ดิ อินโนเซ้นท์

วงดนตรีสัญชาติไทย
(เปลี่ยนทางจาก พีรสันติ จวบสมัย)

ดิ อินโนเซ้นท์ (อังกฤษ: The Innocent) เป็นวงดนตรีไทยที่มีชื่อเสียงในยุค 80s มีผลงานในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2523–2532 ในสังกัดนิธิทัศน์ โปรโมชั่น วงเริ่มก่อตั้งจากเด็กนักเรียนโรงเรียนดรุณา จังหวัดราชบุรี มีสมาชิกแรกเริ่ม 3 คน เริ่มจากการเป็นเพียงวงดนตรีป๊อปโฟล์คซอง และเปลี่ยนสภาพเป็นสตริงคอมโบในเวลาต่อมา สมาชิกที่เป็นผู้ก่อตั้ง และมีสถานภาพเป็นหัวหน้าวงมาตลอด คือ พีรสันติ จวบสมัย เป็นผู้สร้างประสบการณ์อันยาวนานในเส้นทางดนตรีให้กับวง ดิ อินโนเซ้นท์ มามากที่สุด

ดิ อินโนเซ้นท์
ที่เกิดไทย ราชบุรี ประเทศไทย
แนวเพลง
ช่วงปี
  • พ.ศ. 2522–2532
  • พ.ศ. 2552
  • พ.ศ. 2566
ค่ายเพลง
สมาชิก
อดีตสมาชิก
  • สิทธิศักดิ์ กิจเต่ง
  • ปฏิภาณ สุขสุทธิ
  • เกรียงศักดิ์ จงธีระธรรม
  • ไชยรัตน์ ปฏิมาปกรณ์
  • เกียรติศักดิ์ ยันตะระประกรณ์

สมาชิก

แก้

ดิ อินโนเซ้นท์ มีสมาชิกหมุนเวียนเข้าออกในแต่ละชุด โดยมีสมาชิกหลักดังนี้

  • ชาตรี คงสุวรรณ (เกิด - 17 มี.ค.2505)
    • Lead Guitar/Lead Vocal
  • พีรสันติ จวบสมัย (เกิด - 12 ธ.ค.2505)
    • Keyboards/Vocal
  • สายชล ระดมกิจ (เกิด - 20 ธ.ค.2507)
    • Rhythm Guitar/Lead Vocal
  • เสนีย์ ฉัตรวิชัย (เกิด - 12 ต.ค.2509)
    • Bass Guitar/Vocal

ประวัติ

แก้

การเริ่มต้นของ ดิ อินโนเซ้นท์

แก้

วงดิ อินโนเซ้นท์เริ่มเกิดขึ้นครั้งแรก เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2522 จากการประกวดโฟล์คซองนักเรียนในโรงเรียนดรุณาราชบุรี จังหวัดราชบุรี ในวันคริสต์มาส[ต้องการอ้างอิง] ขณะนั้นมีสมาชิก 3 คนได้แก่ พีรสันติ จวบสมัย เป็นหัวหน้าวง, สายชล ระดมกิจ และสิทธิศักดิ์ กิจเต่ง จากวงโฟล์คซองที่เข้าประกวดทั้งหมด 10 วง ดิ อินโนเซ้นท์ ได้รับรางวัลชนะเลิศจากเพลงที่เข้าประกวด คือ "บอร์นทูเลิฟยู" (อังกฤษ: Born To Love You) และเพลง "สัมพันธ์ไทย" ของอีสซึ่น[1]

ต่อมาในช่วงปีใหม่ พ.ศ. 2523 มีโครงการของจังหวัดต่างๆ ที่จะส่งเสริมดนตรีของเยาวชน จึงได้จัดประกวดโฟล์คซองเยาวชนของเทศบาลจังหวัดราชบุรี วงดิ อินโนเซ้นท์เข้าประกวดอีกครั้งในวันที่ 29 มีนาคม ปีเดียวกัน พร้อมกับอีก 6 วง และ ดิ อินโนเซ้นท์ ได้รับรางวัลชนะเลิศอีกครั้ง[ต้องการอ้างอิง]

ขณะนั้นพีรสันติ กำลังศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ขณะที่สายชลและสิทธิศักดิ์อยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่โรงเรียนดรุณาราชบุรี ซึ่งเป็นโรงเรียนคริสตัง ขณะนั้นทางโรงเรียนมีความคิดที่จะทำเทปเกี่ยวกับศาสนาซึ่งยังไม่มีใครทำมาก่อน จึงให้วงดิ อินโนเซ้นท์ ทำผลงานเพลงแบบโฟล์คซองเกี่ยวกับศาสนาทั้งชุด โดยใช้ชื่อชุดว่า เพลงเพื่อพระองค์ แต่ด้วยการขาดประสบการณ์ในการทำงานบันทึกเสียง ผลงานตอนนั้นจึงไม่พิถีพิถันตามมาตรฐานของการบันทึกเสียงนัก[ต้องการอ้างอิง] ผู้ขับร้องเพลงในอัลบั้มนั้นคือสิทธิศักดิ์ โดยมีบราเดอร์เสนอเป็นผู้ทำธุระเกี่ยวกับการนำเทปไปดราฟท์ที่ร้านคราวน์ (CROWN) ข้างสหกรณ์ราชดำริ สุรินทร์ ซึ่งเป็นเพื่อนกับเจ้าของร้าน ได้มาฟังก็ติดใจในผลงานของดิ อินโนเซ้นท์และเสียงของสิทธิศักดิ์ จึงได้ติดต่อกับบราเดอร์เสนอ[ต้องการอ้างอิง]

อัลบั้ม รักไม่รู้ดับ -รถเมล์ + บางปะกง-ปลาตะเพียน (พ.ศ. 2523 - 2524)

แก้

อีก 1 เดือนต่อมา สุรินทร์ก็ไปติดต่อกับบาทหลวงสุรพล ซึ่งเป็นอธิการโรงเรียน เพื่อที่จะขอให้วง ดิ อินโนเซ้นท์ มาอัดแผ่นเสียง ซึ่งท่านก็ยินยอม เมื่อตกลงกันเรียบร้อยแล้ว สุรินทร์ก็ไปติดต่อหาเพลง ก็ได้เพลง "รักไม่รู้ดับ" และเพลง "ใครหนอ" ของสุรพล โทณะวณิก และเพลง "รถม้าลำปาง" ของสนิท ส.มาด้วย เนื่องจากสุรินทร์ต้องการนำเพลงเก่ามาเรียบเรียงใหม่เพราะเพลงเก่าเชียร์ง่ายและยังไม่มีวงดนตรีวงไหนนำเพลงเก่ามาทำใหม่ด้วย ส่วนเพลงที่เหลือก็เป็นเพลงใหม่ที่แต่งขึ้นเองโดยพีรสันติและประสิทธิ์ ชำนาญไพร ชุดนั้นใช้ชื่อว่า "รักไม่รู้ดับ" ซึ่งวางแผงประมาณเดือนกันยายน พ.ศ. 2523 แต่เพราะความที่สมาชิกของวงทั้งหมดยังเป็นนักเรียนอยู่ การจะออกทีวีแสดงผลงานจึงเป็นไปไม่ได้ เทปชุดแรกของวงจึงยังไม่เป็นที่รู้จักมากนัก

หลังจากนั้น ในเดือนมีนาคม ซึ่งเป็นช่วงปิดเทอมใหญ่ สุรินทร์ก็ให้ทำเทปชุดที่ 2 ขึ้นมาอีก ชุดนี้ได้เพลง "บางปะกง" ของนคร มังคลายน และเพลงที่แต่งใหม่อีกหลายเพลง เทปชุดนี้ใช้ชื่อว่า "บางปะกง" วางตลาดเมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2524 แต่ปรากฏว่าไม่เป็นที่นิยมมากเท่าที่ควร

ขณะนั้นทั้ง 3 คนกำลังเรียนชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช) ที่โรงเรียนดรุณาราชบุรีพณิชยการ สิทธิศักดิ์และสายชลเรียนเป็นปีแรก แต่พีรสันติเรียนเป็นปีที่ 3 ซึ่งถือว่าเป็นปีสุดท้ายของเขาที่จะเรียนที่โรงเรียนดรุณาราชบุรีพาณิชยการ และจะต้องไปเรียนต่อในโรงเรียนของผู้ที่ศรัทธาศาสนาคริสต์ต่อไป จึงมีความเห็นว่าน่าจะทำเทปสักชุดเพื่อเป็นการอำลาก่อนยุบวง

สุรินทร์ซึ่งเป็นผู้ทำงานเกี่ยวข้องกับธุรกิจด้านดนตรี จึงได้รับคำแนะนำจากนักร้องผู้หนึ่งถึงเพลง สอบตก ของปฏิภาณ สุขสุทธิ สุรินทร์จึงไปติดต่อขอซื้อลิขสิทธิ์มา จากนั้นก็เริ่มวางโครงการกันว่า เพลงในชุดนี้ควรเป็นเพลงเกี่ยวกับนักเรียน จึงได้เพลง "ขวัญใจนักเรียน" ของครูพยงค์ มุกดา เพลง คืนสู่เหย้า กับเพลง ศิษย์เก่ารำลึก ซึ่งแต่งโดยพีรสันติ มาทำด้วย เพลงในชุดนี้จึงเป็นเพลงที่ไม่ค่อยมีเรื่องรัก ๆ ใคร่ ๆ เพราะทางสถาบันไม่ต้องการให้ทางวงเล่นเพลงประเภทนี้ และอยากให้เป็นเอกลักษณ์ของวงด้วย

ในช่วงนี้เองที่วงมีสมาชิกใหม่ซึ่งเป็นเพื่อนนักเรียนโรงเรียนเดียวกัน คือ เกรียงศักดิ์ จงธีระธรรม รับตำแหน่งมือกลอง

เทปชุดนี้ทำในเวลาอันสั้น เพราะเริ่มต้นเดือนกุมภาพันธ์ และต้องทำให้เสร็จทันเดือนมีนาคม ซึ่งเป็นช่วงปิดเทอม ซึ่งก็เสร็จทันตามที่วางแผนไว้ แต่ด้วยความแปลกใหม่ของเพลง "สอบตก" และเป็นเพลงฮิตในเวลาอันรวดเร็ว จึงทำให้อัลบั้มขวัญใจนักเรียนได้รับความนิยมจากแฟนเพลงอย่างมากมาย

และอีกเพลงที่นำความปลื้มปิติให้กับวงก็คือเพลง "เสียงจากแม่กลอง" ซึ่งแต่งโดยพีรสันติ ได้รับรางวัลจากชมรมสภาวะแวดล้อมสยาม และโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ ในฐานะที่มีความสนใจในการรณรงค์เพื่อรักษาสภาวะแวดล้อมที่ดี

เปลี่ยนรูปแบบดนตรี เปลี่ยนสมาชิกวง - อยู่หอ - เพียงกระซิบ (พ.ศ. 2524 - 2526)

แก้

หลังจากนั้นสิทธิศักดิ์ไม่สามารถที่จะลาออกมาศึกษาต่อที่กรุงเทพฯเหมือนสมาชิกคนอื่น ๆ ได้ ทำให้วง ดิ อินโนเซ้นท์ ต้องรับสมาชิกใหม่เข้ามาในตำแหน่งเบส ซึ่งก็ได้พบกับเสนีย์ ฉัตรวิชัย ซึ่งขณะนั้นเล่นอีเลคโทนและร้องนำอยู่ที่ นานาคาเฟ ซอยนานา จึงติดต่อให้มาร่วมวงด้วยในตำแหน่งเบส

สมาชิก 5 คนของวงดิ อินโนเซ้นท์ ในยุคนี้จึงประกอบด้วย

แต่ก็ยังไม่เป็นที่พอใจของวง เพราะดนตรีโฟลค์ซอง-สตริงแบบเดิมกลายเป็นของเก่าและเริ่มเชย ดนตรีป็อปร็อกต่างหากที่น่าสนใจ และได้รับความนิยมของวัยรุ่นทั่วโลกรวมถึงวัยรุ่นไทยด้วย เพราะมี คีย์บอร์ด/ซินธีไซเซอร์/กลองไฟฟ้า และมีกีต้าร์อีก 2 ตัว เป็นอย่างน้อย ทางวงจึงคิดปรับเปลี่ยนรูปแบบการเล่นไปในทางแนวนั้น

 
ชาตรี คงสุวรรณ

พีรสันตินึกถึงถึงเพื่อนรุ่นพี่คนหนึ่ง ซึ่งมีฝีมือในทางกีต้าร์มาก เคยเป็นนักดนตรีของโรงเรียนด้วย จึงไปชักชวนให้มาร่วมงานกันกับวง ดิ อินโนเซ้นท์ นั่นก็คือ โอม - ชาตรี คงสุวรรณ ซึ่งขณะนั้นเป็นสมาชิกวง โฟร์ ซิงเกิล (Four Singles) ซึ่งเป็นวงประจำจังหวัดราชบุรีอยู่ และเคยออกแผ่นกับวง "โรแมนติก" ด้วย โอมจึงตกลงร่วมงานกัน

หลังจากที่ได้สมาชิกใหม่เข้ามาครบแล้ว ก็เริ่มทำเทปชุดใหม่ขึ้นอีกชุดหนึ่ง ใช้ชื่อชุดว่า "อยู่หอ" ชุดนี้ประสบความสำเร็จอย่างงดงาม ทำให้วง ดิ อินโนเซ้นท์ เป็นที่รู้จักของแฟนเพลงมากขึ้น ด้วยดนตรีป็อปร็อกสมัยนิยม เพราะโอมมีส่วนอย่างมากในการทำดนตรีในชุดนี้ และแฟนเพลงได้เริ่มเห็นพัฒนาการฝีมือของสมาชิกวงในการเล่นดนตรีที่เริ่มหนักแน่นและซับซ้อนขึ้น

ต่อมาไม่นาน ปฏิภาณ ได้ลาออกจากวงไป ทำให้สมาชิกวงเหลืออยู่ 5 คน และมีมือกีต้าร์คนเดียวคือโอม จนกระทั่งต้นปี พ.ศ. 2526 ดิ อินโนเซ้นท์ก็เริ่มทำเทปชุดใหม่ขึ้นอีกชุดหนึ่ง ใช้ชื่อชุดว่า "เพียงกระซิบ" ชุดนี้ใช้เวลาทั้งหมด 4 เดือนเต็ม ออกวางตลาดเมื่อวันที่ 29 เมษายน ปีเดียวกัน ปรากฏว่าได้รับการตอบรับจากแฟนเพลงอย่างท่วมท้น เพราะการทำงานกันอย่างละเอียดพิถีพิถัน และพัฒนารูปแบบดนตรี รวมไปถึงลีลาการร้องให้เข้มข้นอีกมากจนเห็นได้ชัด หลังจากการทัวร์คอนเสิร์ตผลงานชุดนี้ เกรียงศักดิ์ได้ลาออกจากวงไปเพื่อเข้าร่วมเป็นมือกลองให้กับวงอินทนิล แทนที่ทวี ศรีประดิษฐ์ ที่ลาออกจากวงและไปทำในส่วนเบื้องหลังการทำเพลงให้วงของตัวเองแทน และสมาชิกบางส่วนของอินทนิลก็กลายเป็นวงเรนโบว์ในเวลาต่อมา

ก้าวสู่ความนิยมของแฟนเพลง -การยอมรับจากนักวิจารณ์เพลง (พ.ศ. 2526 - 2528)

แก้

ปี พ.ศ. 2526 - 2528 น่าจะเป็นช่วงยุคทองของวง ที่มีการทำเพลงให้ห้องอัดเสียงอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง ภายหลังจากมีสมาชิกใหม่พร้อมหน้ากันคือ ไชยรัตน์ ปฏิมาปกรณ์ - คีย์บอร์ด เพราะทางวงต้องการมือคีย์บอร์ดอีกคนด้วย และ เกียรติศักดิ์ ยันตะระประกรณ์ - กลอง เข้ามาเป็นสมาชิกวงแทนตำแหน่งที่เกรียงศักดิ์ เพราะทางวงเห็นฝีมือในการเล่นกลองไฟฟ้า เพอร์คัสชั่น และที่สำคัญคือการเล่นดนตรีในห้องบันทึกเสียงได้อย่างดีเยี่ยม

อัลบั้มในลำดับถัดมา คือ อัลบั้ม "รักคืออะไร" (พ.ศ. 2527) และตามมาด้วยอัลบั้ม "โลกใบเก่า" (พ.ศ. 2528) ทั้งสองอัลบั้ม มีเพลงฮิตติดหูคนฟัง อย่างเช่น รักคืออะไร, สักวัน, ทางหนึ่งซึ่งหวัง, เพียงครึ่งใจ, หนุ่มค้างปี ฯลฯ ซึ่งในเวลานั้นถือเป็นยุคทองของวงที่มีเพลงติดตลาดอย่างต่อเนื่อง ในช่วงเวลาเดียวกันนี้เองที่นักวิจารณ์เพลงในเมืองไทยเริ่มมองทางวงในแง่ให้การยอมรับในฝีมือชั้นเชิงทางดนตรีและเนื้อหาอย่างดีมากขึ้น และยกย่อง ดิ อินโนเซ้นท์ ในการทำดนตรีที่มีพัฒนาการมากกว่าวงสตริงหรือวงเด็กวัยรุ่นในยุคเดียวกัน โดยเฉพาะการทำเพลง การเล่นดนตรี การแสดง และการบันทึกเสียงซึ่งพวกเขาทำเองทั้งหมด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อัลบั้ม "โลกใบเก่า" ซึ่งเคยได้รับการวิจารณ์ที่ดีจาก ขุนทอง อสุนี ณ อยุธยา คอลัมน์นิสต์ประจำนิตยสาร "Quiet Storm" นิตยสารทางดนตรีชื่อดังในยุคนั้น

ครั้งนี้...ของพี่กับน้อง (พ.ศ. 2529)

แก้

หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2529 เกียรติศักดิ์และไชยรัตน์ได้ลาออกไป ทำให้เหลือสมาชิกหลักเพียง 4 คนเท่านั้นการทำงานในห้องอัดเสียงของวงจึงปรับเปลี่ยนไปจากการใช้เสียงกลองไฟฟ้าอัดจริง มาเป็นเสียงจาก Drum Machine แทน โดยไม่รับสมาชิกใหม่เพิ่มเติม เมื่อเวลาแสดงสด จึงใช้มือกลองอาชีพคือ ศิริศักดิ์ นันทเสน หรือ ติ๊ก ชิโร่ เข้ามาร่วมงานเฉพาะกิจพร้อมกับ โชคชัย พักภู่ น้องชายของ เต๊ะ-โชคดี พักภู่และป้อม-อภิไชย เย็นพูนสุข พี่ชายของปุ้ม-อรวรรณ เย็นพูนสุข หรือ ปุ้ม สาวสาวสาว ในตำแหน่งคีย์บอร์ดรับเชิญ

และในปีนั้น วงดิอินโนเซ้นท์ ก็ได้ออกงานอัลบั้มใหม่ ชื่อ "ครั้งนี้ของพี่กับน้อง" มีเพลงฮิตติดหูมาจนถึงปัจจุบันหลายเพลง ซึ่งถือว่าประสบความสำเร็จค่อนข้างดี เช่นเพลง ฝันและใฝ่, ฝากรัก, ดาราทีวี และ มือที่สาม โดยเฉพาะเพลงมือที่สาม เป็นที่ฮือฮากันมากในหมู่คนรักดนตรี เนื่องจากเป็นเพลงที่เน้นเนื้อหาดนตรี การแจมดนตรีกันของสมาชิกในวง การ improvise ด้นเนื้อสดขณะการบันทึกเสียง ซึ่งค่อนข้างแตกต่างไปจากสไตล์เพลงของวงที่ผ่านมา

ในชุดนี่เองที่วงได้เชิญ อุ้ย - วรสิทธิ์ ชีพสาธิต เข้ามาเป็นนักร้องรับเชิญและร้องเสียงคอรัสในหลาย ๆ เพลง โดยเฉพาะเพลง ฝากรัก ซึ่งขับร้องโดยวรสิทธิ์ได้รับความนิยมอย่างมาก จึงทำให้เพลงนี้กลายเป็นเพลงประจำตัวของวรสิทธิ์ไปในเวลาต่อมา นอกเหนือจากนั้น การเติบโตทางฝีมือของสมาชิกแต่ละคนก็มีมากขึ้นตามเวลา ทำให้หลายคนเริ่มได้รับเชิญไปร่วมงานดนตรีกับงานอื่น ๆ มากขึ้น

ภายหลังจากช่วงโปรโมทอัลบั้ม "ครั้งนี้ของพี่กับน้อง" เสร็จสิ้นลงในปลายปีนั้น วง ดิ อินโนเซ้นท์ ก็เงียบหายไป เพราะทุกคนต่างมีภารกิจมากมายจนไม่มีเวลาทำเพลงของตนเอง แต่พวกเขาก็ยังคงติดต่อและคิดทำเพลงที่มีแบบฉบับของ ดิ อินโนเซ้นท์ อีกครั้ง

10 นาฬิกา (พ.ศ. 2532)

แก้

ตลอดระยะเวลา 2 ปีที่พวกเขาหายไป สมาชิกวง ดิ อินโนเซ้นท์ ทุกคนต่างสั่งสมประสบการณ์ดนตรีมากขึ้นเช่นการไปร่วมงานกับ เรวัต พุทธินันทน์ และ ดนุพล แก้วกาญจน์ รวมไปถึงการไปทำเพลงที่บริษัทแกรมมี่ เอนเตอร์เทนเมนท์ ของชาตรี การเรียบเรียงดนตรีและเล่นดนตรีในห้องบันทึกเสียงของพีรสันติ เสนีย์ไปเล่นดนตรีแบ็คอัพให้กับศิลปินต่าง ๆ เช่น เฉลียง เป็นต้น

ต้นปี พ.ศ. 2532 อัลบั้ม "10 นาฬิกา" อัลบั้มชุดใหม่ในรอบ 3 ปีของทางวงจึงวางแผง พร้อมการมาถึงรูปแบบดนตรีใหม่ ๆ ของทางวงที่ปรับเปลี่ยนไปตามสมัยนิยมมากขึ้นในยุคนั้น โดยเฉพาะดนตรีในแนวป็อปร็อกที่แฟนเพลงชื่นชอบและไม่ได้ยินมานานจากทางวง เพลงจากชุดนั้นเช่น เสียเวลาเปล่า, เห็นใจกันหน่อย, เพราะเธอหรือเปล่า ต่างได้รับความนิยมแทบทั้งสิ้น

วง ดิ อินโนเซ้นท์ ในชุดนี้ มีสมาชิก 4 คนเช่นเดิม โดยมี โรเบิร์ต ดิล่า เป็นสมาชิกสมทบที่รับเชิญมาเล่นกลองในช่วงทัวร์คอนเสิร์ต

อัลบั้ม 10 นาฬิกา ได้รับการตอบรับอย่างดีมากในแง่ของผลงานดนตรีที่มีภาพ นักวิจารณ์เพลงตามนิตยสารเพลงต่างๆ ต่างยกย่องว่า อัลบั้มชุดนี้ทำให้เปลี่ยนภาพลักษณ์ของวงดนตรีนักเรียนขวัญใจวัยรุ่น มาเป็นวงดนตรีร็อกที่เน้นเนื้อหาทางดนตรีอย่างเต็มตัว

ยุติวง-ผลงานของสมาชิกหลังจากนั้น

แก้

ดิ อินโนเซ้นท์ มีการออกทัวร์คอนเสิร์ตหลายที่มากกว่าชุดใด ๆ ที่ทำมาของทางวง เพราะผลจากความนิยมของอัลบั้ม 10 นาฬิกา จนเมื่อผ่านช่วงเวลานั้นไป สมาชิกหลักของวงแต่ละคน ก็เริ่มกลับมาทำงานที่ตนเองมีภาระอยู่

โอม - ชาตรี คงสุวรรณ ทำงานห้องอัดเสียง บันทึกเสียงและควบคุมการผลิตเพลงให้กับศิลปินในสังกัดแกรมมี่ มากมาย ทั้งยังดำรงตำแหน่งผู้บริหารค่ายเพลง "อาร์พีจี" ในเครือแกรมมี่ ก่อนที่ต่อมาจะลาออกหันมาทำค่ายเพลงและโปรดักชั่นเฮ้าส์เอง ในชื่อว่า "คราฟแมน เรคคอร์ด" และ "มิสเตอร์ มิวสิก" โดยยังคงรับหน้าที่แต่งเพลงให้นักดนตรีในห้องอัดเสียง, โปรดิวเซอร์, Music Director ให้กับ รายการเรียลลิตีโชว์ชื่อ ทรู อะคาเดมี่ แฟนเทเชีย และเมื่อปลายปี พ.ศ. 2550 โอมก็ได้ออกอัลบั้มเดี่ยวชุดแรกในชีวิต ชื่ออัลบั้มว่า "Into The Light" ซึ่งได้รับรางวัลอัลบั้มยอดเยี่ยมจาก สีสันอะวอร์ด ในปี 2552

พีรสันติ จวบสมัย เป็นนักแต่งเพลงอยู่เบื้องหลังงานของศิลปินต่าง ๆ รวมไปถึงการทำเพลงโฆษณาและเพลงประกอบภาพยนตร์ และออกอัลบั้ม Togetther ในฐานะโปรดิวเซอร์และเพลงคนแต่งเพลงทั้งอัลบั้ม โดยมีนักร้องรับเชิญมากมาย เช่น ปั่น - ไพบูลย์เกียรติ เขียวแก้ว (รักเธอทุกวัน), โรสแมรี่ คาฮันดิง (ใจเป็นของเธอ), ฟอร์ด - สบชัย ไกรยูรเสน (ลืม), วงพองพอง(รูปเก่าๆ) และได้ สายชล ระดมกิจ มาขับร้องในเพลง ดึกก็กลับ

สายชล ระดมกิจ หันมาเป็นศิลปินเดี่ยว ได้กลับมาทำอัลบั้มเดี่ยวในสังกัดเบเกอรี่มิวสิค โดยนำผลงานเพลงเก่าของวง ดิ อินโนเซ้นท์ มาทำใหม่ โปรดิวซ์โดย บอย โกสิยพงษ์ ในอัลบั้มชุด "A Touch of the Innocent" (พ.ศ. 2539) และต่อมาได้ออกอัลบั้มเดี่ยวอีกหนึ่งชุด แต่เป็นการนำเพลงเก่าในสังกัดเบเกอรี่มิวสิคมาทำใหม่ โดยได้ พีรสันติ จวบสมัย มาเป็นโปรดิวเซอร์ให้ ในอัลบั้มชุด "Portrait of the Innocent" (พ.ศ. 2541) จากการชักชวนของบอย โกสิยพงษ์ เพราะบอยชื่นชอบและเป็นแฟนเพลงของ ดิ อินโนเซ้นท์ มาตั้งแต่เด็ก ๆ นั่นเอง ต่อมาสายชล ก็ทำหน้าที่ดูแลศิลปินให้กับค่ายเบเกอรี่มิวสิคด้วย ซึ่งปัจจุบันกลายมาเป็นค่ายเพลงเลิฟอีส (LOVEiS)

เสนีย์ ฉัตรวิชัย หันไปทำธุรกิจส่วนตัว และยังคงเล่นดนตรีร้องเพลงบ้างตามโอกาสสมควร

สิทธิศักดิ์ กิจเต่ง ภายหลังจบการศึกษาในจังหวัดราชบุรีแล้ว จึงเดินทางเข้ามากรุงเทพฯ และฟอร์มวงดนตรีใหม่ชื่อว่า "ซัคเซส" โดยออกผลงานชุดแรกและชุดเดียวชื่อเดียวกันกับชื่อวง ภายใต้สังกัดนิธิทัศน์ โปรโมชั่น มีเพลงฮิตอย่าง แรงรัก, ฤทธิ์รัก, ใครหนอใคร และ รักมั่นคง ซึ่งต่อมาในเพลงหลังนี้ วง "เพื่อน" ได้นำมาขับร้องใหม่ในอัลบั้ม "แด่ที่รัก"

ส่วนเกียรติศักดิ์ ยันตะระประกรณ์ ยังคงเล่นดนตรีกลางคืน เล่นดนตรีแบ็คอัพศิลปินทั้งในห้องอัดและคอนเสิร์ตจนถึงปัจจุบัน อีกทั้งยังทำงานเป็นเจ้าหน้าที่สำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ สภากาชาดไทย

ถือได้ว่ากิจกรรมที่ทำร่วมกันในนามวง ดิ อินโนเซ้นท์ จึงหยุดลงตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา เป็นเวลา 20 ปี

การรวมตัวใหม่ (พ.ศ. 2552, พ.ศ. 2566)

แก้

แม้ทางวงจะยุติบทบาทในการเป็นคนเบื้องหน้าไปแล้วก็ตาม แต่แฟนเพลงก็ยังรอคอยการกลับมารวมตัวกันใหม่ของ ดิ อินโนเซ้นท์ อยู่เสมอ และถือเป็นวงดนตรีไทยที่ทุกคนยังคงกล่าวถึงทั้งในแง่ฝีมือ ความไพเราะของบทเพลง แต่ก็ไม่ได้เกิดขึ้นอย่างเป็นจริงเป็นจังสักครั้งในเวลาที่ผ่านมา

จนกระทั่งกลางปี พ.ศ. 2552 สมาชิกหลัก 4 คนของวง ดิ อินโนเซ้นท์ ได้แก่ ชาตรี สายชล พีรสันติ เสนีย์ ได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชน กลับมารวมตัวทำงานร่วมกันอีกครั้งอย่างเป็นทางการ พร้อมกับประกาศจัดคอนเสิร์ตใหญ่ที่ อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี ในวันเสาร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2552 สร้างความสนใจและความน่ายินดีแก่แฟนเพลงอย่างยิ่ง ถือเป็นข่าวดีและให้ความสนใจในรอบปีของวงการเพลงไทย[2]

และ 14 ปีต่อมา คือปี พ.ศ. 2566 ดิ อินโนเซ้นท์ ได้กลับมาจัดคอนเสิร์ตร่วมกันอีกครั้งในชื่อ "The Innocent Concert 40 ปี ของพี่กับน้อง" โดยจัดแสดงในวันเสาร์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2566 ที่ รอยัล พารากอน ฮอลล์ ชั้น 5 สยามพารากอน[3]

ผลงาน

แก้

สตูดิโออัลบั้ม

แก้
ลำดับ อัลบั้ม ปี พ.ศ. รายชื่อเพลง สมาชิกวง หมายเหตุ
1 รักไม่รู้ดับ 2523

เพลงทั้งหมด

  1. รักไม่รู้ดับ
  2. รถเมล์
  3. ยิ้ม
  4. ราชบุรี
  5. คำใดไม่ซึ้ง
  6. สู่เสรี
  7. ราตรีที่ทะเล
  8. ผีหลอก
  9. ใครหนอ
  10. รถม้าลำปาง
  11. หนทางมันไกล
  12. ฮูดัง
  13. ชะตาแกล้ง
  14. ชีวิตนักเรียนหอ
  15. วันปิดเทอม
สมาชิกวง
  1. พีรสันติ จวบสมัย
  2. สายชล ระดมกิจ
  3. สิทธิศักดิ์ กิจเต่ง
2 บางปะกง 2524

เพลงทั้งหมด

  1. บางปะกง
  2. เสน่ห์บ้านนาเขลียง
  3. ปลาตะเพียน
  4. ฝัน... รักสุดท้ายคือฝัน
  5. โลกวุ่น
  6. วันเปย์เดย์
  7. อาณาจักรราม
  8. ความฝันแห่งชีวิต
  9. น้ำใจพ่อ
  10. สู่เหย้า
  11. พลิกล็อก
  12. เมา
3 ขวัญใจนักเรียน

เพลงทั้งหมด

  1. สอบตก
  2. เมืองไทยแสนดี
  3. เสียงจากแม่กลอง
  4. ราชบุรี
  5. ศิษย์เก่ารำลึก
  6. ขวัญใจนักเรียน
  7. เพลงนี้ชั่วนิรันดร์
  8. คืนสู่หย้า
  9. เมืองในฝัน
  10. ชีวิตนักเรียนหอ
สมาชิกวง
  1. พีรสันติ จวบสมัย
  2. สายชล ระดมกิจ
  3. สิทธิศักดิ์ กิจเต่ง
  4. เกรียงศักดิ์ จงธีระธรรม
4 อยู่หอ 2525

เพลงทั้งหมด

  1. อยู่หอ
  2. รอยรัก รอยเล็บ
  3. ยังรักเธออยู่
  4. มนต์ไทรโยค
  5. เจ็บ
  6. ไม่ลอง ไม่รู้
  7. ทาสความดี
  8. คนจะรักกัน
  9. ควันสีขาว
  10. เที่ยวทะเล
สมาชิกวง
  1. พีรสันติ จวบสมัย
  2. สายชล ระดมกิจ
  3. เสนีย์ ฉัตรวิชัย
  4. ชาตรี คงสุวรรณ
  5. เกรียงศักดิ์ จงธีระธรรม
  6. ปฏิภาณ สุขสุทธิ
5 เพียงกระซิบ 2526

เพลงทั้งหมด

  1. เพียงกระซิบ
  2. 14-16-18 (วัยบริสุทธิ์)
  3. อำนาจรัก
  4. ฝากใจถึงเธอ
  5. ปุยฝ้าย
  6. ไม่เคยคิดเลย
  7. กำพร้า
  8. ชีวิต
  9. แจกันรัก
  10. ป่าของเรา
สมาชิกวง
  1. พีรสันติ จวบสมัย
  2. สายชล ระดมกิจ
  3. เสนีย์ ฉัตรวิชัย
  4. ชาตรี คงสุวรรณ
  5. เกรียงศักดิ์ จงธีระธรรม
6 รักคืออะไร 2527

เพลงทั้งหมด

  1. รักคืออะไร
  2. สักวัน
  3. โลกแห่งความสุข
  4. สำนึก
  5. เมืองอะไร
  6. ใจเธอใจฉัน
  7. ขาดเธอ
  8. ทางหนึ่งซึ่งหวัง
  9. สาวเฟี้ยวฟ้าว
  10. Medley อินโนเซนท์
สมาชิกวง
  1. พีรสันติ จวบสมัย
  2. สายชล ระดมกิจ
  3. เสนีย์ ฉัตรวิชัย
  4. ชาตรี คงสุวรรณ
  5. เกียรติศักดิ์ ยันตะระประกรณ์
  6. ไชยรัตน์ ปฏิมาปกรณ์
7 โลกใบเก่า 2528

เพลงทั้งหมด

  1. กระต่ายเพ้อ
  2. สองใจรัก
  3. พี่รักเธอคนเดียว
  4. โลกใบเก่า
  5. ไปตามกัน
  6. เรื่องของหัวใจ
  7. เพียงครึ่งใจ
  8. ฝากฟ้าสั่งดิน
  9. เจ้าสาว
  10. หนุ่มค้างปี
ศิลปินรับเชิญ
  1. เทวัญ ทรัพย์แสนยากร : แซกโซโฟน, ฟลูต
  2. ศรายุทธ สุปัญโญ : เปียโน, ไวโอลิน
8 ครั้งนี้...ของพี่กับน้อง 2529

เพลงทั้งหมด

  1. ฝันและใฝ่
  2. ดาราทีวี
  3. ฝากรัก
  4. ก็ฉันไม่ดีเอง
  5. สาว 86
  6. คืนก่อน
  7. ตอบหน่อยนะ
  8. สายเกินรัก
  9. เรา
  10. วัยหวาน
  11. วันลา
  12. มือที่สาม
สมาชิกวง
  1. พีรสันติ จวบสมัย
  2. สายชล ระดมกิจ
  3. เสนีย์ ฉัตรวิชัย
  4. ชาตรี คงสุวรรณ
ศิลปินรับเชิญ
  1. อภิไชย เย็นพูนสุข : เปียโน
  2. โชคชัย พักภู่ : แซกโซโฟน
  3. มืด ไข่มุก : ทอมบ้า
  4. สมบูรณ์ สุทธิสัตตบุษย์ : ซีเควนเซอร์
  5. วรสิทธิ์ ชีพสาธิต : ร้องนำเพลง ฝากรัก, คอรัส
9 10 นาฬิกา 2532

เพลงทั้งหมด

  1. เสียเวลาเปล่า
  2. เกิดมาทำไม
  3. ขายหัวเราะ
  4. เห็นใจกันหน่อย
  5. บอกแล้ว
  6. 26.00 น.
  7. เรื่องมันใหญ่
  8. 589-3375
  9. ลองคิดดู
  10. จะเอายังไง
  11. เพราะเธอหรือเปล่า
สมาชิกวง
  1. พีรสันติ จวบสมัย
  2. สายชล ระดมกิจ
  3. เสนีย์ ฉัตรวิชัย
  4. ชาตรี คงสุวรรณ
ศิลปินรับเชิญ
  1. อภิไชย เย็นพูนสุข : เปียโน
  2. โรเบิร์ต ดีลา : กลอง

อัลบั้มพิเศษ

แก้
อัลบั้ม ปี พ.ศ. รายชื่อเพลง สมาชิกวง
รวมฮิตอินโนเซ้นท์ #1-9 ตลับทอง 2532

เพลงทั้งหมด

  1. เพราะเธอหรือเปล่า
  2. เห็นใจกันหน่อย
  3. เพียงกระซิบ
  4. สอบตก
  5. ขาดเธอ
  6. รักคืออะไร
  7. ฝันและใฝ่
  8. ชีวิต
  9. สาวเฟี้ยวฟ้าว
  10. สักวัน
  11. ฝากรัก
  12. ทางหนึ่งซึ่งหวัง
  13. หนุ่มค้างปี
  14. 14-16-18 (วัยบริสุทธิ์)
  15. มนต์ไทรโยค
  16. เพียงครึ่งใจ
สมาชิกวง
  1. พีรสันติ จวบสมัย
  2. สายชล ระดมกิจ
  3. เสนีย์ ฉัตรวิชัย
  4. ชาตรี คงสุวรรณ

ศิลปินรับเชิญ

  1. อภิไชย เย็นพูนสุข : เปียโน
  2. โชคชัย พักภู่ : แซกโซโฟน
  3. วรสิทธิ์ ชีพสาธิต : ร้องนำเพลง ฝากรัก
A Touch of The Innocent 2539

เพลงทั้งหมด

  1. ฝันและใฝ่
  2. จะเอายังไง
  3. เพียงกระซิบ
  4. ทางหนึ่งซึ่งหวัง
  5. ฝากรัก
  6. รักคืออะไร
  7. คืนก่อน
  8. เพราะเธอหรือเปล่า
  9. ลองคิดดู
  10. สักวัน
สมาชิกวง
  1. สายชล ระดมกิจ
  2. พีรสันติ จวบสมัย (รับเชิญ)
  3. ชาตรี คงสุวรรณ (รับเชิญ)
The Innocent : Limited Release - Reunite of the Legends 2552

เพลงทั้งหมด

  1. เพียงกระซิบ
  2. ฝันและใฝ่
  3. เห็นใจกันหน่อย
  4. 14-16-18 (วัยบริสุทธิ์)
  5. มนต์ไทรโยค
  6. เสียงจากแม่กลอง
  7. ทางหนึ่งซึ่งหวัง
  8. รักคืออะไร
  9. สักวัน
  10. เพียงครึ่งใจ
สมาชิกวง
  1. พีรสันติ จวบสมัย
  2. สายชล ระดมกิจ
  3. เสนีย์ ฉัตรวิชัย
  4. ชาตรี คงสุวรรณ

คอนเสิร์ต

แก้
ชื่อคอนเสิร์ต วันเดือนปีที่แสดง สถานที่แสดง แขกรับเชิญ
The Innocent Reunite Concert 13 ตุลาคม พ.ศ. 2552 อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี[2]
The Innocent Concert 40 ปีของพี่กับน้อง 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2566 รอยัล พารากอน ฮอลล์ ชั้น 5 สยามพารากอน[3]

อ้างอิง

แก้
  1. [รายการเก๋าไม่แก่ที่ออกอากาศเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562]
  2. 2.0 2.1 "The Innocent ตำนานดนตรีที่กำลังจะกลับมาสร้างปรากฏการณ์อีกครั้ง". RYT9. 2009-09-14. สืบค้นเมื่อ 2023-07-15.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  3. 3.0 3.1 "การกลับมารวมตัวบนเวทีใหญ่อีกครั้งในรอบ 14 ปี กับที่สุดของคอนเสิร์ตแห่งความคิดถึง "The Innocent Concert 40 ปี ของพี่กับน้อง"". TODAY Play. สำนักข่าว TODAY. 2023-07-05. สืบค้นเมื่อ 2023-07-15.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้