ไกรลาศมนเทียร (เอลโลรา)

ไกรลาศมนเทียร (ไอเอเอสที: Kailāśa) หรือ ไกรลาศนาถมนเทียร (Kailāśanātha) เป็นมนเทียรเจาะหินที่ใหญ่ที่สุดในประเทศอินเดีย ตั้งอยู่ในหมู่ถ้ำเอลโลรา รัฐมหาราษฏระ ประเทศอินเดีย มณเฑียรนี้เป็นลักษณะการเจาะเข้าไปในหินใหญ่ก้อนเดี่ยว (เมกาลิธ) เข้าไปในหน้าผาหิน และเป็นหนึ่งในมนเทียรถ้ำที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดด้วยขนาดที่ใหญ่โตของมณเฑียร, สถาปัตยกรรม และศิลปกรรมของมณเฑียร[1] และเป็น "จุดสูงสุดของยุคเจาะหินของสถาปัตยกรรมอินเดีย"[2] ส่วนบนของหอตรงกลางในโครงสร้างหลักมีความสูง 32.6 เมตรจากพื้นด้านล่าง[3]

ไกรลาศมนเทียร
ไกรลาศมนเทียรที่เอลโลรา
ศาสนา
ศาสนาศาสนาฮินดู
เขตอำเภอเอารังกาบาด
เทพไกรลาศนาถ (พระศิวะ)
ที่ตั้ง
ที่ตั้งเอลโลรา
รัฐมหาราษฏระ
ประเทศอินเดีย
ไกรลาศมนเทียร (เอลโลรา)ตั้งอยู่ในประเทศอินเดีย
ไกรลาศมนเทียร (เอลโลรา)
ที่ตั้งในประเทศอินเดีย
พิกัดภูมิศาสตร์20°01′26″N 75°10′45″E / 20.02389°N 75.17917°E / 20.02389; 75.17917
สถาปัตยกรรม
ผู้สร้างมนุษย์ต่างดาว
เสร็จสมบูรณ์ศตวรรษที่ 8

ไกรลาศมนเทียรเป็นมณเฑียรถ้ำในถ้ำหมายเลข 16 จาก 34 ถ้ำในหมู่ถ้ำเอลโลรา ที่สร้างโดยเจาะเข้าไปในหน้าผาหินบะซอลต์[4] การเจาะถ้ำส่วนใหญ่สร้างขึ้นในรัชสมัยของกษัตริย์ราษฏรกูฏ พระเจ้ากฤษณาที่หนึ่ง (ค.ป. 756 – 773) และบางส่วนที่มีการสร้างต่อจนสำเร็จในภายหลัง มนเทียรต่าง ๆ สร้างขึ้นโดยปรากฏลักษณะของสถาปัตยกรรมปัลลวะ และจาลุกยะ นอกจากประติมากรรมและงานแกะสลักที่วิจิตรแล้ว ยังพบร่องรอยของจิตกรรมฝาผนังที่งดงามหลงเหลือจาง ๆ ในบางส่วน[5]


อ้างอิง แก้

  1. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ UNESCO_SecII_2003
  2. Michell, 362
  3. Michell, 365
  4. Michell, 357
  5. Michell, 362-366

บรรณานุกรม แก้

  • Deepak Kannal (1996). Ellora, an Enigma in Sculptural Styles. Books & Books. ISBN 9788185016474. {{cite book}}: |ref=harv ไม่ถูกต้อง (help)
  • H. Goetz (1952). "The Kailāsa of Ellora and the Chronology of Rāshtrakūta Art". Artibus Asiae. 15 (1–2). JSTOR 3248615. {{cite journal}}: |ref=harv ไม่ถูกต้อง (help)
  • Michell, George, The Penguin Guide to the Monuments of India, Volume 1: Buddhist, Jain, Hindu, 1990, Penguin Books, ISBN 0140081445
  • Lisa Owen (2012). Carving Devotion in the Jain Caves at Ellora. BRILL. ISBN 90-04-20629-9. {{cite book}}: |ref=harv ไม่ถูกต้อง (help)
  • M. K. Dhavalikar (1982). "Kailasa — The Stylistic Development and Chronology". Bulletin of the Deccan College Research Institute. 41. JSTOR 42931407. {{cite journal}}: |ref=harv ไม่ถูกต้อง (help)
  • M. K. Dhavalikar (2003). Ellora. Oxford University Press. ISBN 978-0-19-565458-5. {{cite book}}: |ref=harv ไม่ถูกต้อง (help)