พูดคุย:คิม จ็อง-อิล

คิม จ็อง-อิล เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิประเทศเกาหลีและสถานีย่อย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับประเทศเกาหลีเหนือและประเทศเกาหลีใต้ ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ คิม จ็อง-อิล หรือแวะไปที่หน้าโครงการหรือหน้าสถานีย่อยเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
 พอใช้  บทความนี้อยู่ที่ระดับพอใช้ ตามการจัดระดับการเขียนบทความ
คิม จ็อง-อิล เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิการเมืองและสถานีย่อย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับการเมือง ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ คิม จ็อง-อิล หรือแวะไปที่หน้าโครงการหรือหน้าสถานีย่อยเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
 พอใช้  บทความนี้อยู่ที่ระดับพอใช้ ตามการจัดระดับการเขียนบทความ
คิม จ็อง-อิล เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิประวัติศาสตร์และสถานีย่อย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับประวัติศาสตร์โลก เพื่อเป็นแนวทางสำหรับการศึกษาค้นคว้าที่น่าเชื่อถือสำหรับผู้อ่าน ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ คิม จ็อง-อิล หรือแวะไปที่หน้าโครงการหรือหน้าสถานีย่อยเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
 พอใช้  บทความนี้อยู่ที่ระดับพอใช้ ตามการจัดระดับการเขียนบทความ

อสัญกรรม แก้

"อสัญกรรม" ใช้กับต่อไปนี้เท่านั้น

  1. ประธานองคมนตรีไทย
  2. องคมนตรีไทย
  3. ประธานวุฒิสภาไทย (ซึ่งตายในขณะดำรงตำแหน่ง)
  4. ประธานสภาผู้แทนราษฎรไทย (ซึ่งตายในขณะดำรงตำแหน่ง)
  5. นายกรัฐมนตรีไทย (ซึ่งตายในขณะดำรงตำแหน่ง)
  6. รัฐมนตรีไทย (ซึ่งตายในขณะดำรงตำแหน่ง)
  7. ประธานศาลฎีกา (ซึ่งตายในขณะดำรงตำแหน่ง)
  8. รัฐบุรุษไทย
  9. ผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นปฐมจุลจอมเกล้า

ควง อภัยวงศ์ อาจตายในขณะดำรงตำแหน่งข้างบนนั้นอะไรสักอย่าง ไม่ก็ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นปฐมจุลจอมเกล้า ไม่ได้ศึกษาประวัติเขาเหมือนกัน จึงใช้ "อสัญกรรม"

แต่คิม จองอิล ไม่เข้าข่ายข้างบนนั้น ไม่แน่ว่าหนังสือพิมพ์จะใช้ถูก (เพราะตอนมนตรี ยอดปัญญา ตายในตำแหน่งประธานศาลฎีกา หนังสือพิมพ์ก็ใช้ผิดกันว่า "ถึงแก่อนิจกรรม")

จึงเห็นควรใช้ "ถึงแก่กรรม" ซึ่งเป็นคำกลาง ๆ ไม่ได้หยาบคายแต่ประการใด

--Aristitleism 19:34, 19 ธันวาคม 2554 (ICT)

ตามที่คุณให้เหตุผลมาตามบทความนั้นถูกต้องแล้วครับ ในกรณีนี้ คิมจองอิล เป็นเสมือนนายกฯของเรานั่นแหละ (เขาเสียชีวิตขณะดำรงตำแหน่ง)ทีนี้ขอแยกประเด็นนิด ว่าหากนี่คือข่าว เราใช้ ถึงแก่กรรม/เสียชีวิต/ตาย ก็ได้ หากเป็นทางการต้อง อสัญกรรม (เคยฟังคำแถลงแสดงความเสียใจของรัฐบาลกรณีผู้นำต่างประเทศเสียชีวิตใช้คำว่า อสัญกรรม) ขอบคุณที่ช่วยแก้หน้าผู้ใช้นะครับเพิ่งดูประวัติ--Sasakubo1717 20:02, 19 ธันวาคม 2554 (ICT)

  • ข่าวที่เกี่ยวข้องขอแยกระหว่างการนำเสนอข่าวและการกล่าวอย่างเป็นทางการ ในวิกิพีเดียผมขอเสนอว่าควรเป็นทางการ--Sasakubo1717 20:06, 19 ธันวาคม 2554 (ICT)
ผมบอกแล้วไงครับว่า ไม่แน่ว่าข่าวจะใช้ถูก อย่างกรณีมนตรี ยอดปัญญานั้น ก็ใช้กันไปเรื่อย นอกจากนี้ "ถึงแก่กรรม" เป็นคำราชาศัพท์ที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีกำหนดให้ใช้แก่สุภาพชนทั่วไป กรณีที่ไม่เข้าข่ายใช้ราชาศัพท์คำอื่น (เช่น ราชาศัพท์ "สิ้นพระชนม์" ใช้แก่ สังฆราช, ราชาศัพท์ "ถึงแก่อสัญกรรม" ใช้แก่ 9 คนที่ผมลิสต์ไว้ข้างต้นนั้น, ราชาศัพท์ "ถึงแก่กรรม" ใช้แก่สุภาพชนทั่วไป ฯลฯ)[1] จึงเป็นคำทางการแล้ว --Aristitleism 20:12, 19 ธันวาคม 2554 (ICT)
บทความ เหตุการณ์รถตู้สาธารณะถูกชนบนทางยกระดับอุตราภิมุข พ.ศ. 2553 ใช้ "ตาย" ธรรมดาเลย --taweethaも 20:20, 19 ธันวาคม 2554 (ICT)

ประธานาธิบดี (ซึ่งตายในขณะดำรงตำแหน่ง) มีศักดิ์เป็นผู้นำประเทศ เทียบเท่ากับนายกรัฐมนตรี ต้องใช้ "ถึงแก่อสัญกรรม" เช่นเดียวกันครับ ตำแหน่งอื่น ๆ ที่เทียบเท่ากันได้ตามข้างต้น ก็ต้องใช้คำเหมือนกัน คุณบอกว่าต้องใช้กับในรายชื่อเท่านั้น ฟังดูไม่ค่อยมีเหตุผล เพราะประเทศไทยไม่มีตำแหน่งประธานาธิบดี มันจะมีในประกาศได้อย่างไร ; ลองเทียบตัวอย่างกรณี จักรพรรดิ ฮ่องเต้ โชกุน และเชื้อพระวงศ์ ก็ต้องใช้คำราชาศัพท์ระดับกษัตริย์ เพราะมีศักดิ์เท่ากัน แม้ว่าจะไม่มีคำว่า จักรพรรดิ ฮ่องเต้ โชกุน ในหลักเกณฑ์ก็ตาม ฉันใดก็ฉันเพล --octahedron80 22:41, 19 ธันวาคม 2554 (ICT)

(ความเห็นส่วนตัว โลกจะน่าอยู่กว่านี้ถ้าไม่มีราชาศัพท์) :D --octahedron80 23:03, 19 ธันวาคม 2554 (ICT)
  • ไม่รู้ว่ารัฐบาลไทย แถลงว่าเช่นไร โดยปกติจะต้องมีสารแสดงความเสียใจ ที่เคยได้ยินใช้คำว่า อสัญกรรม--Sasakubo1717 11:02, 20 ธันวาคม 2554 (ICT)
ที่คุณ octahedron80 ว่า มีศักดิ์เป็น... เทียบเท่ากับ... ต้องใช้ "..." เป็นหลักถ้อยทีถ้อยอาศัยและให้เกียรติกันระหว่างรัฐต่อรัฐของรัฐบาลไทย เป็นวิถีทางการทูตใช้สำหรับมิตรประเทศ หรือประเทศที่กลางๆ ไม่ถึงกับเป็นศัตรูกันอย่างเป็นทางการ แต่วิกิพีเดียภาษาไทยไม่ใช่ของรัฐบาลไทย ประเด็นจึงอยู่ที่ว่าในภาษาไทยกลาง (กลางทั้งภูมิภาค และกลางทางการเมืองซึ่งไม่รู้เหมือนกันว่ามีอยู่จริงหรือไม่และอยู่ตรงไหน) ควรจะใช้ว่าอย่างไร ราชบัณฑิตฯ เป็นหน่วยงานที่ใช้อ้างอิงหลักภาษาไทยได้เป็นที่ยอมรับ แต่อาจไม่กลางเพราะรับเงินงบประมาณแผ่นดินไทย และทำเพื่อประโยชน์ของคนไทยเป็นหลัก (ซึ่งก็ดีและสมควรอยู่)
ทางออกหนึ่งที่อาจดีที่สุดในปัจจุบันคือยึดตามรัฐบาลไทยไปก่อน โดยยึดเอากระทรวงการต่างประเทศหรือสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นหลักสักกระทรวงหนึ่ง เขาใช้อย่างไรเราก็ใช้ตามนั้นไปก่อน ในอนาคตก็อาจเปลี่ยนแปลงกันตามความเหมาะสมได้ --taweethaも 11:50, 20 ธันวาคม 2554 (ICT)
  • ผมว่า บางทีมันก็เทียบได้ แต่บางทีก็เทียบไม่ได้ เช่น ตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีกำหนด พระมหากษัตริย์ไทยให้ใช้ "สวรรคต" และพระมหากษัตริย์ต่างประเทศให้ใช้ "ทิวงคต" (ซึ่งเป็นระดับเดียวกับเจ้าฟ้าแบบหนึ่งของไทย)[1] แต่ผมก็ไม่คัดค้าน ถ้าจะใช้ "อสัญกรรม" กับคิม จองอิล (เว้นแต่จะปรากฏว่าไม่ถูก) เพราะผมเองก็ไม่รู้แน่ว่า ควรใช้อะไร (และเพราะไม่รู้ว่าควรใช้อะไร ผมจึงเสนอให้ใช้ "ถึงแก่กรรม") ถ้าใครรู้แน่ว่าควรใช้อะไร ก็ตามนั้นเลยครับ
  • เรื่องสารแสดงความเสียใจ อาจไม่มีก็ได้ครับ ไม่รู้ว่าไทยสถาปนาสัมพันธไมตรีกับเกาหลีเหนือหรือเปล่า
  • ป.ล. "ฉันใดก็ฉันเพล" นี่ก็ราชาศัพท์นะเออ (55+)
--Aristitleism 11:55, 20 ธันวาคม 2554 (ICT)
  • เท่าที่ค้นหาในอินเทอร์เน็ต พบแต่คำว่า อสัญกรรม ส่วนเว็บไซต์กระทรวงต่างประเทศกลายเป็น เอ ไอ เอส ซะงั้น--Sasakubo1717 17:15, 20 ธันวาคม 2554 (ICT)
    • ดูจาก http://www.mfa.go.th/web/2386.php?id=144 ใช้ว่า ... ภายหลังจากการถึงแก่อสัญกรรมของประธานาธิบดีคิม อิล ซุง ... --taweethaも 17:32, 20 ธันวาคม 2554 (ICT)
อ้างอิง
  1. 1.0 1.1 คณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี. (2545). ราชาศัพท์. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี. ISBN 974-9545-50-8. หน้า 151-152.
กลับไปที่หน้า "คิม จ็อง-อิล"