ไฮยีนาลายจุด
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: สมัยไพลโอซีนตอนปลาย – ปัจจุบัน
2.588–0Ma
[1]
เสียงคำราม
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Mammalia
อันดับ: Carnivora
วงศ์: Hyaenidae
สกุล: Crocuta
Kaup, 1828
สปีชีส์: C.  crocuta
ชื่อทวินาม
Crocuta crocuta
(Erxleben, 1777)
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์
ชื่อพ้อง
ชื่อพ้องสายพันธุ์[3]
  • capensis
    Heller, 1914
  • cuvieri
    Bory de St. Vincent, 1825
  • fisi
    Bory de St. Vincent, 1825
  • fortis
    J. A. Allen, 1924
  • gariepensis
    Matschie, 1900
  • germinans
    Matschie, 1900
  • habessynica
    de Blainville, 1844
  • kibonotensis
    Lönnberg, 1908
  • leontiewi
    Satunin, 1905
  • maculata
    Thunberg, 1811
  • noltei
    Matschie, 1900
  • nzoyae
    Cabrera, 1911
  • panganensis
    Lönnberg, 1908
  • rufa
    Desmarest, 1817
  • rufopicta
    Cabrera, 1911
  • sivalensis
    Falconer and Cautley in Falconer, 1868
  • thierryi
    Matschie, 1900
  • thomasi
    Cabrera, 1911
  • togoensis
    Matschie, 1900
  • wissmanni
    Matschie, 1900

ไฮยีนาลายจุด (อังกฤษ: spotted hyena; ชื่อวิทยาศาสตร์: Crocuta crocuta) เป็นไฮยีนาชนิดหนึ่ง จัดเป็นไฮยีนาในสกุล Crocuta เพียงชนิดเดียวเท่านั้น เป็นไฮยีนาชนิดที่ใหญ่ที่สุดและเป็นที่รู้จักกันดีที่สุด เป็นหนึ่งในไฮยีนาสี่ชนิดที่ยังดำรงเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบันในขณะที่ชนิดอื่น ๆ สูญพันธุ์ไปหมดแล้ว

ไฮยีนาลายจุดมีลักษณะคล้ายกับไฮยีนาทั่วไป แต่มีขนาดใหญ่กว่า มีน้ำหนักตัวได้มากถึง 60–70 กิโลกรัม เกือบเท่าสิงโตตัวเมีย มีขาคู่หน้ายาวกว่าขาคู่หลัง ดังนั้นเมื่อเวลาวิ่งจะวิ่งแบบหย่ง ๆ แต่ก็วิ่งได้เร็วถึง 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ตัวเมียมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้ มีความดุร้ายกว่า และเป็นผู้ปกครองฝูง ตัวเมียจะปกป้องลูกจากตัวผู้ที่จะเป็นฝ่ายกินลูกอ่อนจนหมดสิ้น อวัยวะสืบพันธุ์ของตัวเมียนั้นมีลักษณะคล้ายกับองคชาตของตัวผู้ สามารถที่จะแข็งตัวได้ รวมทั้งเป็นที่ใช้ปัสสาวะด้วย โดยที่ช่องคลอดจะถูกเก็บไว้ในอวัยวะส่วนนี้ ซึ่งปัจจุบันยังไม่อาจหาคำอธิบายใด ๆ ในทางวิทยาศาสตร์ได้ว่าเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น แต่การที่ไฮยีนาลายจุดมีอวัยวะสืบพันธุ์เช่นนี้ ทำให้การให้กำเนิดลูกไฮยีนาทำได้ยากด้วยเช่นกัน เพราะสายรกนั้นสั้นเกินกว่าที่จะลอดช่องคลอดออกมาได้ และสร้างความเจ็บปวดให้แก่แม่ไฮยีนา[4] และแม่ไฮยีนาท้องแรกมักตายตอนคลอดลูก

ไฮยีนาลายจุด มีระยะเวลาตั้งท้องเพียง 4 เดือนเท่านั้น และเมื่อตั้งท้องจะมีความดุร้ายมากเป็นพิเศษ เนื่องจากสัญชาตญาณป้องกันตัว[5]

ไฮยีนาลายจุดมักออกลูกครั้งละ 2 ตัว นักวิจัยพบว่า ลูกไฮยีนามีความก้าวร้าวตั้งแต่แรกเกิด มันมักจะฆ่าพี่น้องของมันหากเป็นเพศเดียวกัน โดยการกัดซ้ำๆ ให้บาดเจ็บ และกีดกันไม่ให้อีกตัวได้รับอาหาร และการดูแล จนต้องตายไป เพื่อตัวมันเองจะได้รับการดูแลจากแม่อย่างเต็มที่ นอกจากนั้นลำดับชั้นในฝูงไฮยีนาเป็นเรื่องสำคัญมาก ที่จะเป็นตัวบอกลำดับในการกินอาหารหลังจากการล่า ซึ่งลำดับชั้นของลูกไฮยีนานั้นจะสืบทอดจากแม่ หากพี่น้องเป็นเพศเดียวกัน อาจทำให้เกิดความสับสน และความไม่มั่นคงของลำดับชั้นของมันเองได้

ไฮยีนาตัวผู้จะมีลำดับที่ต่ำกว่าตัวเมียที่ลำดับต่ำที่สุด โดยจะเรียงลำดับจากตัวเมียจ่าฝูง และลูกของมัน จากนั้นเป็นพี่น้องเพศเมียของจ่าฝูง และลูกของมัน ไล่ไปเรื่อยๆจนถึงตัวเมียที่ลำดับต่ำที่สุด แล้วค่อยเป็นตัวผู้ลำดับสูงที่สุด

ลำดับต่ำสุดในฝูงจะเป็นของตัวผู้มาใหม่ที่ย้ายมาจากฝูงอื่น

แม่ไฮยีนาจะเลี้ยงดูลูกของมันเป็นเวลา 2 ปี เมื่ออายุครบ 2 ปี ไฮยีนาตัวเมียจะอยู่กับฝูงเดิม และสืบทอดลำดับชั้นจากแม่ของมัน ส่วนไฮยีนาตัวผู้จะสามารถเลือกว่าจะอยู่กับฝูงเดิม หรือจะออกไปอยู่ฝูงใหม่ ซึ่งการไปอยู่ฝูงใหม่มันจะต้องเป็นลำดับที่ต่ำที่สุดในฝูงนั้น

อายุเฉลี่ยของไฮยีนาตัวเมียประมาณ 8 ปี ในขณะที่ตัวผู้อายุเฉลี่ยอยู่ที่ 4 ปี เนื่องจากตัวผู้มักได้กินแต่เศษอาหารเหลือๆ และเศษกระดูก ที่ไม่ค่อยมีประโยชน์ต่อร่างกาย ต่อจากตัวเมียนั่นเอง

ไฮยีนาลายจุดมีฟันและกรามที่แข็งแรงมาก จัดเป็นสัตว์กินเนื้อบนบกที่มีแรงกัดมากที่สุดในโลก โดยมากได้ถึง 1,000 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว ซึ่งสามารถที่จะบดและเคี้ยวกระดูกได้อย่างง่ายดาย เป็นสัตว์ที่กินไม่เลือก โดยสามารถที่จะล่าและล้มสัตว์ชนิดอื่นที่มีขนาดใหญ่กว่ามากได้ รวมทั้งแย่งอาหารจากสัตว์อื่น เช่น สิงโต จนเสมือนเป็นคู่ปรับกัน รวมถึงกินซากสัตว์หรือมนุษย์ได้ด้วย ดังนั้น ในบางพื้นที่ที่ใกล้กับหมู่บ้านหรือชุมชนของมนุษย์ จะมีไฮยีนาลายจุดเข้ามาป้วนเปี้ยนอยู่เสมอ ๆ ซึ่งจะขโมยข้าวของของมนุษย์ รวมถึงขุดศพในสุสานมากินได้ด้วย ในพื้นที่ทางตอนเหนือของเอธิโอเปีย มีหมู่บ้านแห่งหนึ่งที่ผู้คนในนั้นเลี้ยงไฮยีนาลายจุดด้วยอาหาร ซึ่งทำให้มีพฤติกรรมการหากินเปลี่ยนไปจากไฮยีนาที่อยู่ในป่าจริง ๆ และมีอุปนิสัยไม่ดุร้ายเท่า[6]

ไฮยีนาลายจุดแพร่กระจายพันธุ์ทั่วไปในทวีปแอฟริกา มีรอยเท้าคล้ายรอยเท้าสุนัข โดยปกติจะออกหากินในเวลากลางคืน และนอนหลับพักผ่อนตามโพรงหรือถ้ำในเวลากลางวัน รวมถึงรอยแยกตามหุบเขาด้วย เพื่อหลบความร้อนและแสงแดด เมื่อถึงโพล้เพล้จะเริ่มตื่นตัว ปกติจะอาศัยอยู่รวมเป็นฝูง มากสุดอาจถึงหลักร้อย ตัวผู้บางตัวอาจจะแยกออกไปหากินและอาศัยตามลำพัง แต่ก็พร้อมที่จะกลับเข้ารวมฝูงได้ทุกเมื่อ[7] พฤติกรรมของไฮยีนาลายจุดเมื่อได้ยินเสียงสิงโตล่าเหยื่อ จะตื่นตัวและวิ่งหาต้นเสียง เพราะเรียนรู้ว่าจะได้กินอาหารต่อจากสิงโต หรือแย่งมากินเองได้[6]

เป็นที่รับรู้กันดีว่าไฮยีนาลายจุดมีเสียงร้องคล้ายกับเสียงหัวเราะ กอปรกับพฤติกรรมที่ชอบขโมยเหยื่อ จึงทำให้เป็นสัตว์ที่เป็นเสมือนสัญลักษณ์ของความเจ้าเล่ห์ หรือไม่ซื่อตรง[8]

รูปภาพ แก้

อ้างอิง แก้

  1. Varela, S., Lobo, J., Rodríguez, J., & Batra, P. (2010). Were the Late Pleistocene climatic changes responsible for the disappearance of the European spotted hyena populations? Hindcasting a species geographic distribution across time Quaternary Science Reviews เก็บถาวร 2012-04-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 29 (17–18), 2027–2035
  2. Honer, O., Holekamp, K.E. & Mills, G. (2008). Crocuta crocuta. In: IUCN 2008. IUCN Red List of Threatened Species. Downloaded on 22 March 2009. Database entry includes a brief justification of why this species is of least concern.
  3. Wozencraft, W. C. (2005). "Order Carnivora". ใน Wilson, D. E.; Reeder, D. M. (บ.ก.). Mammal Species of the World: A Taxonomic and Geographic Reference (3rd ed.). Johns Hopkins University Press. p. 572. ISBN 978-0-8018-8221-0. OCLC 62265494.
  4. ไฮยีนา (Hyena) ตัวเมียเป็นใหญ่[ลิงก์เสีย]
  5. Botswana ตอนที่ 3, "สุดหล้าฟ้าเขียว". สารคดีทางช่อง 3 โดย ปองพล อดิเรกสาร: เสาร์ที่ 7 กันยายน 2556
  6. 6.0 6.1 Night of the Hyena, "Austin Stevens Adventures". สารคดีทางแอนิมอลพลาเน็ต ทางทรูวิชั่นส์: อังคารที่ 16 เมษายน 2556
  7. ยูกานดา ตอนที่ 1, "สุดหล้าฟ้าเขียว". สารคดีทางช่อง 3 โดย ปองพล อดิเรกสาร: เสาร์ที่ 6 ธันวาคม 2557
  8. หน้า 108-110, สัตว์สวยป่างาม โดย ชมรมนิเวศวิทยา มหาวิทยาลัยมหิดล (สิงหาคม 2518)

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

  ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Crocuta crocuta ที่วิกิสปีชีส์