ไวรัสซิกา
Aedes aegypti (ยุงลายบ้าน) เป็นพาหะส่งผ่านไวรัสซิกา
การจำแนกชนิดไวรัส
Group: Group IV ((+)ssRNA)
วงศ์: Flaviviridae
สกุล: Flavivirus
สปีชีส์: Zika virus
ไข้ซิกา
บัญชีจำแนกและลิงก์ไปภายนอก
ICD-10A92.8

ไวรัสซิกา (อังกฤษ: Zika virus; ZIKV) เป็นไวรัสในสกุลเฟลวิวิริเด่ (Flaviviridae) วงศ์เฟลวิไวรัส (Flavivirus) โดยผ่านจากยุงลาย (Aedes) อาทิเช่น ยุงลายบ้าน (Aedes aegypti) และ ยุงลายสวน (Aedes albopictus) โดยตั้งชื่อโรคมาจากป่าซิกาใน ประเทศยูกันดา ซึ่งเป็นที่แพร่โรคซิก้าเป็นครั้งแรกเมื่อปี 1947[1]

สำหรับผู้ติดเชื้อซิก้า เป็นที่รู้จักในชื่อว่า ไข้ซิกา (Zika Fever) ในผู้ติดเชื้อซิกามักจะไม่มีอาการแสดงหรือมีอาการไม่รุนแรง ซึ่งนับแต่คริสต์ทศวรรษ 1950 ทราบว่าเกิดเชื้อในเส้นศูนย์สูตรแคบ ๆ ตั้งแต่ทวีปแอฟริกาถึงทวีปเอเชีย , ปี 2014 ไวรัสซิก้าได้แพร่กระจาย ไปทางทิศตะวันออก สู่มหาสมุทรแปซิฟิก ไปยัง เฟรนช์โปลินีเซีย จากนั้นแพร่กระจายไปที่ เกาะอีสเตอร์ และในปี 2015 แพร่กระจายไปยังแม็กซิโก , อเมริกากลาง , แคริบเบียน และอเมริกาใต้ โดยเปนที่ระบาดของไวรัสซิก้าที่แพร่กระจายไปทั่วในปัจจุบัน[2]

อาการทางคลินิก แก้

ความเจ็บป่วยนี้คล้ายไข้เด็งกีแบบอ่อน[3] รักษาโดยการพักผ่อน[4] และไม่สามารถใช้ยาหรือวัคซีนป้องกัน[4] โรคซิกาสัมพันธ์กับไข้เหลืองและไข้ไนล์ตะวันตก ซึ่งเกิดจากฟลาวิไวรัสจากสัตว์ขาปล้องอื่น[3] ปัจจุบันคาดว่าความเชื่อมโยงระหว่างภาวะหัวเล็กเกิดในทารกแรกเกิดของแม่ที่ติดเชื้อมีความเป็นไปได้[5][6]

การแพร่ระบาด แก้

ในเดือนมกราคม 2559 ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคสหรัฐ (CDC) ออกคำแนะนำท่องเที่ยวในประเทศที่ได้รับผลกระทบ ซึ่งร่วมการใช้ความระมัดระวังเพิ่มขึ้นและพิจารณาเลื่อนการเดินทาง และแนวทางสำหรับสตรีตั้งครรภ์[7][8] ไม่ช้ารัฐบาลหรือหน่วยงานสุขภาพอื่นก็ออกคำเตือนท่องเที่ยวคล้ายกัน[9][10][11][12] ส่วนประเทศอย่างโคลอมเบีย เอกวาดอร์ เอลซัลวาดอร์ และจาเมกา แนะนำหญิงให้เลื่อนการตั้งครรภ์จนกว่าจะทราบความเสี่ยงมากขึ้น[10][13]

20 มกราคม 2559 ชายไทยวัย 24 ปีที่เดินทางเข้ามาทำงานในประเทศมีการติดเชิ้อไวรัส[14]

วิทยาbromine แก้

วีดีโออธิบายเกี่ยวกับไวรัสซิกาและไข้ซิกา

ไวรัสซิกาอยู่ในสกุลเฟลวิวิริเด่ (Flaviviridae) และวงศ์เฟลวิไวรัส (Flavivirus) ดังนั้นจึงมีความเชื่อมโยงกับไวรัสที่ทำให้เกิดไข้เด็งกี ไข้เหลือง ไข้สมองอักเสบ และ ไข้ไนล์ตะวันตก เช่นเดียวกับไวรัสอื่นๆในในวงศ์เฟลวิไวรัส ไวรัสซิกานั้นถูกห่อหุ้ม มีทรงยี่สิบหน้า และยังมีกลุ่มยีนเป็นอาร์เอ็นเอสายเดี่ยวแบบบวก ไวรัสนี้เกี่ยวข้องกับไวรัสสปอนด์เวนี และเป็นหนึ่งในสองไวรัสในเครือบรรพบุรุษของไวรัสสปอนด์เวนี[15][16]

กลุ่มยีนอาร์เอ็นเอแบบบวกสามารถถูกแปลโดยตรงไปเป็นโปรตีนไวรัส ไวรัสในวงศ์เฟลวิไวรัส เช่นไวรัสไข้ไนล์ตะวันตกซึ่งมีขนาดใกล้เคียงกัน กลุ่มยีนอาร์เอ็นเอเข้ารหัสโปรตีนโครงสร้าง 3 แบบ และโปรตีนที่ไม่ใช่โครงสร้าง 7 แบบ โปรตีนโครงสร้างเป็นตัวห่อหุ้มไวรัส อาร์เอ็นเอที่ถูกทำสำเนาถูกยึดไว้ในนิวคลีโอแคพซิด สร้างจากบล็อคโปรตีนขนาด 12-kDa แคพซิดนั้นอยู่ในเยื้อหุ้มที่มาจากโฮสท์ซึ่งถูกปรับแต่งด้วยไกลโคโปรตีนไวรัสสองแบบ การแบ่งตัวของกลุ่มยีนไวรัสนั้นเริ่มจากการสร้างเส้นนิวคลีโอไทด์[ต้องการอ้างอิง]

ไวรัสซิกามีอยู่ด้วยกันสองสายพันธุ์ สายพันธุ์แอฟริกา และสายพันธุ์เอเชีย[17] การศึกษาวัฒนาการชี้ว่าไวรัสที่กำลังแพร่กระจายในสหรัฐอเมริกานั้นใกล้เคียงกับเชื้อสายเอเชียมากซึ่งเคยระบาดที่เฟรนช์โปลินีเซียใน พ.ศ. 2556–2557[17][18] ลำดับกลุ่มยีนโดยสมบูรณ์ของไวรัสซิกาได้ถูกเผยแพร่แล้ว[19] ไวรัสซิกาในซีกโลกตะวันตกถูกพบว่าเหมือนกับสายพันธุ์แอฟริกาถึง 89% แต่ใกล้เคียงกับสายพันธุ์ที่พบในเฟรนช์โปลินีเซียช่วง พ.ศ. 2556 - 2557 มากที่สุด[20]

อ้างอิง แก้

  1. "ATCC Product Sheet Zika virus (ATCC® VR84TM) Original Source: Blood from experimental forest sentinel rhesus monkey, Uganda, 1947". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-02-03. สืบค้นเมื่อ 4 February 2016.
  2. McKenna, Maryn (13 January 2016). "Zika Virus: A New Threat and a New Kind of Pandemic". Germination. สืบค้นเมื่อ 18 January 2016.
  3. 3.0 3.1 "Zika virus infection". ecdc.europa.eu. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-06-22. สืบค้นเมื่อ 18 January 2016.
  4. 4.0 4.1 "Symptoms, Diagnosis, & Treatment". Zika Virus. DVBD, NCEZID, Centers for Disease Control and Prevention.
  5. Oliveira Melo, A. S.; Malinger, G.; Ximenes, R.; Szejnfeld, P. O.; Alves Sampaio, S.; Bispo de Filippis, A. M. (1 January 2016). "Zika virus intrauterine infection causes fetal brain abnormality and microcephaly: tip of the iceberg?". Ultrasound in Obstetrics & Gynecology (ภาษาอังกฤษ). 47 (1): 6–7. doi:10.1002/uog.15831. ISSN 1469-0705.
  6. "Epidemiological update: Outbreaks of Zika virus and complications potentially linked to the Zika virus infection". European Centre for Disease Prevention and Control. สืบค้นเมื่อ 18 January 2016.
  7. "Zika Virus in the Caribbean". Travelers' Health: Travel Notices. Centers for Disease Control and Prevention. 15 January 2016.
  8. Petersen, Emily E.; Staples, J. Erin; Meaney-Delman, Dana; Fischer, Marc; Ellington, Sascha R.; Callaghan, William M.; Jamieson, Denise J. "Interim Guidelines for Pregnant Women During a Zika Virus Outbreak — United States, 2016". Morbidity and Mortality Weekly Report. 65 (2): 30–33. doi:10.15585/mmwr.mm6502e1.
  9. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ ITV-2016-01-22a
  10. 10.0 10.1 "Pregnant Irish women warned over Zika virus in central and South America". RTE. 2016-01-22. สืบค้นเมื่อ 2016-01-23.
  11. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ 3News-NZ-2016-01-22a
  12. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ BBC-2016-01-24a
  13. "Zika virus triggers pregnancy delay calls". BBC. 23 January 2016. สืบค้นเมื่อ 23 January 2016.
  14. www.thairath.co.th/content/566292
  15. Knipe, David M.; Howley, Peter M. (2007). Fields' Virology (5th ed.). Lippincott Williams & Wilkins. pp. 1156, 1199. ISBN 978-0-7817-6060-7.
  16. Faye, Oumar; Freire, Caio C. M.; Iamarino, Atila; Faye, Ousmane; de Oliveira, Juliana Velasco C.; Diallo, Mawlouth; Zanotto, Paolo M. A.; Sall, Amadou Alpha; Bird, Brian (9 January 2014). "Molecular Evolution of Zika Virus during Its Emergence in the 20th Century". PLoS Neglected Tropical Diseases. 8 (1): e2636. doi:10.1371/journal.pntd.0002636. PMC 3888466. PMID 24421913.
  17. 17.0 17.1 Enfissi, Antoine; Codrington, John; Roosblad, Jimmy; Kazanji, Mirdad; Rousset, Dominique (16 January 2016). "Zika virus genome from the Americas". Lancet. 387 (10015): 227–8. doi:10.1016/S0140-6736(16)00003-9. PMID 26775124.
  18. Zanluca, C.; de Melo, V. C.; Mosimann, A. L.; Dos Santos, G. I.; Dos Santos, C. N.; Luz, K. (June 2015). "First report of autochthonous transmission of Zika virus in Brazil". Memorias do Instituto Oswaldo Cruz. 110 (4): 569–72. doi:10.1590/0074-02760150192. PMC 4501423. PMID 26061233.
  19. Kuno, G.; lChang, G.-J. J. (1 January 2007). "Full-length sequencing and genomic characterization of Bagaza, Kedougou, and Zika viruses". Archives of Virology. 152 (4): 687–696. doi:10.1007/s00705-006-0903-z. PMID 17195954.
  20. Lanciotti, Robert S.; Lambert, Amy J.; Holodniy, Mark; Saavedra, Sonia; Signor, Leticia del Carmen Castillo (2016). "Phylogeny of Zika Virus in Western Hemisphere, 2015". Emerging Infectious Diseases. 22 (5). doi:10.3201/eid2205.160065. สืบค้นเมื่อ 25 February 2016.[ลิงก์เสีย]

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

  • "Zika Virus". Division of Vector-Borne Diseases (DVBD), National Center for Emerging and Zoonotic Infectious Diseases (NCEZID). Centers for Disease Control and Prevention. 19 January 2016.