เอยู-23 พีซเมกเกอร์

(เปลี่ยนทางจาก AU-23A Peacemaker)

เอยู-23 พีซเมกเกอร์ (อังกฤษ: Fairchild AU-23 Peacemaker) หรือ เครื่องบินโจมตีธุรการแบบที่ 2 (บ.จธ.๒) เป็นเครื่องบินดัดแปลงซึ่งมีพื้นฐานจากเครื่องบินพลเรือน คือ ปิลาตุส พีซี-6 พอร์เตอร์ ของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เป็นเครื่องบินที่เดิมกองทัพอากาศสหรัฐจัดหาเพื่อประจำการในกองทัพในภารกิจปราบปรามผู้ก่อการร้าย (COIN Counter insurgency) ปฏิบัติการทางจิตวิทยา โจมตีภาคพื้นขนาดเบา ขนส่งลำเลียง จู่โจมทางยุทธวิธี มีขีดความสามารถในการขึ้น-ลงระยะสั้น โดยเฉพาะการขนส่งขึ้นลงเร่งด่วนในสนามบินฉุกเฉิน

เอยู-23 พีซเมกเกอร์
AU-23 Peacemaker
เอยู-23 พีซเมกเกอร์ ขณะทำการบิน
หน้าที่ เครื่องบินติดอาวุธ ต่อต้านการก่อความไม่สงบ ขนส่งสาธารณูปโภค
ผู้ผลิต แฟร์ไชลด์ แอร์คราฟต์
เที่ยวบินแรก พ.ศ. 2514; 53 ปีที่แล้ว (2514)
ผู้ใช้หลัก กองทัพอากาศสหรัฐ
กองทัพอากาศไทย
พัฒนาจาก ปิลาตุส พีซี-6 พอร์เตอร์

กองทัพอากาศสหรัฐได้นำเครื่องบินแบบ เอยู-23 พีซเมกเกอร์ เข้าบินทดสอบการปฏิบัติการในสงครามเวียดนาม โดยใช้ในภารกิจโปรยใบปลิว กระจายข่าว ลำเลียงขนาดเบา โจมตีภาคพื้นด้วยปืนกลเบา ปล่อยพลุส่องสว่างในเวลากลางคืน ธุรการ ทิ้งระเบิด โจมตีด้วยจรวด และชี้เป้าหมายต่างๆ เป็นต้น ซึ่งจากผลการทดสอบนั้นทำให้กองทัพอากาศสหรัฐมีความพึงพอใจในระดับหนึ่ง ต่อมารัฐบาลสหรัฐได้มอบเอยู-23 พีซเมกเกอร์ ให้แก่รัฐบาลไทยเพื่อใช้ในภารกิจทางทหารและปราบปรามผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ ซึ่งกองทัพอากาศไทยเป็นกองทัพอากาศเพียงชาติเดียวในโลกที่มีเครื่องบินชนิดนี้ประจำการอยู่และยังคงใช้งานจนถึงปัจจุบัน

การออกแบบและพัฒนา แก้

ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2514 แผนกออกแบบสร้างอากาศยาน ที่ฐานทัพอากาศไรท์-แพตเตอร์สัน รัฐโอไฮโอ ได้เริ่มทำงานในโครงการโดยประเมินศักยภาพการใช้อากาศยานเบาติดอาวุธขึ้นและลงจอดระยะสั้นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โครงการดังกล่าวมีชื่อว่า Credible Chase ได้รับการออกแบบมาเพื่อเพิ่มความคล่องตัวและอำนาจการยิงในระยะเวลาอันสั้นให้กับกองทัพอากาศเวียดนามใต้ (RVNAF) ของสาธารณรัฐเวียดนาม เครื่องบินพาณิชย์สองแบบได้รับเลือกสำหรับการทดสอบคือแฟร์ไชด์ พอร์เตอร์ (Fairchild Porter) และเฮลิโอ สตาลเลียน (Helio Stallion) การทดสอบประสิทธิภาพเบื้องต้นดำเนินการกับเครื่องบินเช่าที่ฐานทัพอากาศเอ็กลิน รัฐฟลอริดา และประสบความสำเร็จเพียงพอที่จะรับประกันการประเมินการรบ เครื่องพอร์เตอร์ซึ่งมีชื่อเรียกขาน เอยู-23เอ ที่ด้านข้างลำตัวติดตั้งปืนใหญ่ไฟฟ้า เอ็ม197 ขนาด 20 มม. ซึ่งเป็นรุ่นสามลำกล้องของปืนใหญ่ เอ็ม61 วัลแคน 6 มีไพลอนติดตั้งอาวุธใต้ปีกสี่ตำบล และส่วนกลางลำตัวเครื่อง 1 ตำบล สำหรับติดตั้งยุทโธปกรณ์ภายนอก เครื่องบินสามารถบรรทุกอุปกรณ์ได้หลากหลายรวมถึงกระเปาะปืนใหญ่ ระเบิดขนาด 500 และ 250 ปอนด์ (230 และ 110 กก.) ชุดระเบิดเนปาล์ม ชุดระเบิดพวง พลุ จรวด ระเบิดควัน และเครื่องจ่ายใบปลิว

ประเทศผู้ใช้งาน แก้

 
แฟร์ไชด์ เอยู-23 พีซเมกเกอร์ ของกองทัพอากาศไทย พ.ศ. 2556
 
แฟร์ไชด์ เอยู-23 พีซเมกเกอร์ ของกองทัพอากาศไทย (s/n 2077 / BJTh2-18/19) พ.ศ. 2561
  ไทย
  สหรัฐ

ข้อมูลจำเพาะ แก้

  • ประเภท เครื่องบินโจมตีผู้ก่อการร้ายและขนส่งขนาดเบา ขึ้นลงระยะสั้น
  • ผู้สร้าง บริษัท แฟร์ไชลด์ อินดัสทรี ประเทศสหรัฐอเมริกา
  • เครื่องยนต์ เทอร์โบพร็อป การ์เรตต์-แอรีเสิร์ช ทีพีอี 331-1-101 เอฟ กำลัง 650 แรงม้า 1 เครื่อง
  • กางปีก 15.14 เมตร (49 ฟุต 8 นิ้ว)
  • ยาว 11.23 เมตร (36 ฟุต 10 นิ้ว)
  • สูง 3.73 เมตร (12 ฟุต 3 นิ้ว)
  • น้ำหนักเปล่า 1,126 กก. (2,480 ปอนต์)
  • อัตราเร็วสูงสุด 282 กม./ชม. (175 ไมล์/ชม.)
  • อัตราเร็วเดินทาง 262 กม./ชม. (163 ไมล์/ชม.)
  • เพดานบิน 6,950 เมตร (22,800 ฟุต)
  • พิสัยบิน 898 กม. (558 ไมล์)
  • ประจำการ กองทัพอากาศไทย: 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2515 – ปัจจุบัน
  • นามเรียกขาน "Mosquito"
  • ปัจจุบันประจำการที่ ฝูงบิน 501 กองบิน 5 จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

อาวุธติดตั้งมาตรฐาน แก้

  • ปืนกลอากาศ เอ็กซ์เอ็ม-197 ขนาด 20 มม.
  • ปืนกลแก็ตลิง เอ็กซ์เอ็ม-93 ขนาด 7.62 มม.
  • กระเปาะปืนกลอากาศแบบ เอสยูยู-11/เอ
  • กระเปาะจรวดขนาด 2.75 นิ้ว (70 มม.)
  • ระเบิดชนิดไม่นำวิถีแบบ มาร์ค 81 ขนาด 250 ปอนด์ (110 กก.) และมาร์ค 82 ขนาด 500 ปอนด์ (230 กก.)

อุบัติเหตุและอุบัติการณ์ แก้

เครื่องบิน เอยู-23เอ JTh2-20/19 รหัส 42079 (เดิม FY 74-2079) สังกัดฝูงบิน 531 ของกองทัพอากาศไทย ตกที่อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา ประมาณเที่ยงวันของวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2562[2]

อ้างอิง แก้

  1. "Fairchild AU-23A Peacemaker". wings-aviation.ch. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 พฤษภาคม 2019.
  2. Wassana Nanuam (5 มีนาคม 2019). "Old air force plane crashes". Bangkok Post.