พุทธรักษาญี่ปุ่น
พุทธรักษาญี่ปุ่น, ธรรมรักษา หรือ พุทธรักษาเยอรมัน มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Heliconia psittacorum[2] เป็นพืชหลายปี (perennial plant) ชนิดหนึ่งที่มีถิ่นกำเนิดในภูมิภาคอเมริกาใต้และแคริบเบียน โดยถือเป็นพืชประจำถิ่นในปานามา, โคลอมเบีย, เวเนซุเอลา, ตรินิแดดและโตเบโก, กายอานา, ซูรินาม, เฟรนช์เกียนา, บราซิล, โบลิเวีย และปารากวัย และมีรายงานว่าสามารถขยายพันธุ์ได้เองในธรรมชาติในเลสเซอร์แอนทิลลีส, ปวยร์โตรีโก, ฮิสปันโยลา, จาเมกา, แกมเบีย และไทย[3] พุทธรักษาญี่ปุ่นมักได้รับการปลูกเป็นไม้ประดับเขตร้อนในภูมิภาคต่าง ๆ ของโลกนอกเหนือจากถิ่นกำเนิดของมัน[4][5][6][7][8]
พุทธรักษาญี่ปุ่น | |
---|---|
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
โดเมน: | ยูแคริโอต Eukaryota |
อาณาจักร: | พืช Plantae |
เคลด: | พืชมีท่อลำเลียง Tracheophytes |
เคลด: | พืชดอก Angiosperms |
เคลด: | พืชใบเลี้ยงเดี่ยว Monocots |
เคลด: | Commelinids Commelinids |
อันดับ: | ขิง Zingiberales |
วงศ์: | Heliconiaceae Heliconiaceae |
สกุล: | เฮลิโคเนีย Heliconia L.f. |
สปีชีส์: | Heliconia psittacorum |
ชื่อทวินาม | |
Heliconia psittacorum L.f. | |
ชื่อพ้อง[1] | |
|
ประโยชน์
แก้พุทธรักษาญี่ปุ่นใช้ปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับสวยงามและเป็นสิริมงคล เพราะชื่อของต้นไม้ชนิดนี้ที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "ธรรมรักษา" นั้น มีความหมายไปในทางที่ดี นั่นคือ ธรรมรักษาหรือธรรมะนั้น คือการรักษาในสิ่งที่ดีงาม หรือ ผู้ที่มีคุณธรรมซึ่งควรแก่การเคารพบูชา ดังนั้นจึงหมายถึง การช่วยคุ้มครองรักษาให้แคล้วคลาด จากภัยอันตรายทั้งปวง และคนในบ้านก็จะมีคุณธรรมอันดีงามเสมอไป ดอกของต้นไม้ชนิดนี้ ชาวไทยนิยมนำมาใช้บูชาพระ เพราะเชื่อว่า เป็นดอกไม้ที่เหมาะสำหรับบูชาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ที่ชาวพุทธทั้งหลายนิยมบูชา คนโบราณเชื่อกันว่า หากครอบครัวใด ที่ปลูกต้นธรรมรักษาเอาไว้ในบริเวณบ้าน สมาชิกทุกคนภายในบ้าน ก็จะได้รับการปกป้องคุ้มครองแคล้วคลาดจากอันตราย คนในครอบครัวจึงมีแต่ความสงบสุข
เกร็ด
แก้- ดอกไม้ประจำจังหวัดลำปาง
- ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
อ้างอิง
แก้- ↑ The Plant List Heliconia psittacorum
- ↑ ราชันย์ ภู่มา และสมราน สุดดี, บรรณาธิการ. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย เต็ม สมิตินันทน์ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2557. กรุงเทพฯ : สำนักงานหอพรรณไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, 2557, หน้า 290.
- ↑ Kew World Checklist of Selected Plant Families, Heliconia psittacorum[ลิงก์เสีย]
- ↑ PLANTS Profile for Heliconia psittacorum (Parakeetflower) USDA Plants
- ↑ "Heliconia psittacorum information from NPGS/GRIN". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-05-14. สืบค้นเมื่อ 2015-11-27.
- ↑ Linnaeus, Carl von f. 1782. Supplementum Plantarum 158. Heliconia psittacorum
- ↑ Aublet, Jean Baptiste Christophe Fusée. 1775. Histoire des Plantes de la Guiane Françoise 931, Musa humilis
- ↑ Aristeguieta, Leandro. 1961. El Género Heliconia en Venezuela no. 16a, Heliconia psittacorum var. rhizomatosa
- ธรรมรักษา : ดอกไม้ประจำจังหวัดลำปาง เก็บถาวร 2004-12-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน