ไทยคม 5 (อังกฤษ: Thaicom 5) เป็นดาวเทียมสื่อสารสัญชาติไทย ผลิตโดยธาเลซ อลิเนีย สเปซ และเป็นดาวเทียมดวงที่ 5 ในกลุ่มดาวเทียมไทยคม โดยเคยมี บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) เป็นผู้เช่าสัมปทาน

ไทยคม 5
ประเภทภารกิจสื่อสาร
ผู้ดำเนินการไทย บมจ. ไทยคม
COSPAR ID2006-020B
SATCAT no.29163
ระยะภารกิจ12 ปี (แผน)
14 ปี (ใช้จริง)
ข้อมูลยานอวกาศ
ผู้ผลิตฝรั่งเศส ธาเลซ อลิเนีย สเปซ
มวลขณะส่งยาน2,800 kg (6,200 lb)
เริ่มต้นภารกิจ
วันที่ส่งขึ้น27 พฤษภาคม 2549 21:09 UTC
จรวดนำส่งAriane 5ECA
ฐานส่งKourou ELA-3
ผู้ดำเนินงานสหภาพยุโรป Arianespace
สิ้นสุดภารกิจ
ปิดการทำงาน26 กุมภาพันธ์ 2563 09:52 UTC
ลักษณะวงโคจร
ระบบอ้างอิงโลกเป็นจุดศูนย์กลาง
ระบบวงโคจรค้างฟ้า
 

ภาพรวม แก้

ดาวเทียมสื่อสารไทยคม 5 ผลิตโดยธาเลซ อลิเนีย สเปซ มีน้ำหนักราว 2,766 กิโลกรัม กำหนดอายุใช้งานไว้ประมาณ 12 ปี ซึ่งให้บริการในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้, เอเชียใต้, ทวีปยุโรป, ทวีปแอฟริกา และทวีปออสเตรเลีย โคจรอยู่ในวงโคจรค้างฟ้าที่ตำแหน่งบริเวณ 78.5 องศาตะวันออก ร่วมกับไทยคม 6 และไทยคม 8 มีจานรับส่งสัญญาณ ซี-แบนด์ (C-Band) จำนวน 25 ช่อง และเคยู-แบนด์ (Ku-Band) จำนวน 14 ช่อง สามารถให้บริการด้านโทรคมนาคมได้อย่างเต็มรูปแบบ โดยถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมตรงถึงที่พักอาศัย (DTH) และถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ดิจิตอลความละเอียดสูง (HD และ UHD)[1]

ปลดระวาง แก้

เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2562 ดาวเทียมไทยคม 5 ได้เกิดเหตุขัดข้องขึ้น ส่งผลให้มีข้อจำกัดทางเทคนิคในการตรวจสอบสถานะดาวเทียม ซึ่งบริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน)ได้พยายามดำเนินการกู้คืนระบบที่ขัดข้องตามคำแนะนำของผู้ผลิตดาวเทียมและผู้เชี่ยวชาญหลายครั้ง แต่ไม่สามารถทำการกู้คืนระบบได้ ด้วยเหตุผลดังกล่าวผู้ผลิตจึงแนะนำให้บริษัทดำเนินการปลดระวางดาวเทียม โดยมีอายุใช้งานทั้งหมด 14 ปี โดยบริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน)ได้ดำเนินการโอนย้ายลูกค้าออกจากไทยคม 5 ไปยังไทยคม 6 และดาวเทียมดวงอื่นๆ เสร็จสิ้น เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2563 พร้อมยุติการใช้งานดาวเทียม และทำการปลดระวางดาวเทียมไทยคม 5 แล้ว เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2563 เวลา 16.52 น. (ตามเวลาประเทศไทย)[2]

การปล่อยจรวด แก้

ไทยคม 5 ถูกยิงขึ้นจากฐาน ณ Kourou ELA-3 ในเฟรนช์เกียนา เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2549 โดยบริษัทArianespace ด้วยจรวด Ariane 5ECA และการปล่อยจรวดครั้งนี้ได้สร้างสถิติการส่งจรวดสำหรับการส่งไปสู่วงโคจรค้างฟ้าที่บรรทุกมวลไปมากที่สุด เนื่องจากส่งดาวเทียมไปพร้อมกับ Satmex 6 ของประเทศเม็กซิโกด้วย[3]

อ้างอิง แก้

  1. "พื้นที่ให้บริการดาวเทียมไทยคม 5". ไทยคม (บริษัท). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-07-17. สืบค้นเมื่อ 17 กรกฎาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  2. "'ไทยคม' ประกาศยุติการใช้งานดาวเทียม 'THAICOM 5'". บางกอกอินไซด์. 28 กุมภาพันธ์ 2020. สืบค้นเมื่อ 17 กรกฎาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. "Ariane 5 ECA carries record payload mass to GTO (ภาษาอังกฤษ)". esa.int. 28 พฤษภาคม 2549. สืบค้นเมื่อ 17 กรกฎาคม 2563. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)

แหล่งข้อมูลอื่น แก้