ไมอา แคแซนดรา ซูทอโร-อิง (อักษรโรมัน: Maya Kasandra Soetoro-Ng; 15 สิงหาคม ค.ศ. 1970) เป็นสตรีลูกครึ่งอเมริกัน-อินโดนีเซีย และเป็นน้องสาวร่วมมารดากับบารัก โอบามา ประธานาธิบดีสหรัฐคนที่ 44 เดิมประกอบกิจเป็นครูสอนวิชาประวัติศาสตร์ในโรงเรียนมัธยมศึกษา[1] ปัจจุบันทำงานเป็นผู้เชี่ยวชาญในมหาวิทยาลัย และเป็นผู้อำนวยการศูนย์ช่วยเหลือชุมชนและการเรียนรู้เกี่ยวกับสังคมโลกของสถาบันสปาร์ก เอ็ม. มัตสึนางะเพื่อสันติภาพและแก้ปัญหาความขัดแย้ง (Spark M. Matsunaga Institute for Peace & Conflict Resolution) ตั้งอยู่ในวิทยาลัยสังคมและวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยฮาวาย มาโนอา

ไมอา ซูทอโร-อิง
เกิดไมอา แคแซนดรา ซูทอโร
(1970-08-15) 15 สิงหาคม ค.ศ. 1970 (53 ปี)
จาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย
การศึกษาวิทยาลัยบาร์นาร์ด (ศศ.บ.)
มหาวิทยาลัยนิวยอร์ก (ศศ.ม.)
มหาวิทยาลัยฮาวาย มาโนอา
(ปร.ด.)
พรรคการเมืองเดโมแครต
คู่สมรสคอนราด อิง (สมรส 2003)
บุตรซูไฮลา, ซาวีตา
บิดามารดาโลโล ซูโตโร
แอนน์ ดันแฮม
ญาติบารัก โอบามา (พี่ชายต่างพ่อ)
ลายมือชื่อ

ประวัติ แก้

ไมอาเกิดที่โรงพยาบาลเซนต์กาโรลุส ซึ่งเป็นโรงพยาบาลคาทอลิกในกรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย[2] เป็นบุตรสาวของแอนน์ ดันแฮม นักมานุษยวิทยาวัฒนธรรมชาวอเมริกัน กับโลโล ซูโตโร นักธุรกิจชาวอินโดนีเซีย และเป็นน้องสาวต่างบิดาของบารัก โอบามา ประธานาธิบดีสหรัฐคนที่ 44 เธอกล่าวว่าชื่อตั้งตามมายา แองเจอโล (Maya Angelou) กวีหญิงชาวอเมริกัน[3]

ทั้งบารักและไมอาใช้ชีวิตไปมาระหว่างฮาวายกับอินโดนีเซียหลายปี ก่อนที่แม่จะตัดสินใจเลือกไปใช้ชีวิตที่อินโดนีเซียกับเธอ[1] แต่หลังการหย่าร้างของพ่อแม่ โลโลสมรสใหม่ ไมอาจึงมีน้องต่างแม่อีกสองคนคือ ยูซุฟ อาจี ซูโตโร (เกิด ค.ศ. 1981) และราฮายู นูร์ไมดา ซูโตโร (เกิด ค.ศ. 1984)[4]

ขณะที่ยังอยู่ในอินโดนีเซีย เธอเรียนในรูปแบบการจัดการศึกษาในครอบครัวโดยมีมารดาเป็นผู้สอน และเคยเข้าเรียนโรงเรียนนานาชาติจาการ์ตาช่วง ค.ศ. 1981–1984[5] ต่อมาเธอย้ายกลับไปฮาวายและเข้าเรียนที่โรงเรียนปูนาโฮอูในโฮโนลูลูที่เดียวกับบารักพี่ชาย[6] จนสำเร็จการศึกษาใน ค.ศ. 1988[7]

เธอสำเร็จการศึกษาศิลปศาสตรบัณฑิตจากวิทยาลัยบาร์นาร์ดแห่งมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย[8] สำเร็จการศึกษาศิลปศาสตรมหาบัณฑิตด้านการศึกษาภาษา และอักษรศาสตรมหาบัณฑิตด้านการศึกษาระดับมัธยมจากมหาวิทยาลัยนิวยอร์ก[9] และในปี ค.ศ. 2006 ได้รับปรัชญาดุษฎีบัณฑิตด้านการศึกษานานาชาติเปรียบเทียบจากมหาวิทยาลัยฮาวาย มาโนอา[10]

ชีวิตส่วนตัว แก้

ไมอาสมรสกับคอนราด อิง (จีน: 吴加儒) ชาวแคนาดาเชื้อสายจีนจากเมืองเบอร์ลิงตัน รัฐออนแทริโอ[11][12] เมื่อ ค.ศ. 2003[13] สามีมีพื้นเพเป็นชาวมาเลเซียเชื้อสายจีน ปัจจุบันถือสัญชาติอเมริกัน[14] เขาเคยเป็นผู้อำนวยการศูนย์สมิทโซเนียนเอเชียแปซิฟิกอเมริกา และเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์สถาบันออกแบบสื่อสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยฮาวาย[15] ปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์ดอรีสดุ๊กแชงกรีลาเพื่อศิลปะและวัฒนธรรมอิสลามในฮาวาย (Doris Duke Shangri La Center for Islamic Arts and Culture in Hawaii) เมืองโฮโนลูลู รัฐฮาวาย ทั้งสองมีบุตรสาวสองคนคือซูไฮลา[15] และซาวีตา

ไมอานิยามตนเองว่าเป็นชาวพุทธปรัชญา (philosophically Buddhist)[16] เธอพูดภาษาอินโดนีเซีย,[17] สเปน[18] และอังกฤษ

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ MayaNYT
  2. "Obama Family Tree". dgmweb.net.
  3. Clark, Paul C. (กันยายน 25, 2008). "Obama's Better Half Appeals To Women". Rhinoceros Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ กรกฎาคม 22, 2012. สืบค้นเมื่อ ตุลาคม 28, 2008.
  4. Habib, Ridlwan (พฤศจิกายน 5, 2008). "Keluarga Besar Lolo Soetoro, Kerabat Dekat Calon Presiden Amerika/Lolo Soetoro's Extended Family, Close Relatives to American Presidential Nominee". Jawa Pos Daily. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ กุมภาพันธ์ 25, 2009.
  5. Nakaso, Dan (September 12, 2008). "Obama's mother's work focus of UH seminar". Honolulu Advertiser. สืบค้นเมื่อ 2012-05-14.
  6. "Half sister launches Hawaii family support for Obama". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-09-14. สืบค้นเมื่อ 2019-03-17.
  7. Carlyn Tani (Spring 2007). "A kid called Barry: Barack Obama '79". Punahou Bulletin. Punahou School. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 21, 2008. สืบค้นเมื่อ March 12, 2009.
  8. "On NPR, Susan Stamberg '59 interviews Maya Soetoro-Ng '93". สืบค้นเมื่อ 2012-05-14.
  9. "Barack Obama and Joe Biden: The Change We Need". Konrad's Blog. barackobama.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-01-23. สืบค้นเมื่อ January 20, 2009.
  10. "Convention 2008: Siblings Of Barack And Michelle Obama To Speak Tonight". Democratic National Convention 2008. August 25, 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 25, 2008. สืบค้นเมื่อ 2012-05-14.
  11.   Nolan, Daniel (June 11, 2008). "Obama's Burlington connection". The Hamilton Spectator.[ลิงก์เสีย] (ต้องรับบริการ)
  12. Misner, Jason (June 20, 2008). "Barack Obama was here". Burlington Post. สืบค้นเมื่อ July 3, 2008.
  13. Nolan, Daniel (June 11, 2008). "Relative: Obama's got 'a good handle on Canada'". The Hamilton Spectator. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-09-02. สืบค้นเมื่อ July 3, 2008.
  14. Cooper, Tom (January 20, 2009). "Keep watch for Obama". The Hamilton Spectator. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-03. สืบค้นเมื่อ January 28, 2009.
  15. 15.0 15.1 Fornek, Scott (กันยายน 9, 2007). "'He helped me find my voice'". Chicago Sun-Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ มกราคม 22, 2009.
  16. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ NY Times Magazine
  17. Green, Stephanie; Glover, Elizabeth (August 10, 2009). "Sister and niece act". The Washington Times. สืบค้นเมื่อ September 6, 2009.
  18. Goodman, Ellen (January 25, 2008). "Transcending race and identity". The Boston Globe. สืบค้นเมื่อ August 31, 2009.