พูดคุย:การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566

ความคิดเห็นล่าสุดเมื่อ: 10 เดือนที่ผ่านมา โดย Jeabbabe ในหัวข้อ เนื้อหาเรื่องบันทึกความเข้าใจ
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิการเมืองและสถานีย่อย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับการเมือง ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 หรือแวะไปที่หน้าโครงการหรือหน้าสถานีย่อยเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
 พอใช้  บทความนี้อยู่ที่ระดับพอใช้ ตามการจัดระดับการเขียนบทความ
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิประเทศไทยและสถานีย่อย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับประเทศไทย ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 หรือแวะไปที่หน้าโครงการหรือหน้าสถานีย่อยเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
 พอใช้  บทความนี้อยู่ที่ระดับพอใช้ ตามการจัดระดับการเขียนบทความ

การคำนวณเปอร์เซนต์ของจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร บรรยายใต้ภาพถูกคำนวณไม่ถูกต้อง แก้

เห็นได้จากการคำนวณของทั้ง 5 พรรค ถูกคำนวณ โดยอ้างจากข้อมูลเดิม จะเห็นว่า พรรคพลังประชารัฐมีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 116 ที่นั่งซึ่งน้อยกว่า พรรคเพื่อไทยที่มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอยู่ที่ 136 ที่นั่ง กลับถูกคำนวณเป็น 23.74% และ 22.16% ตามลำดับนั้นไม่ถูกต้อง โดยการคำนวณ จากสูตรอัตราร้อยละ คือ จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรค÷จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด(500)×100 จะได้ว่า พรรคพลังพลังประชารัฐ 116 = 23.20% พรรคเพื่อไทย 136 = 27.20% พรรคก้าวไกล 81 = 16.20% พรรคประชาธิปัตย์ 53 = 10.60% และพรรคภูมิใจไทย 51 = 10.20% จึงจะถูกต้อง Siriraj Suwannason (คุย) 13:56, 19 พฤศจิกายน 2565 (+07)ตอบกลับ

อันนั้นมันคือร้อยละของคะแนนเสียง (Popular vote) ไม่ใช่หรือครับ มันน่าจะไม่ใช่ร้อยละของ ส.ส. ในสภานะครับ -- ILikelargeFries (คุย) 23:49, 29 ธันวาคม 2565 (+07)ตอบกลับ

จำนวนส.ส.ล่าสุดก่อนการเลือกตั้ง แก้

ผมคิดว่าเราควรจะแก้ไขจำนวนส.ส.ที่แต่ละพรรคมีก่อนการเลือกตั้ง ให้คืนตำแหน่งส.ส.เขตที่ลาออกตั้งแต่ 24 กันยายน 2565 คืนแก่พรรคการเมืองที่เป็นเจ้าของเดิม เพราะตำแหน่งส.ส.เขตที่ลาออกตั้งแต่ 24 กันยายน 2565 จะไม่มีการเลือกตั้งซ่อมตามรัฐธรรมนูญ ทำให้ที่นั่งที่พรรคการเมืองมีอยู่เดิมต้องหายไปเพราะตัวส.ส.ที่ย้ายสังกัดพรรคตามที่ตนต้องการด้วยเงื่อนไขทางกฎหมายเกี่ยวกับการลงรับสมัครเลือกตั้ง ซึ่งผมว่าเป็นการไม่ให้ความเป็นธรรมต่อพรรคการเมืองที่ได้รับเลือกตั้งในแต่ละพื้นที่

หากท่านมีความเห็นอย่างไร ผมขอความเห็นด้วยนะครับ จะได้เป็นแนวทางเดียวกันกับทักเพจการเลือกตั้งรายจังหวัดต่อไปครับ Ooooooòojkddff (คุย) 18:01, 10 มีนาคม 2566 (+07)ตอบกลับ

ผมว่าใช้เป็นจำนวน ส.ส. ที่เป็นปัจจุบันที่สุด(ที่หาแหล่งอ้างอิงได้)ดีกว่าครับ เนื่องจาก before_seats (ที่นั่ง) เป็นพารามิเตอร์ที่มีจุดประสงค์เพื่อที่จะนำเสนอจำนวน ส.ส. ของแต่ละพรรคที่มีอยู่ก่อนเลือกตั้ง ตามปกติจะใช้เป็น จำนวน ส.ส. สุดท้ายก่อนการสิ้นสุดวาระสภา หรือยุบสภา ในกรณีที่เป็นการเลือกตั้งในอนาคตจะใช้เป็นจำนวน ส.ส. ปัจจุบัน อีกอย่างคือเรามีพารามิเตอร์ "last_election (การเลือกตั้งล่าสุด)" แสดงจำนวน ส.ส. ที่แต่ละพรรคได้รับเลือกตั้งอยู่แล้วครับ ดังนั้นเพื่อให้ตรงกับจุดประสงค์ของมันก็ควรเสนอข้อมูลจำนวน สส ที่เป็นปัจจุบันที่สุดครับ
การนำเสนอข้อมูล สส.ที่ได้รับเลือกตั้ง กับ ข้อมูล สส ปัจจุบัน เทียบกัน ค่อนข้างจะมีความแฟร์ในการนำเสนอข้อมูลและมีประโยชน์แก่ผู้เข้ามาอ่าน เพื่อให้ผู้อ่านเห็นว่ามีการเปลี่ยนแปลงของจำนวน สส. หลังจากการเลอืกเลือกตั้งไปมายังไงบ้าง หากเรามีข้อยกเว้นว่าจะเอาตัดแค่ที่เวลาเท่านั้นเท่านี้ว่า อาจทำให้มีอคติในการนำเสนอข้อมูลได้ และทำให้เสียความคงเส้นคงวาในการนำเสนอข้อมูลครับ อาจมีคำถามตามมาว่า แล้วเลือกตั้งครั้งก่อนจะตัดที่วันไหน เลือกตั้งครั้งต่อไปจะตัดที่วันไหน ซึ่งคงต้องมาอภิปรายกันอีกเยอะเลย
ตามแนวปฏิบัติแล้ว เมื่อผลการเลือกตั้งออกแล้ว จะตัด before_seats ออกแล้วโชว์แค่ last_election อยู่แล้วครับ เพราะข้อมูลค่อนข้างมีความสำคัญน้อยกว่า(ในกรณีบทความเกี่ยวกับการเลือกตั้ง) และเพื่อไม่ให้กล่องข้อมูลยาวจนเกินไป NELL KKC (คุย) 14:40, 16 มีนาคม 2566 (+07)ตอบกลับ

แคนดิเดตนายก แก้

สำหรับพรรคที่มีจำนวนแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีมากกว่า 1 คน ในกล่องข้อมูลด้านขวาควรจะแสดงรายชื่อกี่คนดีครับ?

ส่วนตัวมีความเห็นว่า หากพรรคที่เสนอแคนดิเดตหลายคน แต่มีเพียงหนึ่งคนที่มีความโดดเด่นมากที่สุด โดยมีแหล่งอ้างอิงชัดเจนหรือชัดเจนในทางปฏิบัติก็ดี ก็เห็นควรว่าให้ระบุไว้แค่ชื่อบุคคลเดียว ดังเช่นพรรคเพื่อไทยการเลือกตั้งทั่วไปในประเทศไทย พ.ศ. 2562 ที่มี สุดารัตน์ โดดเด่นที่สุดเพียงบุคคลเดียว

แต่ในกรณีที่มีมากกว่าหนึ่งคนที่ยังมีความคลุมเครือในความโดดเด่น ตัวอย่างเช่น แพทองธาร และ เศรษฐา จากพรรคเพื่อไทย และยังไม่มีการประกาศชัดเจนว่าบุคคลไหนจะได้รับการเสนอชื่อ-บุคคลไหนเป็นชื่อสำรอง ในทางปฏิบัติก็มีการให้ความสำคัญพอ ๆ กัน ผมว่าก็ควรระบุไว้คู่กัน 2 คน จนกว่าจะมีแหล่งอ้างอิงชัดเจนว่าพรรคจะเสนอใครเป็นนายก (เช่น ประกาศจากพรรค)

การระบุแคนดิเดตในลักษณะ co-leaders ก็สามารถพบเห็นได้ในบทความการเลือกตั้งของหลายประเทศครับ เช่น https://en.wikipedia.org/wiki/2021_German_federal_election, https://en.wikipedia.org/wiki/2020_New_Zealand_general_election, https://en.wikipedia.org/wiki/2022_Swedish_general_election

อย่างไรก็ตาม ออกตัวไว้ก่อนว่าอาจจะมี Perception bias จึงต้องขอความเห็นจากหลาย ๆ คนครับ —NELL KKC (คุย) 23:43, 28 มีนาคม 2566 (+07)ตอบกลับ

การอภิปรายที่วิกิพีเดียภาษาอังกฤษไว้ให้พิจารณาครับ en:Talk:2023_Thai_general_election#PM_candidates --Thas (คุย) 21:21, 26 เมษายน 2566 (+07)ตอบกลับ
จากที่อ่านมา "การใช้เหตุผลว่าการเลือกตั้งครั้งที่แล้วใส่แค่ชื่อแคนดิเดตคนเดียว ครั้งนี้ก็ไม่จำเป็นต้องใส่ชื่อหลายคน" ฟังไม่ค่อยขึ้นเท่าไหร่ ผมเห็นว่าเราควรจะมีหลักการที่ยึดถือร่วมกัน ยิ่งช่วงใกล้เลือกตั้ง จะเห็นว่า เศรษฐา เริ่มมีบทบาทมากขึ้น มีพื้นที่ในสื่อมากขึ้น นักวิเคราะห์หลายคนประเมินว่าจะเป็นแคนดิเดตตัวจริง แต่อย่างไรเสีย แพทองธาร ก็ยังคงมีบทบาทอย่างมีนัยยะสำหรับพรรคเพื่อไทย ในกรณีที่ข้อมูลยังไม่นิ่งและยังคลุมเครือเช่นนี้ ผมเห็นว่าเราควรจะระบุไว้ทั้งสองคนดีกว่า อย่างน้อยก็เป็นการนำเสนอข้อมูลให้ผู้อ่านอย่างครบถ้วนเพื่อไม่ให้ผู้อ่านเข้าใจผิด และไม่ฟันธงไปก่อนจนกว่าจะมีแหล่งอ้างอิงที่ชัดเจน NELL KKC (คุย) 10:08, 27 เมษายน 2566 (+07)ตอบกลับ

เนื้อหาเรื่องบันทึกความเข้าใจ แก้

ควรจะใส่เนื้อหาในบันทึกความเข้าใจจัดตั้งรัฐบาลของ 8 พรรคร่วม ลงในบทความนี้หรือไม่ เพราะอะไรครับ Jeabbabe (คุย) 18:07, 22 พฤษภาคม 2566 (+07)ตอบกลับ

กลับไปที่หน้า "การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566"