ไลต์โนเวล

รูปแบบนิยายของญี่ปุ่น

ไลต์โนเวล (ญี่ปุ่น: ライトノベルโรมาจิraito noberu) ย่อว่า LN หมายถึงนิยายประเภทหนึ่งจากประเทศญี่ปุ่น เป็นนิยายสำหรับวัยรุ่นโดยเฉพาะกลุ่มนักเรียนมัธยมปลาย ไลต์โนเวลหนึ่งเล่มมีความยาว 50,000 คำ[1] ซึ่งถือว่าใกล้เคียงกับเกณฑ์ขั้นต่ำของนวนิยายตะวันตก[2] ไลต์โนเวลนิยมตีพิมพ์ด้วยรูปเล่มขนาด A5

รูปแบบในการเขียน แก้

ในประเทศญี่ปุ่น ไลต์โนเวล แบบ "ต้นตำรับ" นั้นได้มีการนำการใช้ฟุริงะนะเข้ามาใช้เป็นอย่างมากด้วยสองเหตุผล หนึ่งคือสำหรับนักอ่านวัยเยาว์ที่ยังไม่ชำนาญในตัวอักษรคันจิให้สามารถเข้าใจในเนื้อหาได้ สองคือในหลาย ๆ เรื่องของ ไลต์โนเวล ผู้เขียนมักจะสร้างคำอ่านฟุริงะนะขึ้นมาใหม่ ซึ่งไม่สามารถพบเห็นได้ในการใช้ภาษาญี่ปุ่นทั่ว ๆ ไป

ในการเขียนไลต์โนเวลนั้น จะใช้เพียงแค่ประโยคสั้น ๆ ในหนึ่งย่อหน้ามีเพียงแค่ 1 หรือ 2 ประโยคเท่านั้น ซึ่งทำให้การอ่านเป็นไปได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น โดยจะมีลักษณะโดยรวมดังนี้

  1. พล็อตเรื่อง มีการวางพล๊อตที่มีส่วนคล้ายเกมส์หรือการ์ตูนอยู่มาก และมักมีกลิ่นของแฟนตาซีปะปนอยู่เสมอ
  2. ภาษาเข้าใจง่าย ดำเนินเรื่องไว มีตัวหนังสือน้อย กระชับฉับไว ไม่เน้นบรรยายหรือประโยคยืดยาวให้น่ารำคาญ
  3. ภายในรูปเล่มมีภาพประกอบแบบการ์ตูน-คอมมิคแทรกเป็นระยะ ๆ

ความสัมพันธ์กับภาพยนตร์อนิเมะ แก้

ด้วยความสามารถของหนังสือประเภท "ไลต์โนเวล" ที่โด่งดังในกลุ่มนั้นมีบ้างเรื่องที่สามารถ สร้างกระแสจนกลายเป็น อนิเมะหรือมังงะ เช่นเก็คคัง ดรากอน แมกกาซีน และ เดอะ สนีคเกอร์, เด็งเกคิ hp หรือแม้แต่นิตยสารในเครือ มีเดียมิกซ์ เช่น คอมพ์ทีค และ เด็งเกคิ G’s แมกกาซีน โดยเรื่องที่ได้ตีพิมพ์ได้แก่เรื่อง สเลเยอร์ส ฉบับนิยายซึ่งเป็นผลงานของ คันซากะ ฮาจิเมะ ซึ่งเรื่อง สเลเยอส์ นี้เองก็ได้เคยสร้างเป็นอนิเมะหรือมังงะในชื่อเดียวกัน

ในประเทศญี่ปุ่น ไลต์โนเวลเป็นที่นิยมมาก และสำนักพิมพ์ต่าง ๆ ก็ได้มีการจัดการประกวดไลต์โนเวล เพื่อค้นหาไลต์โนเวลที่เป็นที่น่าสนใจ ซึ่งถ้าหากเรื่องใดได้รับรางวัลชนะเลิศ ก็จะมีรางวัลสำหรับผู้จัดทำไลต์โนเวลเรื่องนั้น ๆ และผลงานของพวกเขายังได้รับการตีพิมพ์จัดจำหน่ายภายหลังการประกวด เช่น รางวัล เด็งเกคิ โนเวล ไพร์ซ ซึ่งเป็นรางวัลใหญ่ที่สุดซึ่งในแต่ละปีจะมีผู้ร่วมส่งผลงานกันเข้ามามากกว่า 2000 ชิ้น และเป็นแหล่งสร้าง ไลต์โนเวล ให้แก่วงการที่มีชื่อเสียง

สำนักพิมพ์ที่ตีพิมพ์ไลต์โนเวลในเมืองไทย แก้

  • บลิส พับลิชชิ่ง (ตีพิมพ์ใช้ชื่อ J-book light) เป็นสำนักพิมพ์ที่ตีพิมพ์เจ้าแรกในประเทศไทย
  • อนิแม็กบุ๊คส์ (ตีพิมพ์ใช้ชื่อ A-plus)
  • อมรินทร์บุ๊คส์ (ตีพิมพ์ใช้ชื่อ Phoenix Next)

ดูเพิ่ม แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

  1. "How 'not' to write a Light Novel". The Ranobe Cafe. 3 September 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 April 2012. สืบค้นเมื่อ 5 March 2017.
  2. "SFWA Novel Categories". Science Fiction and Fantasy Writers of America. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 March 2009. สืบค้นเมื่อ 5 March 2017.