ไวสาขี

เทศกาลสำคัญในศาสนาซิกข์

เวสาขี (ชื่ออื่น ๆ เช่น วิสาขี, พิสาขี, ไวสาขี, วสาขี, วิสาข) เป็นเทศกาลที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อและประวัติศาสตร์ของศาสนาซิกข์ โดยทั่วไปมีการเฉลิมฉลองในวันที่ 13 หรือ 14 เมษายนของทุกปี ถือเป็นเทศกาลสำคัญหนึ่งของศาสนาซิกข์[2][3][4] ชาวปัญจาบในตอนเหนือของอนุทวีปอินเดียถือให้วันเวสาขีเป็นวันขึ้นปีใหม่[5] และยังเป็นวันขึ้นปีใหม่ของชาวซิกข์ เพราะถือเป็นการขึ้น "ยุคสมัยของขาลสา"[6][7][1][8][9] นอกจากนี้ยังเป็นเทศกาลที่เฉลิมฉลองการเก็บเกี่ยวผลผลิตของชาวซิกข์และปัญจาบอีกด้วย[8]

เวสาขี, พิสาขี, วิสาขี
ปัญจาบ: ਵਿਸਾਖੀ
นักดนตรีในขบวน Bhangra (การเต้นพื้นเมืองของปัญจาบ) กำลังเฉลิมฉลองวันเวสาขี
ชื่ออื่นวิสาข, ไวสาข, พิสาข, ไพสาข
จัดขึ้นโดยซิกข์
ประเภทเกี่ยวกับศาสนาและวัฒนธรรม
ความสำคัญวันขึ้นปีใหม่ของศาสนาซิกข์และชาวปัญจาบ[1], เทศกาลเฉลิทฉลองการเก็บเกี่ยว, การถือกำเนิดของขาลสา
การเฉลิมฉลองการเดินขบวน เทศกาล งานรื่นเริง พิธีอมฤตสัญชรเพื่อรับขาลสาใหม่
การถือปฏิบัติการสวดมนตร์ การชักธงนิศานสาหิบขึ้นสู่ยอดเสา

เวสาขีเป็นเทศกาลที่มีความเกี่ยวพันกับประวัติศาสตร์ของภูมิภาคปัญจาบในอนุทวีปอินเดียตอนเหนือ[10][11] ตามประวัติศาสนาซิกข์แล้ว วันเวสาขีนั้นเป็นวันก่อตั้งกองทัพซิกข์ขาลสา และเป็นวันที่จักรพรรดิออรังเซพแห่งจักรวรรดิโมกุลสั่งประหารชีวิตคุรุเตฆหบดูร์ หลังปฏิเสธที่จะเปลี่ยนศาสนาเป็นอิสลาม เหตุการณ์นี้ทำให้คุรุโควินทสิงห์ขึ้นดำรงตำแหน่งคุรุซิกข์ต่อ และตัดสินใจที่จะก่อตั้งกองทัพเพื่อปกป้องศาสนิกชนทั้งของซิกข์และศาสนาอื่น ๆ จากการคุกคาม อันนำมาสู่แนวคิดของขาลสา ชาวซิกข์จะรำลึกถึงทั้งสองเหตุการณ์ดังกล่าวซึ่งเกิดขึ้นตรงกันในวันเวสาขี[12][13][14] นอกจากนี้ ในสมัยบริติชราช วันเวสาขียังเป็นวันที่เกิดการสังหารหมู่ที่จัลเลียนวลาบาฆ โดยเจ้าหน้าที่ของอาณานิคมอังกฤษที่ปกครองอินเดียในเวลานั้น[10]

ในวันเวสาขี คุรุทวาราจะปรับตกแต่งอย่างสวยงาม และจัดดนตรีกิรทาน (Kirtan) ชาวซิกข์จะร่วมกันเดินทางไปเยี่ยมคุรุทวาราใกล้บ้าน ร่วมงานเทศกาลชุมชนรวมถึงจัด "Nagar Kirtan" และร่วมนั่งรับประทานอาหารและแบ่งปันอาหารกัน[3][10][15] ในศาสนาฮินดู ศาสนิกชนบางส่วนถือให้วันเวสาขีนี้เป็นวันปีใหม่ตามปฏิธินสุริยะ (Solar New Year) และเฉลิมฉลองเทศกาลเก็บเกี่ยวผลผลิต ศาสนิกชนจะถือโอกาสนี้เพื่อลงอาบน้ำในแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ เช่น แม่น้ำคงคา เข้าโบสถ์พราหมณ์เพื่อประกอบพิธีต่าง ๆ และพบปะกับเพื่อนฝูง ครอบครัว เพื่อรับประทานอาหารร่วมกัน เทศกาลนี้มีชื่ออีกหลายชื่อตามท้องถิ่นต่าง ๆ กัน[16]

วันที่ แก้

วันเวสาขีตรงกับวันที่ 13 หรือ 14 เมษายน ของทุกปี[3] เทศกาลเวสาขีเป็นเทศกาลสำคัญของทั้งชาวฮินดูและซิกข์[9] เทศกาลนี้ตรงกับเทศกาลปีใหม่ท้องถิ่นในภูมิภาคอื่น ๆ บางแห่งทั่วอนุทวีปอินเดีย[17][18] และในบางบริเวณนอกอินเดียที่ได้รับอิทธิพลฮินดู เช่น บนเกาะบาหลี และ เทศกาลสงกรานต์ ในประเทศบนคาบสมุทรอินโดจีน

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ ColeSambhi1995p63
  2. Harjinder Singh. Vaisakhi. Akaal Publishers. p. 2.
  3. 3.0 3.1 3.2 K.R. Gupta; Amita Gupta (2006). Concise Encyclopaedia of India. Atlantic Publishers. p. 998. ISBN 978-81-269-0639-0.
  4. "Chicago Tribune". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-11-20.
  5. Fieldhouse, Paul (2017) Food, Feasts, and Faith: An Encyclopedia of Food Culture in World Religions [2 volumes]. ABC-CLIO[1]
  6. Singh, Harbans (1998) The Encyclopaedia of Sikhism: S-Z. Publications Bureau [2]
  7. Cath Senker (2007). My Sikh Year. The Rosen Publishing Group. p. 10. ISBN 978-1-4042-3733-9., Quote: "Vaisakhi is the most important mela. It marks the Sikh New Year. At Vaisakhi, Sikhs remember how their community, the Khalsa, first began."
  8. 8.0 8.1 BBC Religions (2009), Vaisakhi and the Khalsa
  9. 9.0 9.1 Knut A. Jacobsen (2008). South Asian Religions on Display: Religious Processions in South Asia and in the Diaspora. Routledge. p. 192. ISBN 978-1-134-07459-4., Quote: "Baisakhi is also a Hindu festival, but for the Sikhs, it celebrates the foundation of the Khalsa in 1699."
  10. 10.0 10.1 10.2 S. R. Bakshi, Sita Ram Sharma, S. Gajnani (1998) Parkash Singh Badal: Chief Minister of Punjab. APH Publishing pages 208–209
  11. William Owen Cole; Piara Singh Sambhi (1995). The Sikhs: Their Religious Beliefs and Practices. Sussex Academic Press. pp. 135–136. ISBN 978-1-898723-13-4.
  12. Seiple, Chris (2013). The Routledge handbook of religion and security. New York: Routledge. p. 96. ISBN 978-0-415-66744-9.
  13. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ pashaura236
  14. Harkirat S. Hansra (2007). Liberty at Stake, Sikhs: the Most Visible. iUniverse. pp. 28–29. ISBN 978-0-595-43222-6.
  15. Jonathan H. X. Lee; Kathleen M. Nadeau (2011). Encyclopedia of Asian American Folklore and Folklife. ABC-CLIO. pp. 1012–1013. ISBN 978-0-313-35066-5.
  16. Christian Roy (2005). Traditional Festivals: A Multicultural Encyclopedia. ABC-CLIO. pp. 479–480. ISBN 978-1-57607-089-5.
  17. Crump, William D. (2014), Encyclopedia of New Year's Holidays Worldwide, MacFarland, page 114
  18. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ PechilisRaj2013p48