ไดอิเล็กทริก

(เปลี่ยนทางจาก ไดอิเล็กตริก)

วัสดุไดอิเล็กทริก (อังกฤษ: dielectric material) (หรือสั้น ๆ ว่าไดอิเล็กทริก) เป็นฉนวนไฟฟ้าชนิดหนึ่งที่สามารถทำให้มีขั้วไฟฟ้าได้โดยใช้สนามไฟฟ้า เมื่อไดอิเล็กทริกหนึ่งถูกวางอยู่ในสนามไฟฟ้า ประจุไฟฟ้าจะไม่ไหลผ่านตัววัสดุเหมือนอย่างที่ผ่านตัวนำ เพียงแต่ขยับเพียงเล็กน้อยเท่านั้นจากตำแหน่งสมดุลเฉลี่ยเดิมก่อให้เกิดความเป็นขั้วไดอิเล็กทริก (dielectric polarization) ในการนี้ประจุบวกจะถูกผลักไปในทิศทางของสนามและประจุลบจะขยับไปในทิศทางตรงกันข้าม ปรากฏการณ์นี้จะสร้างสนามไฟฟ้าภายในที่ช่วยลดสนามโดยรวมภายในตัวไดอิเล็กทริกมันเอง[1] ถ้าไดอิเล็กทริกหนึ่งประกอบด้วยโมเลกุลที่มีแรงยึดเหนึ่ยวอยู่ด้วยกันที่อ่อน โมเลกุลเหล่านั้นไม่เพียงแต่จะกลายเป็นขั้วเท่านั้น แต่จะยังเรียงตัวเพื่อให้แกนสมมาตรของมันอยู่ในแนวเดียวกันกับสนาม[1]

วัสดุไดอิเล็กทริกที่เป็นขั้ว

การศึกษาด้านคุณสมบัติของไดอิเล็กทริกเกี่ยวข้องกับการจัดเก็บและการแพร่กระจายของพลังงานไฟฟ้าและสนามแม่เหล็กในวัสดุ[2] ไดอิเล็กทริกมีความสำคัญสำหรับการอธิบายปรากฏการณ์ต่าง ๆ ในสาขาอิเล็กทรอนิกส์, แสง, และฟิสิกส์ของโซลิดสเตต

คำศัพท์ แก้

ในขณะที่คำว่าฉนวนหมายถึงการนำไฟฟ้าที่ต่ำ ไดอิเล็กทริกมักจะหมายถึงวัสดุที่มีความสามารถในการเป็นขั้วที่สูง ความสามารถนี้แสดงออกมาจากตัวเลขหนึ่งที่เรียกว่าสภาพยอมสัมพัทธ์ (ที่รู้จักกันในตำราเก่าว่าเป็นค่าคงที่ไดอิเล็กทริก) คำว่าฉนวนถูกใช้กันทั่วไปเพื่อจะบ่งบอกถึงการขัดขวางการไหลของไฟฟ้าในขณะที่คำว่าไดอิเล็กทริกถูกใช้เพื่อบ่งชี้ถึงความจุในการจัดเก็บพลังงานของวัสดุ (โดยวิธีของการเป็นขั้ว) ตัวอย่างทั่วไปของไดอิเล็กทริกได้แก่วัสดุฉนวนไฟฟ้าที่อยู่ระหว่างแผ่นโลหะของตัวเก็บประจุ การเป็นขั้วของไดอิเล็กทริกโดยสนามไฟฟ้าที่จ่ายให้เพิ่มประจุที่พื้นผิวของตัวเก็บประจุสำหรับความแรงของสนามไฟฟ้าที่กำหนด[1]

คำว่า "ไดอิเล็กทริก" ถูกตั้งให้เป็นเกียรติโดยวิลเลียม วีเวลล์ (William Whewell) (จากคำว่า "ได-อิเล็กตริก") ในการตอบสนองต่อการร้องขอจากไมเคิล ฟาราเดย์[3][4] ไดอิเล็กทริกที่สมบูรณ์แบบเป็นวัสดุหนึ่งที่มีความสามารถในการนำไฟฟ้าเป็นศูนย์ (อ่านเพิ่มเติม ตัวนำสมบูรณ์แบบ)[5] ดังนั้นมันจึงแสดงเพียงกระแสแทนที่ (displacement current) เพราะฉะนั้น มันจึงเก็บและส่งกลับพลังงานไฟฟ้าเสมือนเป็นตัวเก็บประจุตัวหนึ่ง

ความอ่อนไหวทางไฟฟ้า แก้

ความอ่อนไหวทางไฟฟ้า (อังกฤษ: electric susceptibility) χe ของวัสดุไดอิเล็กทริกเป็นตัวชี้วัดว่ามันง่ายแค่ไหนที่มันจะเป็นขั้วในการตอบสนองต่อสนามไฟฟ้าหนึ่ง นี้จึงเป็นตัวกำหนดค่าสภาพยอมของวัสดุและสร้างอิทธิพลต่อปรากฏการณ์อื่น ๆ อีกมากมายในตัวกลางนี้ จากความจุของตัวเก็บประจุจนถึงความเร็วของแสง

มันถูกกำหนดให้เป็นค่าคงที่ของสัดส่วน (ซึ่งอาจเป็นเทนเซอร์ตัวหนึ่ง) ที่เกี่ยวข้องกับสนามไฟฟ้า E ต่อความหนาแน่นของการเป็นขั้วของไดอิเล็กทริกที่ถูกเหนี่ยวนำ P ดังเช่น

 

เมื่อ ε0 เป็นสภาพยอมของสุญญากาศ

ความอ่อนไหวของตัวกลางหนึ่งจะเกี่ยวข้องกับสภาพยอมสัมพัทธ์ εr ของมันโดย

 

ดังนั้นในกรณีของสูญญากาศ

 

ค่า electric displacement D จะเกี่ยวข้องกับความหนาแน่นของความเป็นขั้ว P โดย

 

การเป็นขั้วของไดอิเล็กทริก แก้

แบบจำลองอะตอมพื้นฐาน แก้

 
สนามไฟฟ้ามีปฏิสัมพันธ์กับอะตอมภายใต้แบบจำลองไดอิเล็กทริกแบบคลาสสิก

ในวิธีการแบบคลาสสิกกับแบบจำลองไดอิเล็กทริก วัสดุจะถูกสร้างขึ้นจากอะตอม แต่ละอะตอมประกอบด้วยเมฆของประจุลบ (อิเล็กตรอน) ที่ยึดเหนี่ยวกับและอยู่รอบประจุบวกที่ศูนย์กลางของมัน ในการปรากฏตัวของสนามไฟฟ้า เมฆประจุจะบิดเบี้ยวตามที่แสดงในด้านบนขวาของรูป

ภาพนี้สามารถลดลงไปเป็นไดโพลง่าย ๆ โดยใช้หลักการของการซ้อนตำแหน่ง (superposition principle) ไดโพลจะมีลักษณะเฉพาะตามไดโพลโมเมนต์ของมันซึ่งเป็นปริมาณเวกเตอร์ที่แสดงในรูปเป็นลูกศรสีฟ้าที่มีป้ายกำกับ M มันเป็นความสัมพันธ์ระหว่างสนามไฟฟ้าและไดโพลโมเมนต์ที่ก่อให้เกิดพฤติกรรมของไดอิเล็กทริก (ไดโพลโมเมนต์จะชี้ไปในทิศทางเดียวกับสนามไฟฟ้าในรูป แต่ไม่ได้เป็นอย่างนั้นเสมอไปและเป็นการวาดให้ง่ายที่สำคัญ แต่เป็นจริงสำหรับวัสดุหลายชนิด)

เมื่อสนามไฟฟ้าถูกถอดออกไป อะตอมจะกลับคืนสู่สภาพเดิม เวลาที่จะต้องทำเช่นนั้นถูกเรียกว่าเวลาผ่อนคลาย ซึ่งเป็นการสลายแบบเอกซ์โพเนนเชียล

นี่คือสาระสำคัญของแบบจำลองในสาขาวิชาฟิสิกส์ พฤติกรรมของไดอิเล็กทริกในขณะนี้ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ สถานการณ์ยิ่งซับซ้อนมากขึ้นเท่าไร แบบจำลองยิ่งสมบูรณ์ในการอธิบายพฤติกรรมได้อย่างถูกต้องมากขึ้นเท่านั้น คำถามที่สำคัญคือ สนามไฟฟ้าคงที่หรือขึ้นอยู่กับเวลา ที่อัตราเท่าไร, การตอบสนองขึ้นอยู่กับทิศทางของสนามที่จ่ายให้ (ไอโซทรอปีของวัสดุ) หรือไม่, การตอบสนองเหมือนกันทุกที่ (ความสม่ำเสมอของวัสดุ) หรือไม่, ขอบเขตหรือการเชื่อมต่อใด ๆ จะต้องนำมาพิจารณาหรือไม่, การตอบสนองเป็นแบบเชิงเส้นเมื่อเทียบกับสนามหรือเป็นแบบไม่เชิงเส้น

ความสัมพันธ์ระหว่างสนามไฟฟ้า E และไดโพลโมเมนต์ M ก่อให้เกิดพฤติกรรมของไดอิเล็กทริกซึ่งสำหรับวัสดุที่กำหนดสามารถกำหนดคุณลักษณะเฉพาะโดยฟังก์ชัน F ตามสมการ:

 

เมื่อทั้งประเภทของสนามไฟฟ้าและชนิดของวัสดุที่ได้รับการกำหนดเรียบร้อยแล้ว จากนั้นเราต้องเลือกฟังก์ชัน F ที่ง่ายที่สุดที่จะสามารถคาดการณ์ได้อย่างถูกต้องถึงปรากฏการณ์ที่อยู่ในความสนใจ ตัวอย่างของปรากฏการณ์ที่สามารถสร้างแบบจำลองดังกล่าวได้แก่:

การเป็นขั้วแบบไดโพล แก้

การเป็นขั้วแบบไดโพลคือโพลาไรเซชันที่มีอยู่ในโมเลกุลของขั้ว (การเป็นขั้วเชิงทิศทาง) หรือสามารถเกิดขึ้นได้ในโมเลกุลใด ๆ ที่อาจเกิดการบิดเบี้ยวของนิวเคลียสแบบไม่สมมาตรได้ (การเป็นขั้วจากการผิดรูป) การเป็นขั้วเชิงทิศทางเป็นผลมาจากไดโพลถาวร เช่น ที่เกิดจากมุม 104.45° ระหว่างพันธะที่ไม่สมมาตรระหว่างอะตอมของออกซิเจนและไฮโดรเจนในโมเลกุลของน้ำ ซึ่งยังคงการเป็นขั้วไว้ในกรณีที่ไม่มีสนามไฟฟ้าภายนอก การประกอบไดโพลเหล่านี้ก่อให้เกิดการเป็นขั้วในระดับมหภาค

เมื่อใช้สนามไฟฟ้าภายนอก ระยะห่างระหว่างประจุภายในไดโพลถาวรแต่ละอันซึ่งสัมพันธ์กับพันธะเคมี จะคงที่ในการเป็นขั้วเชิงทิศทาง อย่างไรก็ตาม ทิศทางของการเป็นขั้วเองก็หมุนไป การหมุนนี้เกิดขึ้นในช่วงเวลาซึ่งขึ้นอยู่กับแรงบิดและความหนืดโดยรอบของโมเลกุล เนื่องจากการหมุนไม่ได้เกิดขึ้นทันที การเป็นขั้วแบบไดโพลจึงสูญเสียการตอบสนองต่อสนามไฟฟ้าที่ความถี่สูงสุด โมเลกุลหมุนประมาณ 1 เรเดียนต่อพิโควินาทีในของไหล ดังนั้นการสูญเสียนี้จึงเกิดขึ้นที่ประมาณ 1011 เฮิรตซ์ (ในย่านไมโครเวฟ) ความล่าช้าในการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของสนามไฟฟ้าทำให้เกิดการเสียดสีและความร้อน

เมื่อใช้สนามไฟฟ้าภายนอกที่ความถี่อินฟราเรดหรือน้อยกว่า โมเลกุลจะโค้งงอและยืดออกตามสนามและจะเปลี่ยนแปลงโมเมนต์ไดโพลของโมเลกุล ความถี่การสั่นสะเทือนของโมเลกุลโดยประมาณจะผกผันกับเวลาที่โมเลกุลโค้งงอ และการเป็นขั้วจากการผิดรูปนี้จะหายไปที่ย่านเหนืออินฟราเรด

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 "Dielectrics (physics)". Encyclopædia Britannica. 2009. สืบค้นเมื่อ 12 สิงหาคม 2009. วัสดุที่เป็นฉนวนไดอิเล็กทริกหรือตัวนำกระแสไฟฟ้าที่แย่มาก ๆ เมื่อไดอิเล็กทริกถูกวางอยู่ในสนามไฟฟ้า ในทางปฏิบัติจะไม่มีกระแสไหลในตัวมัน เพราะว่ามันไม่เหมือนโลหะ มันไม่มีอิเล็กตรอนที่เกาะเกี่ยวกันอย่างหลวม ๆ หรืออิเล็กตรอนอิสระที่สามารถขยับไปในตัววัสดุนั้น
  2. von Hippel, Arthur R. (1954). "Dielectrics and Waves" (PDF). NY: Technology Press of MIT and John Wiley. ในงานสัมมนาของเขาเรื่อง วัสดุไดอิเล็กทริกและการประยุกต์ใช้ ระบุว่า: "ไดอิเล็กทริก... ไม่ใช้ระดับชั้นแคบ ๆ ที่เรียกว่าฉนวน แต่เป็นการขยายอย่างกว้างขวางของวัสดุที่ไม่ใช่โลหะที่มีการพิจารณาจากจุดยืนของการปฏิสัมพันธ์ของมันกับสนามไฟฟ้า สนามแม่เหล็กและสนามแม่เหล็กไฟฟ้า ดังนั้นเราจึงเกี่ยวข้องกับก็าซเช่นเดียวกับของแข็งและของเหลว และกับการจัดเก็บพลังงานไฟฟ้าและแม่เหล็กอีกทั้งการแพร่กระจายของมัน
  3. Daintith, John (1994). Biographical Encyclopedia of Scientists. CRC Press. p. 943. ISBN 0-7503-0287-9..
  4. James, Frank A.J.L., บ.ก. (1991). The Correspondence of Michael Faraday: 1841-1848, Volume 3. London: Institution of Engineering and Technology. p. 442. ISBN 0-86341-250-5. Letter 1798, William Whewell to Faraday.
  5. Rao, R. Srinivasa (ตุลาคม 2015). Microwave Engineering (2nd ed.). Delhi: PHI Learning Private Limited. ISBN 978-81-203-5159-2.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้