ไพ่นกกระจอก (จีนตัวเต็ม: 麻將; จีนตัวย่อ: 麻将; พินอิน: má jiàng; หรือ จีนกวางตุ้ง: 麻雀; พินอิน: má què; แต้จิ๋ว: เหมาะเจี๊ยะ moh4 ziah8; ฮกเกี้ยน: มัวเจียง; อังกฤษ Mahjong) ถือว่าเป็นการพนันชนิดหนึ่งซึ่งคนจีนเป็นผู้เผยแพร่ แต่สำหรับที่ประเทศจีนนั้นเขามีการสนับสนุนให้มีการเล่นนี้ เพราะถือว่าเป็นสิ่งที่ควรอนุรักษ์แต่ก็ต้องอยู่ภายใต้กฎหมายที่ได้วางไว้ โดยห้ามเล่นเกินเที่ยงคืน

ไพ่นกกระจอก
ประเภทของเกมMind sport
Tile-based game
Abstract strategy game
จำนวนผู้เล่น3 หรือ 4 คน
ระยะเวลาติดตั้ง1–5 นาที
ระยะเวลาเล่นขึ้นกับกฎ
โอกาสสุ่มปานกลาง
ทักษะที่จำเป็นกลวิธี, การสังเกต, ความจำ, การปรับกลยุทธ์
ไพ่นกกระจอก
"ไพ่นกกระจอก" (หมาเจี้ยง) เขียนเป็นอักษรจีนตัวเต็ม (บน) และอักษรจีนตัวย่อ (ล่าง)
ชื่อภาษาจีน
อักษรจีนตัวเต็ม麻將
อักษรจีนตัวย่อ麻将
ชื่อดั้งเดิม/ชื่อภาษาถิ่นใต้
อักษรจีนตัวเต็ม麻雀
อักษรจีนตัวย่อ麻雀
ความหมายตามตัวอักษร"นกกระจอก"
ชื่อภาษาเวียดนาม
ภาษาเวียดนามmạt chược
ชื่อภาษาเกาหลี
ฮันกึล
마작
ฮันจา
麻雀
ชื่อภาษาญี่ปุ่น
คันจิ麻雀
คานะマージャン
การถอดเสียง
โรมาจิmājan

ร่องรอยประวัติศาสตร์ของไพ่นกกระจอกสามารถพิสูจน์ได้ครึ่งหลัง ปี ค.ศ.1890 ใน ดินแดน Ning Po ประเทศจีน ไพ่นกกระจอกได้แพร่หลายไปทั่วจีน ซึ่งแต่ละพื้นเมืองของจีนก็มีการประยุกต์เกมกันไปต่างก็มีกฎเป็นตัวของตัวเองแตกต่างกัน หลังสงครามโลก โจเซฟ บาบคอก (Joseph Babcock) แพทย์ฝึกหัดชาวอเมริกาในเซี่ยงไฮ้ ได้จัดพิมพ์คู่มือเล่นไพ่นกกระจอกตามคำแนะนำของ Walker วิศวกรชาวอังกฤษ ว่าให้เพิ่มตัวเลขอารบิกลงไปบนตัวหมากซึ่งทำให้จำแนกตัวหมากได้และง่ายต่อการเล่น

หน้าตาไพ่และอุปกรณ์ แก้

ไพ่นกกระจอกจะมีไพ่ทั้งหมด 5 ชุดมาตรฐานด้วยกัน ได้แก่ ชุดท้ง ชุดเสาะ ชุดบ่วง ชุดทิศทั้งสี่ และชุดมังกร ผู้เล่นไพ่นกกระจอกบางกลุ่มอาจจะมีทั้ง 7 ชุดด้วยกัน โดยชุดที่เพิ่มมานั่นคือ ชุดดอกไม้และชุดฤดูกาล

Numbers
1 2 3 4 5 6 7 8 9
ชุด ท้ง                  
เสาะ                  
บ่วง                  

ชุดทิศ แก้

ทิศ (หรือลม) มีทั้งหมด 4 ทิศ ได้แก่ ตัง (ตะวันออก), หน่ำ (ใต้), ไซ (ตะวันตก) และปัก (เหนือ) แต่ละทิศมีอย่างละ 4 ตัว รวมทั้งหมด 16 ตัว

ลม
ตะวันออก ใต้ ตะวันตก เหนือ
       
มังกร
แดง เขียว ขาว
     

ชุดดอกไม้ แก้

มีพันธุ์ดอกไม้ด้วยกัน 4 พันธุ์ ได้แก่ พลัม กล้วยไม้ เก็กฮวยและไผ่ ชุดนี้ก็จะมีอักษรจีนเขียนกำกับไว้เช่นเดียวกัน แต่ละพันธุ์ไม้มีอย่างละ 1 ตัว รวมทั้งหมดมี 4 ตัวด้วยกัน ชุดพันธุ์ไม้นี้ผู้เล่นบางกลุ่มอาจจะไม่นับชุดนี้มาเล่น

ดอกไม้
ลำดับ รูป ชื่อ อักษรจีน ทิศ
1   ชุดดอกไม้ ตะวันออก
2   กล้วยไม้ ใต้
3   เก็กฮวย ตะวันตก
4   ไผ่ เหนือ

ชุดฤดูกาล แก้

มีลักษณะคล้ายๆ รูปดอกไม้ แต่มีจะมีอักษรจีนกำกับไว้ว่าเป็นฤดูอะไร จะมีฤดูด้วยกัน 4 ฤดู ได้แก่ ฤดูใบไม้ผลิ ฤดูร้อน ฤดูใบไม้ร่วง และฤดูหนาว แต่ละฤดูมีอย่างละ 1 ตัวด้วยกัน ดังนั้นจึงมีทั้งหมด 4 ตัว ชุดฤดูกาลนี้ผู้เล่นบางกลุ่มอาจจะไม่นับชุดนี้เข้ามาเล่นเช่นกัน

ลำดับ รูป ชื่อ อักษรจีน ทิศ
1   ฤดูใบไม้ผลิ ตะวันออก
2   ฤดูร้อน, ใต้
3   ฤดูใบไม้ร่วง ตะวันตก
4   ฤดูหนาว เหนือ

ลูกเต๋าและตัวกำหนดทิศ แก้

การเล่นไพ่นกกระจอกขาดไม่ได้เลยก็คือ ลูกเต๋า 3 ลูก และตัวกำหนดทิศ ซึ่งจะกำหนด 4 ทิศหลักเท่านั้น ซึ่งก็คือ ทิศตะวันออก ทิศใต้ ทิศตะวันตกและทิศเหนือ

โต๊ะ แก้

โต๊ะสี่เหลี่ยม 36×36 นิ้ว หรือแล้วแต่ตามสะดวกของผู้เล่น

วิธีการเล่น แก้

กฎ แก้

มีการกำหนดกฎก่อนการเล่น อย่างเช่น ตัวเลขมากที่สุดของคะแนนในการชนะและการชนะแบบพิเศษ

จำนวนผู้เล่น แก้

ผู้เล่น 4 คน (2, 3 คนก็เล่นได้)

ชนะอย่างไร แก้

ไพ่นกกระจอกเป็นการสะสมไพ่ให้ครบ 4 กลุ่มจากการ “เฉ่า”, “ผ่อง” หรือ “กั่ง” และต้องมีคู่ไพ่ที่เหมือนกันเรียกว่า “หนั่ง” เวลาชนะผู้ชนะต้องพูด “เหมาะเจี๊ยะ”

ตัวอย่างการ “เฉ่า” จากชุด 4,5,6 ท้ง 4,5,6 บ่วง และ 4,5,6 เสาะ (บนลงล่าง)

เฉ่า แก้

“เฉ่า” คือเรียงลำดับตัวไพ่ในชุดเดียวกัน 3 ตัว จากไพ่ชุดใดๆ ก็ได้ เป็นการเก็บไพ่จากผู้เล่นที่มีตำแหน่งทิศสูงว่าเราซึ่งก็คือคนที่นั่งทางซ้ายมือเรา เมื่อเขาทิ้งไพ่ลงมาแล้วในมือเรามีไพ่ชุดเดียวกันในมือ 2 ตัว (ต้องเป็นการเรียงลำดับ) เราต้องพูดว่า “เฉ่า” เพื่อที่เราจะได้เก็บไพ่ขึ้นมาเป็นของเรา และต้องเปิดไพ่ที่เราเลือกนำมาเรียงเป็นลำดับด้วย 3 ตัว


ตัวอย่างการ “ผ่อง” จากชุด 8 บ่วง 5 เสาะ และ 2 ท้ง (บนลงล่าง)

ผ่อง แก้

“ผ่อง” คือ กลุ่มไพ่ที่มีไพ่ 3 ตัวเหมือนกันจากชุดไพ่ใดๆ ก็ได้ เป็นการเก็บไพ่จากที่ผู้เล่นอื่นทิ้งไพ่ลงมาสามารถเก็บได้จากผู้เล่นทุกคน การ “ผ่อง” นี้เราต้องมีไพ่แบบเดียวกันในมือ 2 ตัว เมื่อผู้เล่นใดๆ ทิ้งไพ่แบบที่เรามีเราต้องพูดออกไปว่า “ผ่อง” แล้วเราจะเก็บไพ่ตัวนั้น (การ “ผ่อง” สามารถเก็บไพ่ข้ามต่ำแหน่งทิศได้) และต้องเปิดกลุ่มไพ่ที่เรา “ผ่อง” ด้วย

ตัวอย่างวิธี “กั่ง” ชุดมังกรตัว “ตง”


กั่ง แก้

“กั่ง” คือไพ่ตัวเดียวกัน 4 ตัว จากชุดไพ่ใดๆ ก็ได้ การ “กั่ง” สามารถ “กั่ง” ได้ 2 วิธี

  • “กั่ง” เป็นการเก็บไพ่มีหลักคล้ายๆ การ “ผ่อง” คือเราต้องมีไพ่ที่เหมือนกันในมือ 3 ตัวอยู่แล้ว เมื่อผู้เล่นใดๆ ทิ้งไพ่แบบที่เรามีในมือลงมาเราต้องพูด “กั่ง” จึงสามารถเก็บไพ่และต้องเปิดไพ่ด้วย แต่ที่แตกต่างไปจากการ “ผ่อง” คือ การ “กั่ง” สามารถจั่วไพ่เพิ่มได้อีก 1 ตัว จากไพ่ตัวสุดท้ายที่คว่ำที่อยู่แถวสุดท้าย
  • “กั่ง” โดยที่เรามีไพ่เหมือนกันอยู่แล้ว 3 ตัวในมือและเราสามารถจั่วไพ่ตัวที่ 4 ขึ้นมาได้ให้พูด “กั่ง” และเปิดไพ่ และสามารถจั่วไพ่เพิ่มได้อีก 1 ตัว จากไพ่ตัวสุดท้ายที่คว่ำอยู่แถวสุดท้าย

หนั่ง แก้

“หนั่ง” คือ ไพ่ 2 ตัวเหมือนกันจากชุดไพ่ใดๆ ก็ได้ไม่ว่าจะเป็นชุดท้ง, เสาะ, บ่วง, มังกรหรือทิศ “หนั่ง” นี้ไม่ได้เป็นหนึ่งวิธีในการเก็บไพ่ แต่มันเป็นคู่ไพ่ที่สำคัญมาก หากผู้เล่นใดสามารถสะสมไพ่ครบ 4 กลุ่มแล้วแต่หากขาดคู่ “หนั่ง” นี้ก็ยังไม่ชนะ (สามารถดูตัวอย่างได้จาก การชนะแต่ละประเภท)

การสร้างกำแพง แก้

  • หมายเหตุ ในบทความนี้จะกล่าวถึงการเล่นไพ่นกกระจอกโดยการใช้ชุดไพ่มาตรฐาน 5 ชุดด้วยกัน

นำไพ่ทั้ง 5 ชุดซึ่งได้แก่ ชุดท้ง, เสาะ, บ่วง, ทิศและมังกร มาคว่ำหน้าแล้วล้างไพ่ จากนั้นให้ผู้เล่นต่างช่วยกันสร้างกำแพงทั้งสี่ด้านขึ้นมาโดยให้ยาวด้านละ 17 ตัว 2 ชั้น (หมายถึงมีด้านบนและด้านล่างยาว 17 ตัวเท่ากัน) จากนั้นดันกำแพงที่ผู้เล่นสร้างมาไว้ด้านหน้าให้ตั้งเป็นแนวเฉียงล้อมให้เป็นกรอบสี่เหลี่ยมทั้ง 4 ด้าน

ความสัมพันธ์ของผู้เล่น แก้

การเล่นไพ่นกกระจอกจะมีการกำหนดทิศของผู้เล่นแต่ละคนโดยในที่นี้ทิศตะวันออก (เจ้ามือ) สูงกว่าทิศใต้ ทิศใต้สูงกว่าทิศตะวันตก ทิศตะวันตกสูงกว่าทิศเหนือ และทิศเหนือสูงกว่าทิศตะวันออก

เจ้ามือ คือผู้เล่นตำแหน่งทิศตะวันออกจะมีสิทธิในการทอยลูกเต๋า เพื่อเป็นตัวกำหนดว่าจะเริ่มหยิบไพ่จากกำแพงด้านใด ตัวที่เท่าไรในเกมนั้นๆ

ตำแหน่ง แก้

 
  1. ตำแหน่งของผู้เล่นถูกกำหนดโดยทิศให้นับทวนเข็มนาฬิกาเริ่มที่ ทิศตะวันออก, ทิศใต้, ทิศตะวันตกและทิศเหนือ
  2. เมื่อผู้เล่นใดๆ คนหนึ่งชนะ (ไม่นับเจ้ามือ) ผู้เล่นในตำแหน่งทิศที่ต่ำกว่าได้เป็นเจ้ามือต่อไป และตำแหน่งทิศก็จะเปลี่ยนไป
  3. ถ้าเจ้ามือเป็นฝ่ายชนะตำแหน่งยังคงเป็นเหมือนเดิมไม่มีการเปลี่ยนแปลง

รอบและการเปลี่ยนรอบ แก้

การเริ่มเล่นทุกครั้งจะอยู่ที่ทิศตะวันออกเล่นให้ครบ 4 คนแล้วจึงเปลี่ยนทิศถัดไปเรื่อยๆ อย่างนี้จนถึงทิศเหนือครบสี่คนเป็นอันจบเกม (ตำแหน่งทิศของผู้เล่นก็จะเปลี่ยนไปด้วย) ไพ่นกกระจอกในการเล่นแต่ละรอบอาจจะมากกว่า 4 รอบก็ได้หากผู้ชนะเป็นคนเดิม

การเริ่มเกม แก้

ตั้งกำแพงเรียบร้อยแล้วให้ผู้เล่นคนใดคนหนึ่งทอยลูกเต๋า (โยนในกำแพง) เพื่อกำหนดตำแหน่งเริ่มเกม

  • หมายเหตุ ในที่นี้ผลหน้าลูกเต๋าคือ 4
  1. กำหนดตำแหน่งเริ่มเกม สุ่มตำแหน่งเริ่มเล่นโดยการทอยลูกเต๋าแล้วนับทวนเข็มนาฬิกา เมื่อนับแล้วไปลงที่ใครคนนั้นก็เป็นทิศตะวันออก
  2. การหยิบไพ่ ขึ้นอยู่กับตัวเลขบนหน้าลูกเต๋าในที่นี้สมมุติลูกเต๋าออกมาเป็น 4
    1. นับทวนเข็มนาฬิกาเริ่มจากเจ้ามือไป เมื่อไปจบที่หน้าใครก็แสดงว่ากำแพงทิศนั้นจะเป็นกำแพงที่จะหยิบไพ่ (ในที่นี้คือทิศเหนือ)
    2. ให้นับตัวไพ่ไปตามตัวเลขบนหน้าลูกเต๋าตามเข็มนาฬิกา (ผลลูกเต๋าออกมา 4 ก็นับไป 4 แล้วจึงจะเริ่มหยิบตัวที่ 5)
    3. เจ้ามือ (ผู้เล่นทิศตะวันออก) จะเป็นคนหยิบไพ่ก่อน ให้หยิบสี่ตัว (ตัว ab จะได้ไพ่ 4 ตัวเพราะมีด้านบนและด้านล่าง) จากนั้นผู้เล่นทิศใต้, ตะวันตก และทิศเหนือจะได้เป็นผู้หยิบไพ่เรียงตามลำดับ ทำซ้ำไปเรื่อยๆ จนผู้เล่นทุกคนได้ไพ่ครบ 12 ตัว
    4. เจ้ามือเริ่มหยิบไพ่ 1 ตัว และหยิบไพ่ข้ามบล็อกไป 1 ตัว ดังภาพ ส่วนผู้เล่นคนอื่นๆ หยิบไปคนละ 1 ตัว (เวลาเล่นผู้เล่นทุกคนจะมีไพ่อยู่ในมือทั้งหมด 13 ตัว ส่วนตัวที่ 14 ของเจ้ามือที่หยิบไพ่ขึ้นมานั้นเป็นตัวจั่ว)
    5. เจ้ามือมีไพ่อยู่ในมือทั้งหมด 14 ตัว ผู้เล่นคนอื่นๆ มีทั้งหมด 13 ตัว
    6. ในกรณีที่ผลหน้าลูกเต๋าออกมาเป็น 17
      1. ให้เจ้ามือนับทวนเข็มนาฬิกาโดยเริ่มนับที่ตำแหน่งทิศตะวันออก เราจะเห็นได้ว่ามันจะเป็นกำแพงที่หน้าทิศตะวันออก
      2. ให้นับจากด้านขวาของกำแพงที่ 17 นับตัวไพ่ไป 17 ตัว จะเห็นว่ามันหมดกำแพงที่ 17 ไม่ต้องตกใจก็ให้หยิบไพ่ตัวถัดไปจากกำแพงถัดไปได้เลย
  3. เจ้ามือทิ้งไพ่ลงมา 1 ตัวซึ่งเป็นไพ่ที่ไม่ต้องการ จากนั้นผู้เล่นตำแหน่งทิศถัดไปจะจั่วไพ่ขึ้นมาไว้ในมือและทิ้งไพ่ที่ไม่ต้องการออกไป (ให้ผู้เล่นทุกคนทิ้งไพ่ที่ไม่ต้องการให้อยู่ในกรอบกำแพง)
  4. ไพ่ที่ไม่ต้องการของผู้อื่นอาจจะมีประโยชน์กับเรา ดังนั้นควรดูให้ดีๆ ว่าเราคอยไพ่อะไรอยู่และเขาทิ้งไพ่อะไรลงมา
    1. ตะโกน “เฉ่า” ออกไปหากผู้เล่นในตำแหน่งที่สูงกว่าเรา(ผู้เล่นที่นั่งทางซ้ายมือของเรา)ทิ้งไพ่ที่เราคอยอยู่และเราต้องเปิดไพ่ที่เรา “เฉ่า” ขึ้นมาด้วย (ดูคำอธิบายเพิ่มที่ ชนะอย่างไร: “เฉ่า”)
    2. ตะโกน “ผ่อง” ออกไปหากผู้เล่นใดๆ ทิ้งไพ่ที่เราคอยอยู่และเราต้องเปิดไพ่ที่เรา “ผ่อง” ด้วย (ดูคำอธิบายเพิ่มที่ ชนะอย่างไร: “ผ่อง”)
    3. ตะโกน “กั่ง” ออกไปหากผู้เล่นใด ทิ้งไพ่ที่เรามีอยู่ในมือแล้ว 3ตัว หรือเราจั่วตัวที่ 4 ขึ้นมาได้ และเราจะได้หยิบไพ่ตัวพิเศษ (ดูคำอธิบายเพิ่มที่ ชนะอย่างไร: “กั่ง”)
    4. หากผู้เล่นใดๆ ทิ้งไพ่ลงมาและมีคนร้อง “เหมาะเจี๊ยะ” ถือว่าจบเกม ผู้เล่นอื่นๆ ที่จะ “เฉ่า”, “ผ่อง” หรือ “กั่ง” ไม่มีสิทธิในการเก็บไพ่ตัวนั้นแล้ว ผู้ชนะจะต้องเปิดไพ่ให้ทุกคนดูด้วย และผู้เล่นคนอื่นๆ ก็จะเปิดไพ่เช่นกัน
    5. “กั่ง” มีสิทธิในการเก็บไพ่มากกว่า “เฉ่า” และ “ผ่อง” มีสิทธิในการเก็บไพ่มากกว่า “เฉ่า” (ดูคำอธิบายเพิ่มที่ ชนะอย่างไร)
  5. ถ้าไพ่ที่ทิ้งลงมามันไม่มีประโยชน์สำหรับใครก็ให้ผู้เล่นคนถัดไปจั่วไพ่ขึ้นมาจากกำแพงขึ้นมา และทิ้งไพ่ที่ไม่ต้องการออกไป
  6. เกมจะจบก็ต่อเมื่อมีคนร้อง “เหมาะเจี๊ยะ” ถ้าเจ้ามือเป็นฝ่ายชนะตำแหน่งยังคงเป็นเหมือนเดิม แต่ถ้าผู้เล่นคนอื่นเป็นฝ่ายชนะผู้เล่นในตำแหน่งทิศที่ต่ำกว่าจะได้เป็นเจ้ามือถัดไป และเป็นผู้ทอยลูกเต๋าเพื่อสุ่มตำแหน่งกำแพงต่อไป
  7. เมื่อกำแพงไพ่เหลือ 14 ตัว (7 บล็อก) เกมจะเริ่มใหม่อีกครั้งที่เจ้ามือคนเดิมและตำแหน่งทิศเดิม

การชนะ แก้

  1. ในการชนะทุกครั้งต้องมีคู่ “หนั่ง” คือไพ่ที่หน้าตาเหมือนกันในมือ 2 ตัว และรวมไพ่ที่เรามีจากการ “เชา” “ผ่อง” และ/หรือ “กั่ง” ยกเว้นกรณีการชนะในกรณีพิเศษ (ดูเพิ่มที่ ชนะอย่างไร: “หนั่ง”, ประเภทในการชนะในกรณีพิเศษ)
  2. ถ้าผู้เล่นสองคนต้องการไพ่ตัวเดียวกันในการชนะ ผู้เล่นในตำแหน่งที่ต่ำกว่าสิทธิก่อน (หมายถึง ผู้เล่นที่นั่งในตำแหน่งที่ใกล้ที่สุดในการเวียนรอบ)

มือตาย แก้

ถ้าผู้เล่นพบว่าไพ่ในมือตนเองมีการเรียงลำดับที่ต่างกันมากตัดสินใจยากในการทิ้งไพ่ในกรณีนี้เรียกมือตาย ผู้เล่นจะไม่สามารถชนะในเกมนี้ได้และต้องรอเล่นเกมนี้ให้จบ

คะแนนพื้นฐาน แก้

  1. ผู้เล่นแต่ละคนจะมีชิปเท่าๆ กัน ส่วนแต่ละชิบมีค่าเท่าไรขึ้นอยู่กับการตกลงของผู้เล่นเอง
  2. ผู้เล่นที่ทิ้งไพ่ให้คนอื่นชนะต้องจ่ายเป็นสองเท่า
  3. ถ้าผู้เล่นสามารถชนะได้ด้วยการจั่วไพ่ขึ้นมาเอง ผู้เล่นทุกคนต้องจ่ายให้สองเท่า

การชนะแต่ละประเภท แก้

การชนะในการเล่นไพ่นกกระจอกนี้จะมีผู้ชนะเพียง 1 คน เท่านั้น ยกเว้นในบางกรณีที่ไม่มีผู้ชนะให้เริ่มเกมใหม่ในตำแหน่งเดิม

ผู้เล่นที่ทิ้งไพ่ให้คนอื่นชนะจะต้องจ่ายเป็นสองเท่า หากผู้เล่นสามารถชนะได้ด้วยการจั่วไพ่ขึ้นมาเอง ผู้เล่นทุกคนต้องจ่ายเป็นสองเท่าให้แก่ผู้ชนะ ในกรณีที่มีผุ้ชนะ 2 คน ให้ผู้เล่นในตำแหน่งที่ใกล้ที่สุดในการเวียนรอบเป็นฝ่ายชนะ (ดูที่คะแนนพื้นฐาน)

เนื่องด้วยบทความนี้ไม่สนับสนุนให้เล่นเชิงการเล่นพนัน ดังนั้นจึงไม่ขอบอกว่าวิธีชนะแต่ละวิธีนั้นจะได้มากน้อยเท่าไร

  • สังเกต เวลาชนะผู้เล่นจะต้องมีไพ่อยู่ในมือทั้งหมด 14 ตัว ยกเว้นในกรณีที่ผุ้เล่นมีการ "กั่ง"

ไค่วู่ แก้

ไค่วู่ เป็นการชนะด้วย “ผ่อง”, “เฉ่า” หรือ “กั่ง” จากชุดไพ่ใดๆ ก็ได้และที่สำคัญต้องมีคู่ “หนั่ง” ด้วย

              

พิงวู่ แก้

พิงวู่ เป็นการชนะด้วย “เฉ่า” อย่างเดียวเท่านั้น ซึ่งจะ “เฉ่า” จากชุดไพ่ใดๆ ก็ได้ และห้ามลืมคู่ “หนั่ง”

              

ยัดฟาน แก้

  • ชนะด้วย “เฉ่า”, “ผ่อง” หรือ “กั่ง” จากชุดไพ่ใดๆ ก็ได้ แต่ต้องมี “ผ่อง” และ/หรือ “กั่ง” จากชุดมังกรด้วยจะเป็นพันธุ์อะไรก็ได้ 1 พันธุ์ หรือไพ่ทิศซึ่งต้องถูกต้องกับรอบทิศหรือถูกต้องจากทิศตำแหน่งที่นั่งของผู้ชนะ

              

  1. เหมือนกับ ไค่วู่ แต่จะแตกต่างตรงที่ผู้ชนะนั้นต้องจั่วไพ่ขึ้นมาได้เองถึงจะเป็น ยัดฟาน

เหลียงฟาน แก้

  • “เฉ่า”, “ผ่อง” หรือ “กั่ง” จากชุดไพ่ต่างๆ มีคู่ “หนั่ง” และต้องมี “ผ่อง” และ/หรือ “กั่ง” จากชุดมังกรด้วย 2 พันธุ์ หรือไพ่ทิศที่ต้องถูกต้องจากรอบทิศหรือถูกต้องจากทิศตำแหน่งที่นั่งของผู้ชนะ

              

  • เหมือนกับ ยัดฟาน แต่ผู้ชนะต้องจั่วไพ่ได้เองถึงจะเป็น เหลียงฟาน
  • เหมือนกับ พิงวู่ เพียงแต่ผู้ชนะต้องจั่วไพ่ได้เองถึงจะนับว่าเป็น เหลียงฟาน

ซัมฟาน แก้

  • ชนะด้วยการ “เฉ่า”, “ผ่อง หรือ “กั่ง” จากชุดไพ่เดียวกัน และคู่ “หนั่ง” ต้องมาจากชุดมังกร 1 พันธุ์ หรือไพ่ทิศที่ถูกต้องจากรอบทิศหรือถูกต้องจากทิศตำแหน่งผู้ชนะ

              

  • เป็นการชนะด้วยการ “ผ่อง” และ/หรือ “กั่ง” จากไพ่ใดๆ ก็ได้ เป็นจำนวน 3 กลุ่ม และ “ผ่อง” หรือ “เฉ่า” ก็ได้จำนวนอีก 1 กลุ่ม ห้ามลืมคู่ “หนั่ง” จากไพ่ชุดใดๆ ก็ได้ (หากเป็นการ “ผ่อง” และ/หรือ “กั่ง” จากไพ่ชุดมังกรทั้ง 3 พันธุ์, “ผ่อง” หรือ “เฉ่า” ก็ได้อีกจำนวน 1 กลุ่ม และคู่ “หนั่ง” เป็นอะไรก็ได้ ให้ไปดูที่ วิธีการชนะในกรณีพิเศษไทซัมเหยิน)

เซฟาน แก้

เหมือนกับ ซัมฟาน นอกจากผู้ชนะต้องจั่วไพ่ขึ้นมาได้เองถึงจะเป็น เซฟาน

งี่ฟาน แก้

  • ผู้เล่นชนะด้วยการ “เฉ่า”, “ผ่อง” หรือ “กั่ง” และคู่ “หนั่ง” มาจากไพ่ชุดเดียวกันทั้งหมด และสามารถรวม 2 กลุ่ม จากการ “ผ่อง” และ/หรือ “กั่ง” จากชุดมังกร 2 พันธุ์ หรือไพ่ทิศซึ่งจะต้องถูกต้องจากรอบทิศและทิศตำแหน่งที่นั่งของผู้ชนะ

              

  • ชนะด้วยการ “เฉ่า”, “ผ่อง” หรือ “กั่ง” และคู่ “หนั่ง” มาจากไพ่ชุดเดียวกันทั้งหมด

ประเภทการชนะในกรณีพิเศษ แก้

ผู้ที่เล่นไพ่นกกระจอกและสามารถชนะผู้อื่นได้ 4 ประเภทต่อไปนี้ถือว่าเป็นบุญของนักเล่นมาก เพราะการชนะผู้อื่นด้วย 4 ประเภทนี้ถือได้ว่ามีโอกาสน้อยมาก

ซับซัมหยิว แก้

ซับซัมหยิว จะชนะด้วยประเภทนี้จะต้องมีหนึ่งกับเก้าในแต่ละชุด (1,9 ชุดท้ง 1,9 ชุดเสาะ 1,9 ชุดบ่วง) มังกรสามพันธุ์ ทิศทั้งสี่ และในประเภทนี้คู่ “หนั่ง” เป็นตัวอะไรก็ได้ที่ในมือเรามี

              

เชียงหยิว แก้

เชียงหยิว ส่วนมากเป็นการชนะด้วย “ผ่อง” และ/หรือ “กั่ง” หนึ่งและเก้าจากทุกชุด และต้องมีคู่ “หนั่ง” ด้วยซึ่งต้องเป็นหนึ่งหรือเก้าเท่านั้น

              

ไทซัมเหยิน แก้

ไทซัมเหยิน ชนะด้วยการ “ผ่อง” และ/หรือ “กั่ง” ชุดมังกรทั้งสามพันธุ์ มีคู่ “หนั่ง” ส่วนอีกสามตัวที่เหลือจะเป็นการ “ผ่อง/ กั่ง/ เฉ่า” ก็ได้

              

ไทเซเห แก้

ไทเซเห เป็นการชนะด้วยชุดทิศซึ่งผู้เล่นสามารถ “ผ่อง” และ/หรือ “กั่ง” ก็ได้ และที่สำคัญต้องมีคู่ “หนั่ง” ด้วยจะเป็นอะไรก็ได้

              

อ้างอิง แก้