คัดค้านการเพิ่มหมวดหมู่ ไม่จำเป็นต้องมีหมวดหมู่ก็ได้ ฯลฯ) + เหตุผลด้วยหากยังไม่ได้ให้เหตุผลไว้ในการอภิปรายข้างต้นหรือต้องการสรุป/เพิ่มเติมความคิดเห็น)

หมายเหตุ จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งหากท่านอ่านข้อความอภิปรายข้างบนให้จบก่อนตัดสินใจลงคะแนน ขอบคุณครับ - จะปิดลงคะแนนในเวลาประมาณ 2 สัปดาห์หรือเมื่อมีผู้ลงคะแนนมากกว่า 10 รายและเห็นแนวทางคะแนนเสียงไปทางใดทางหนึ่งแน่ชัด - ทุกฝ่ายมีสิทธิ์ลงคะแนน รวมถึงผู้ที่ถูกขอให้ระงับการแก้ไขด้วย (แต่ยกเว้นไอพี ผู้ใช้ใหม่ หุ่นเชิด ฯลฯ)

--taweethaも (พูดคุย) 15:37, 9 มิถุนายน 2555 (ICT)

ขอพิเศษอีกนิดครับ ในหัวข้อการลงคะแนนเป็นผมอยากให้ขยายความไปอีกหน่อย ด้วยเหตุผลดังนี้ เป็นกลาง หมายถึงไม่คัดค้านการเพิ่มหมวดหมู่ฯ หากมองในความเป็นจริงรุ่นปัจจุบันของเนื้อหานั้นไม่มีหมวดหมู่สนามกีฬาแห่งชาติซึ่งคุณทวีธรรมเขียนไว้นั้นมิได้ผิดเพี้ยนแม้แต่น้อย แต่เพื่อป้องกันการตีความเป็นกลางเป็นอย่างอื่นคือไม่ต้องมีหมวดหมู่สนามกีฬาแห่งชาติก็ได้ขอให้คุณทวีธรรมซึ่งได้แสดงความเป็นกลางไว้หนึ่งเสียงแล้วนั้นซึ่งเป็นสิ่งที่ดีงามสมควรแก่การยกย่องในฐานะ คอต. เพราะไม่ใช่ข้อขัดแย้งที่จะต้องชี้ผิดหรือถูก การแสดงความเป็นกลางของคุณผมขออนุญาตให้ช่วยขยายคำจำกัดความของความเป็นกลางออกไปอีก หากผมไม่พิจารณาในเนื้อหาของบทความผมย่อมมีสิทธิ์ตีความว่าไม่ต้องมีหมวดหมู่สนามกีฬาแห่งชาติก็ได้ ผมขอเสนอแนวทาง ไว้หลายๆแนว คือ ไม่นับคะแนนเป็นกลาง , ห้ามฝ่ายสนับสนุนหรือคัดค้านนำไปอ้างอิงในทางใดๆ,ตัดคำว่าไม่คัดค้านการเพิ่มหมวดหมู่ออกเพราะผมเองตีความไปในทางเพิ่มหมวดหมู่ได้หากไม่ดูบทความประกอบก็จะไม่เป็นธรรมกับฝ่ายคัดค้าน, หรือสามารถลบหมวดหมู่นี้ออกก็ได้เช่นกัน, จะแนวทางไหนก็ตามจึงห้ามฝ่ายสนับสนุนหรือคัดค้านนำไปใช้ประโยชน์แก่ฝ่ายที่ตนสนับสนุน เรียนมาให้พิจารณาด้วยครับ --Sasakubo1717 (พูดคุย) 17:27, 9 มิถุนายน 2555 (ICT)
ขยายความเพิ่มแล้วครับ --taweethaも (พูดคุย) 07:35, 10 มิถุนายน 2555 (ICT)
  ความเห็นของผู้ใช้:Sasakubo1717 การลงคะแนนจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งหากท่านได้ลงคะแนนไปในทางใดทางหนึ่งเพื่อให้ได้ข้อยุติ ทั้งเห็นด้วย/ไม่เห็นด้วย
  1.   เห็นด้วย ตามเหตุผลฝ่ายสนับสนุนด้านบน รวมทั้งความเห็นคุณPongsak ksm ระบุว่า สนามฟุตบอลแห่งชาติ และ ยอมรับผลการลงคะแนนจนกว่าจะมีอ้างอิงที่เชื่อถือได้อย่างไม่มีข้อสงสัยมารองรับว่าสนามแห่งนี้เป็นสนามกีฬาชาติหรือแค่สนามธรรมดาๆ --Sasakubo1717 (พูดคุย) 15:42, 9 มิถุนายน 2555 (ICT)
  2.   เป็นกลาง =ไม่คัดค้านการเพิ่มหมวดหมู่ คงความเห็นเดิมว่าข้อเท็จจริงมีรายละเอียดให้พิจารณาได้ทั้งสองทาง ควรเป็นกิจการภายในของโครงการวิกิฟุตบอลล/โครงการวิกิประเทศไทย --taweethaも (พูดคุย) 15:45, 9 มิถุนายน 2555 (ICT)
  3.   ไม่เห็นด้วย และ   ไม่เห็นด้วย ตามทรรศนะที่ให้ไว้ข้างต้น -- ภาพการ์ตูนมาสคอต แทนตัว Zenith Zealotry Zenith Zealotry | เซนิทสโมสร 15:51, 9 มิถุนายน 2555 (ICT)
  4.   เห็นด้วย เวลาโทรทัศน์ประกาศผมก็ได้ยินเขาใช้คำว่าสนามกีฬาแห่งชาติเกือบทุกครั้งนะ--BakaINu (พูดคุย) 18:51, 9 มิถุนายน 2555 (ICT)
  5.   เป็นกลาง --浓宝努 20:53, 9 มิถุนายน 2555 (ICT)
  6.   ไม่เห็นด้วย ด้วยข้อเท็จจริงอย่างเป็นทางการ (ของไทย) ยังไม่มีหลักฐานระบุว่าราชมังคลาฯ เป็นสนามกีฬาแห่งชาติ --Pongsak ksm (พูดคุย) 22:45, 9 มิถุนายน 2555 (ICT)
  7.   เป็นกลาง แม้ว่าสนามราชมังคลาฯ มีสิทธิ์ที่จะเป็นสนามกีฬาแห่งชาติได้ แต่เมื่ออ่านข้อมูลและความเห็นจากหลายๆท่านแล้วจึงขอเป็นกลางสำหรับเรื่องนี้ --Jungide (พูดคุย) 18:54, 10 มิถุนายน 2555 (ICT)
  8.   เห็นด้วย - หลายๆประเทศก็มีสนามกีฬาแห่งชาติหลายๆสนามนะครับ และที่หน้าสนามและในตัวสนามก็มีคำว่า National Stadium อีกด้วย... --EarTh' พูดคุย 21:18, 11 มิถุนายน 2555 (ICT)
  9.   เห็นด้วย - ดิฉันเห็นว่า กรีฑาสถานแห่งชาติ (ต้องเปลี่ยนชื่อเป็น สนามกีฬาแห่งชาติ (ประเทศไทย) หรือเปล่าคะ) เป็นสนามกีฬาแห่งชาติในบริบทของประเทศไทย (Sport complex) ส่วนราชมังคลากีฬาสถานเมื่อมองในบริบทสนามกีฬาแห่งชาติของต่างประเทศบวกกับปรากฏคำว่า National Stadium ในสนามแล้ว จึงน่าจะจัดเป็นสนามกีฬาแห่งชาติได้เช่นกันคะ--ฉัตรา (พูดคุย) 02:15, 13 มิถุนายน 2555 (ICT)
  10.   เป็นกลาง มีสิทธิ์ที่จะเป็นสนามกีฬาแห่งชาติได้ แต่ด้วยข้อเท็จจริงอย่างเป็นทางการของไทย ยังไม่มีหลักฐานระบุว่าราชมังคลาฯ เป็นสนามกีฬาแห่งชาติ (จาก คห.6) จึงขออยู่ฝ่ายเป็นกลางlux2545 [ห้องสนทนา] 19:44, 15 มิถุนายน 2555 (ICT)
  11.   เป็นกลาง --B20180 (พูดคุย) 20:00, 15 มิถุนายน 2555 (ICT)
  12.   เป็นกลาง --Panyatham 21:40, 15 มิถุนายน 2555 (ICT)
  13.   ไม่เห็นด้วย --N.M. (พูดคุย) 18:49, 17 มิถุนายน 2555 (ICT)
  14.   เห็นด้วย --☂Queenc2 (พูดคุย) 23:56, 18 มิถุนายน 2555 (ICT)
  15.   เป็นกลาง เพื่อความถูกต้องที่สุด ควรสอบถามเป็นลายลักษณ์อักษรไปยังการกีฬาแห่งประเทศไทย หรือสำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาครับ --Walker Emp (พูดคุย) 00:23, 24 มิถุนายน 2555 (ICT)
  ความเห็น จากความเห็นของคุณ Setawut (Walker Emp) ขอเพิ่มเติมว่า หากจะมีการสอบถามจริง นอกจากสองหน่วยงานข้างต้นแล้ว เพื่อความถูกถ้วนรอบด้านของข้อมูล ควรสอบถามไปยังกรมพลศึกษาด้วยครับ -- ภาพการ์ตูนมาสคอต แทนตัว Zenith Zealotry Zenith Zealotry | เซนิทสโมสร 16:44, 24 มิถุนายน 2555 (ICT)
สรุป

ตามหลักเสียงข้างมาก ให้เพิ่มหมวดหมู่ดังกล่าวได้ แต่เนื่องจากไม่ปรากฏ consensus (ไม่เป็นเอกฉันท์) หากมีหลักฐานใหม่หรือเวลาผ่านไปแล้ว 3 เดือนนับจากนี้ อาจเริ่มการอภิปราย (และลงคะแนน) เพื่อพิจารณาประเด็นนี้ใหม่อีกครั้งก็ได้ --taweethaも (พูดคุย) 06:24, 25 มิถุนายน 2555 (ICT)

กลับไปที่หน้า "ราชมังคลากีฬาสถาน"