ไบรตัน (อังกฤษ: Brighton) เป็นแหล่งสถานที่พักตากอากาศทางริมชายฝั่งทะเลตอนใต้ ที่มีชื่อเสียงของประเทศอังกฤษ ตั้งอยู่ที่นครไบรตันและโฮฟ ในเทศมณฑลอีสต์ซัสเซกซ์

ไบรตัน
(Brighton)
ไบรตันพาเลซเพียร์ ยามพลบค่ำ
ไบรตันพาเลซเพียร์ ยามพลบค่ำ
เอกราชสหราชอาณาจักร
ประเทศอังกฤษ
ภาคตะวันออกเฉียงใต้ของอังกฤษ
เทศมณฑลอีสต์ซัสเซกซ์
นครไบรตันและโฮฟ
ศูนย์ราชการศาลากลางจังหวัดโฮฟ
(Hove Town Hall)
กฎบัตรเมืองค.ศ. 1313
ปกครองระบบเทศบาลค.ศ. 1854
เขตปกครองเอกเทศ
(Unitary authority)
ค.ศ. 1997
ยกระดับเป็นนครค.ศ. 2000
การปกครอง
 • ประเภทเขตปกครองเอกเทศ
(Unitary authority)
 • Governing bodyBrighton and Hove City Council
 • นายกเทศมนตรีแอรอน กิบสัน
(พรรคอนุรักษ์นิยม)
พื้นที่
 • ทั้งหมด82.79 ตร.กม. (31.97 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (กลางปี 2019)
 • ทั้งหมด290,885 (Ranked 45) คน
 • ความหนาแน่น3,508 คน/ตร.กม. (9,090 คน/ตร.ไมล์)
เดมะนิมไบรโตเนียน
เขตเวลาUTC0 (GMT)
 • ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)UTC+1 (BST)
Postcode areaBN
รหัสพื้นที่01273
ISO 3166-2GB-BNH
ONS code00ML (ONS)
E06000043 (GSS)
OS grid referenceTQ315065
NUTS 3UKJ21
เว็บไซต์brighton-hove.gov.uk
ไบรตัน

จากหลักฐานทางโบราณคดี ปรากฏร่องรอยการตั้งถิ่นฐานของประชากรในไบรตันตั้งแต่บริเตนยุคสัมริด, บริเตนสมัยโรมัน และในยุคอังกฤษสมัยแองโกล-แซกซัน โดยในบันทึกดูมสเดย์ของพระเจ้าวิลเลียมที่ 1 แห่งอังกฤษ (ค.ศ. 1086) ได้มีการบันทึกเกี่ยวกับข้อมูลสำมะโนประชากรในเมืองเก่าแก่ที่ชื่อ ไบรเทล์มสโตน (Brighthelmstone) ซึ่งก็คือไบรตัน ในปัจจุบัน

ไบรตันเป็นเมืองที่มีความสำคัญในแง่ของความเจริญมาตั้งแต่สมัยกลาง โดยเป็นเมืองเก่าแก่ที่มีการพัฒนามาแล้ว แต่ภายหลังได้เข้าสู่สภาวะซบเซาและหยุดการพัฒนาไปในช่วงแรกที่เข้าสู่ยุคสมัยใหม่ อันเป็นผลมาจากการรุกรานของต่างชาติ , ภัยธรรมชาติ เช่น พายุ , การตกต่ำของเศรษฐกิจ และการลดลงของจำนวนประชากร ต่อมาไบรตัน ได้มีการฟื้นฟูเศรษฐกิจและมีการสร้างสิ่งดึงดูดใจให้แก่ผู้มาเยือน เช่นการสร้างถนนเพื่อใช้ในการเดินทางไปกรุงลอนดอน และยังเป็นจุดพักสำหรับเรือท่องเที่ยวที่จะเดินทางไปยังประเทศฝรั่งเศส

ไบรตันได้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวตากอากาศชายทะเลที่มีชื่อเสียงมากที่สุดแห่งหนึ่งของอังกฤษเมื่อพระเจ้าจอร์จที่ 4 แห่งสหราชอาณาจักร ในขณะที่ยังดำรงพระอิสริยยศเป็นเจ้าชายจอร์จแห่งเวลส์ ได้เสด็จมาประทับที่ไบรตันอยู่บ่อยครั้ง และทรงมีรับสั่งให้สร้างพระราชวังพาวิลเลียน (Royal Pavilion) ขึ้นที่ไบรตัน ในปี ค.ศ. 1787 จากนั้นไบรตันได้พัฒนาเรื่องแหล่งท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง มีสิ่งดึงดูดนักท่องเที่ยวมากมายเช่นโรงแรมแกรนด์ ไบรตัน ซึ่งเป็นโรงแรมเก่าแก่อยู่ติดชายฝั่งทะเลที่สร้างขึ้นในสมัยวิกตอเรีย , ไบรตันพาเลซเพียร์ สิ่งปลูกสร้างยื่นออกไปในทะเลที่มีความสวยงามและถูกจัดเป็นสิ่งก่อสร้างภายใต้การพิทักษ์ของสหราชอาณาจักร

ไบรตันได้ขยายเมืองโดยการรวมกับโฮฟ และได้รับสถานะจากการรวมกันให้เป็นเขตปกครองเอกเทศมีองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นระดับเดียวบริหารครอบคลุมทั้งระดับเขตและระดับแขวง ก่อนจะได้ยกระดับขึ้นเป็นเมืองที่มีฐานะเป็นนครในสหราชอาณาจักร ชื่อว่านคร ไบรตันและโฮฟ

ปัจจุบันไบรตันมีอัตราการเจริญเติบโตของประชากรสูง โดยมีประชากรมากกว่า 160,000 คน ในปี ค.ศ. 1961[1] เมื่องรวมเป็นไบรตัน/เวิร์ททิง/ลิตเทิลแฮมป์ตัน ขยายเมืองไปตามชายหาดแล้ว รวมมีประชากรราว 480,000 คน[2]

ไบรตันมีมหาวิทยาลัย 2 แห่ง และมีโรงเรียนแพทย์ อยู่ในทั้ง 2 มหาวิทยาลัยนี้ และมีสโมสรฟุตบอลที่มีชื่อเสียง คือ สโมสรฟุตบอลไบรตันแอนด์โฮฟอัลเบียน

อ้างอิง แก้

  1. Carder, Timothy (1990). The Encyclopaedia of Brighton. S.127 East Sussex County Libraries. ISBN 0-86147-315-9
  2. "KS01 Usual resident population: Census 2001, Key Statistics for urban areas". สืบค้นเมื่อ 11 April 2007.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

50°50′35″N 0°07′53″W / 50.842941°N 0.131312°W / 50.842941; -0.131312