ไข้กระต่าย หรือ โรคทูลารีเมีย (อังกฤษ: Tularemia) เป็นโรคที่พบในสัตว์ฟันแทะ เช่น กระรอก หนู และกระต่าย มีพาหะคือ ตัวเห็บ หรือ ตัวฟลี (Flea) ลำตัวแบน สีดำ มีขนาดเล็กมาก กระโดดได้ไกลมาก เห็บที่ดูดเลือดกระต่าย หรือสัตว์ฟันแทะที่มีเชื้อ แล้วกระโดดไปเกาะและกัดอีกตัวทำให้ติดเชื้อกัน มีอาการเหมือนโรคกาฬโรค คือ ต่อมน้ำเหลืองโต มีไข้สูง มีน้ำมูก และมีอาการท้องเสียร่วมด้วย โรคนี้สามารถติดจากสัตว์ไปสู่คนได้ทางลมหายใจ และสารคัดหลั่งต่างๆ

โรคทูลารีเมีย หรือ ไข้กระต่าย
(Tularemia)
รอยโรคทูลารีเมียบริเวณหลังมือขวา
บัญชีจำแนกและลิงก์ไปภายนอก
ICD-10A21
ICD-9021
DiseasesDB13454
eMedicinemed/2326 emerg/591 ped/2327
MeSHD014406

วิธีการป้องกันโรค คือ การพ่นยาฆ่าตัวเห็บ เพื่อตัดตอนพาหะออกไป

ข้อแนะนำสำหรับผู้ที่เลี้ยงกระต่ายหรือสัตว์ที่เป็นฟันแทะ เช่น กระรอก หนู ควรปฏิบัติดังนี้

1. การตัดสินใจในการที่จะเลี้ยงสัตว์ฟันแทะ จำพวกกระต่าย หรือหนู ควรเลือกซื้อจากแหล่งที่ไม่มีสัตว์ป่วย เช่น มีอาการเซื่องซึมไม่ปราดเปรียวอยู่ในกรงหรือในฝูงที่จำหน่าย

2. การเลี้ยงสัตว์เหล่านี้จะต้องรักษาความสะอาดทั้งตัวสัตว์ และอาหารสัตว์ที่นำมาเลี้ยง ควรกำจัดเห็บ หมัด ในสัตว์เลี้ยงให้หมด

3. หลังจากสัมผัสกับสัตว์เหล่านี้ ควรล้างมือทำความสะอาดทุกครั้ง โดยเฉพาะมือที่มีบาดแผล

4. ไม่ควรคลุกคลี หรือกอดหอมสัตว์เหล่านี้โดยตรง

5. สิ่งสำคัญ หากตัดสินใจเลี้ยงสัตว์เหล่านี้ จะต้องคำนึงถึงโรคต่าง ๆ ที่อาจมีมากับสัตว์เหล่านี้ เพราะนอกจากโรคทูลาเรเมียแล้ว ยังมีโรคอื่น ๆ อีกมากมายที่สัตว์เหล่านี้สามารถนำมาสู่คนได้

6. ส่วนผู้ที่เลี้ยงในเชิงอุตสาหกรรมควรใส่รองเท้าบู๊ต เสื้อกาวน์ ถุงมือ และหน้ากากในการป้องกัน

ท้ายนี้ผู้อ่านไม่ควรตื่นตระหนกเกินกว่าเหตุ เพราะกระต่ายและสัตว์ฟันแทะไม่มีเชื้อโรคนี้ทุกตัว สามารถเลี้ยงดูเล่นได้ เพียงแต่ควรซื้อจากแหล่งที่เชื่อถือได้เท่านั้น.

ไข้กระต่ายในประเทศไทย แก้

มีนาคม พ.ศ. 2551 พบโรคไข้กระต่ายรายแรกของประเทศ ที่ จ.ประจวบคีรีขันธ์ ผู้เสียชีวิตดังกล่าวเป็นเพศหญิง อายุ 37 ปี มีประวัติสัมผัสกระต่าย โดยติดเชื้อแบคทีเรีย บาซิลัส ฟรานซิเซลล่า ทูลารีซิส (Francisella tularensis) โดยที่บ้านมีการเลี้ยงกระต่ายพันธุ์ไทยจำนวนมาก [1]

อ้างอิง แก้