S-L-M หรือ ซีน-ลาม-เม็ม (อาหรับ: س ل م; ฮีบรู: שלם; ภาษาอราเมอิก: ܫܠܡܐ) เป็นรากศัพท์พยัญชนะสามตัวของคำในกลุ่มภาษาเซมิติก และคำเหล่านี้มีการใช้เป็นชื่อจำนวนมาก ตัวรากศัพท์เองนั้นหมายถึง "ทั้งหมด ปลอดภัย สัมผัส"

ซาลาม "สันติภาพ" แก้

คำภาษาอาหรับ ซาลาม (salām سَلاَم) ภาษามอลตา Sliem ภาษาฮีบรู ชาลอม (שָׁלוֹם), ภาษากีเอซ salām (ሰላም) ภาษาซีเรียค šlama (ܫܠܡܐ) ล้วนเป็นคำในกลุ่มภาษาเซมิติกที่หมายถึงสันติภาพ มาจาก ภาษาเซมิติกดั้งเดิม *šalām-.

คำว่า ซาลาม มีการใช้อย่างหลากหลายในภาษาอาหรับและการพูดของผู้นับถือศาสนาอิสลาม Al-Salam เป็นหนึ่งพระนามทั้ง 99 ของอัลลอหฺ และเป็นชื่อของผู้ชายเมื่อรวมกับ ʿabd. Abd Al-Salam หมายถึง "ทาสแห่งอัลลอหฺ" ในภาษาฮีบรู คำที่มีความหมายเท่ากันคือคำว่าชาลอม และเป็นคำที่เป็นรากศัพท์ของชื่อโซโลมอน สุไลมาน เซลิม ซัลมา ซัลมะห์ ซาลิมะห์ เซลิมะห์ ซาโลม ฯลฯ

พันธสัญญาใหม่ภาษากรีกโบราณใช้ eirēnē (εἰρήνη) หมายถึง 'สันติภาพ',[1] ซึ่งอาจจะ[ต้องการอ้างอิง] ใช้แทนคำพูดของพระเยซูที่ว่า šlama ภาษากรีกคำนี้กลายเป็นชื่อของผู้หญิงในสำเนียงทางเหนือว่า Irene การเปรียบเทียบภาษากรีก Septuagint และภาษาฮีบรูในพันธสัญญาเดิม พบว่าในบางที่ได้แปลคำว่าชาลอมไปเป็น soteria (σωτηρια, "ความรอด")

ภาษาอาหรับ ภาษามอลตา ภาษาฮีบรูและ ภาษาอราเมอิก มีการใช้วลีที่มีความหมายว่า "สันติภาพจงมีแด่คุณ" เป็นคำทักทายดังนี้:

  • ภาษาอาหรับ "อัสสลามุ-อลัยกุม" (as-salāmu ʿalaykum; السلام عليكم) ใช้ในการทักทายผู้อื่น เทียบท่ากับคำว่าสวัสดี การตอบรับที่เหมาะสมคือ "ขอให้คุณได้รับสันติภาพเช่นเดียวกัน" (`alaykum as-salām])
  • ภาษาฮีบรู שלום עליכם shalom aleichem.
  • ภาษามอลตา sliem għalikhom.
  • ภาษาอราเมอิกใหม่ ܫܠܡܐ ܥܠܘܟ šlama 'loukh, แบบคลาสสิกคือ ܫܠܡܐ ܥܠܝܟ šlāmâ ‘laik.

ตัวอย่าง แก้

 
"ชาลอม" (สีน้ำเงิน) และ "ซาลาม" (สีเขียว) หมายถึง "สันติภาพ" ในภาษาฮีบรูและภาษาอาหรับ และมักใช้เป็น สัญลักษณ์ของสันติภาพ
 
"ซาลาม"
 
"ชาลอม"
 
"ชลามา/ชโลโม ในอักษรแบบ (บน) มัดคายา, (กลาง) เซอร์โต, และ (ล่าง) เอสตรันเกลลา"

ใน ภาษาอาหรับ:

  • ซาลาม (|سلام salām) "สันติภาพ"
  • อัสสลามุ อลัยกุม (السلام عليكم as-salāmu ʿalaykum) "สันติภาพจงมีแด่คุณ"
  • อิสลาม (إسلام ʾIslām) "การมอบตนอย่างสมบูรณ์แก่อัลลอหฺ"
  • มุสลิม (مسلم muslim "ผู้ยอมมอบตน"
  • มุสตัสลิม (مستسلم; mustaslim) – ไม่มีการมองหาสิ่งตรงข้าม/หรือขัดแย้ง ผู้ที่ถูกส่งมอบ
  • ตัสลิม (تسليم; taslīm) – การกลายเป็นผู้มอบ

ใน ภาษาฮีบรู:

  • ชาลอม
  • ชิลูมิม (שילומים) — จ่ายคืน
  • เลฮิชตัลเลม (להשתלם) — ทำให้มีคุณค่า, จ่าย
  • มูสลาม (מושלם) — สมบูรณ์แบบ
  • ชาเลม (שלם) — ทั้งหมด สมบูรณ์
  • เลฮาชลิม (להשלים) — ทำให้สมบูรณ์ เติมเข้า
  • เลชาลเลม (לשלם) — จ่าย
  • ตัชลุม (תשלום) — การจ่าย
  • อับชาลอม (אבשלום) — ชื่อคน แปลตรงตัวว่าบิดาแห่งสันติภาพ

ใน ภาษาอราเมอิก:

  • Shlama — สันติภาพ
  • Shalmuta

ใน ภาษาอัมหาริก:

  • Selam "สันติภาพ"; ใช้เป็นคำทักทาย
  • Selamta "ยินดีต้อนรับ"

ใน ภาษามอลตา:

  • Sliem — สันติภาพ
  • Sellem ทักทาย คำนับ

ใน ภาษาอัคคาเดียน[2]:

  • Salimatu "พันธมิตร"
  • Salimu "สันติภาพ, concord"
  • Shalamu "เป็นทั้งหมด, ปลอดภัย; กลับคืน; สำเร็จ, รุ่งเรือง".
  • Shulmu "สุขภาพ, ความรู้สึกดี"; ใช้เป็นคำทักทาย

ใน ภาษาตุรกี:

  • Selam

ในศาสนาอิสลาม แก้

คำว่า إسلام ʾIslām เป็นรูปกริยาของ s-l-m, หมายถึง "การยอมตน" (เช่น การไว้ใจบุคคลอื่นอย่างสมบูรณ์หรือความนอบน้อม. ผู้ยอมมอบตน ใช้คำว่าمسلم, Muslim (ญ. مسلمة, muslimah).[3]

คำนี้มีหลายความหมายในอัลกุรอ่าน ในบางโองการ (ʾāyāt), คุณภาพของอิสลามในฐานะการเลื่อมใสศรัทธาภายในคือการเน้นว่า: "ผู้ซึ่งยอมรับคำแนะนำของอัลลอหฺ, เขาได้ขยายลมหายใจแห่งอิสลาม."[4] โองการอื่นๆได้เชื่อมโยงislām และ dīn (มักจะแปลเป็น "ศาสนา"): "ทุกวันนี้, ฉันได้ทำให้ศาสนาของพวกเจ้าสมบูรณ์(dīn) สำหรับเจ้า; ฉันได้ให้ลมหายใจแก่พวกเจ้า; ฉันได้ให้อิสลามเป็นศาสนาของพวกเจ้า."[5] ยังมีการอธิบายแบบอื่นๆว่า อิสลามเป็นการกระทำเพื่ออัลลอหฺที่มากกว่าความศรัทธา[6]

เมื่อ 2,000 ปีก่อนคริสตกาล แก้

 
ตัวอย่างของจดหมายของอมานาร์ เขียนด้วยอักษรรูปลิ่ม

เมื่อ 2,000 ปีก่อนคริสตกาล ภาษาอัคคาเดียนใช้รากศัพท์ s-l-m, และการใช้ของบาบิโลเนีย มีรูปแบบพิเศษของ "shulmani" ใน จดหมายของอมานาร์

ชื่อเฉพาะ แก้

อ้างอิง แก้

Notes แก้

  1. Lk 24:36; Jn 20:19,26; vide NA27 per sy.
  2. Huehnergard, J. (2005). A Grammar of Akkadian. Winona Lake: Eisenbrauns.
  3. Entry for šlm, p. 2067, Appendix B: Semitic Roots, The American Heritage Dictionary of the English Language, 4th ed., Boston, New York: Houghton Mifflin, 2000, ISBN 0-618-08230-1.
  4. อัลกุรอาน 6:125, อัลกุรอาน 61:7, อัลกุรอาน 39:22
  5. อัลกุรอาน 5:3, อัลกุรอาน 3:19, อัลกุรอาน 3:83
  6. ดูที่:
    • อัลกุรอาน 9:74, อัลกุรอาน 49:14
    • L. Gardet. "Islam". Encyclopaedia of Islam Online. {{cite encyclopedia}}: |access-date= ต้องการ |url= (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)