ไกซาร์ (ละติน: Caesar, ออกเสียง: [ˈkae̯.sar]; กรีกโบราณ: Καῖσαρ) เป็นตำแหน่งของผู้เป็นจักรพรรดิที่มีที่มาจากชื่อสกุลของจูเลียส ซีซาร์ ผู้เผด็จการโรมัน การเปลี่ยนแปลงจากชื่อตระกูลเป็นตำแหน่งที่ถือครองโดยจักรพรรดิโรมันสามารถสืบต้นตอได้ถึง ค.ศ. 68 หลังการล่มสลายของราชวงศ์ยูลิอุส-เกลาดิอุส

ไกซาร์
การออกเสียงภาษาละตินคลาสสิก: [ˈkae̯sar]
เพศชาย
ภาษาละติน
ที่มา
ความหมายจักรพรรดิ

ต้นกำเนิด แก้

ผู้ใช้ "ไกซาร์" ในฐานะชื่อสกุลคนแรกคือแซ็กสตุส ยูลิอุส ไกซาร์ ผู้ที่น่าจะเป็นบรรพบุรุษร่วมของลูกหลานทั้งหมดในตระกูลยูลิอี ไกซาเรส (Julii Caesares)[1] (กาอิอุส) จูเลียส ซีซาร์ (ยูลิอุส ไกซาร์) เป็นเหลนชายของแซ็กสตุส หลังจูเลียส ซีซาร์ ก่อสงครามกับวุฒิสภาแล้วยึดครองสาธารณรัฐโรมัน เขาตั้งตำแหน่ง ดิกตาตอร์แปร์แปตูโอ (dictator perpetuo) หรือ "ผู้เผด็จการตลอดชีพ" ซึ่งเป็นตำแหน่งที่เขาครองอยู่เพียงประมาณเดือนเดียวก่อนถูกลอบสังหาร การเสียชีวิตของจูเลียส ซีซาร์ ไม่ได้นำไปสู่การฟื้นฟูระบอบสาธารณรัฐ แต่ก่อให้เกิดคณะสามผู้นำที่สอง ได้แก่ ผู้เผด็จการสามคนรวมถึงกาอิอุส อ็อกตาวิอุส ลูกชายบุญธรรมของจูเลียส ผู้แบ่งดินแดนและดำรงตำแหน่งเป็นเวลาเกือบ 2 ทศวรรษ ในสมัยของเขา อ็อกตาวิอุสเรียกชื่อตนเองว่า "กาอิอุส ยูลิอุส ไกซาร์ อ็อกตาวิอุส" โดยมักย่อเป็น "กาอิอุส ไกซาร์"[2] เพื่อเน้นย้ำความสัมพันธ์ระหว่างตนกับจูเลียส ซีซาร์ สุดท้าย ความไม่ไว้วางใจและความอิจฉาระหว่างเผด็จการทั้งสามก็ทำให้พันธมิตรล่มสลาย และก่อให้เกิดสงครามกลางเมืองซึ่งจบลงที่อ็อกตาวิอุสกลายเป็นผู้ควบคุมดินแดนโรมันทั้งหมด โดยอ็อกตาวิอุสประกาศตนเองเป็น อิมแปราตอร์ ("ผู้บัญชาการ") และสาธารณรัฐโรมันกลายเป็นจักรวรรดิโรมันอย่างเป็นทางการ เมื่อขึ้นครองอำนาจในตำแหน่งนี้ อ็อกตาวิอุสได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น "อิมแปราตอร์ ไกซาร์ เอากุสตุส"[3] โดยวุฒิสภาโรมันได้เพิ่มคำยกย่อง เอากุสตุส เข้าไป ด้วยเหตุนี้ ติแบริอุส ลูกชายบุญธรรมและผู้สืบทอดอำนาจของเอากุสตุส จึงทำตามพ่อ (เลี้ยง) และนำชื่อ "ไกซาร์" มาใช้ด้วยในวันที่ 26 มิถุนายน ค.ศ. 4 โดยเปลี่ยนชื่อตนเองเป็น "ติแบริอุส ยูลิอุส ไกซาร์" และเมื่อขึ้นดำรงตำแหน่งจักรพรรดิก็นำชื่อ "ติแบริอุส ไกซาร์ เอากุสตุส" มาใช้ ทำให้เกิดการสืบทอดชื่อ "ไกซาร์" มานับตั้งแต่นั้น

อ้างอิง แก้

  1. Dictionary of Greek and Roman Biography and Mythology, vol. I, p. 537.
  2. Syme, Ronald (1959), "Livy and Augustus", Harvard Studies in Classical Philology, 64: 175, 179, doi:10.2307/310937, JSTOR 310937
  3. "40 maps that explain the Roman Empire". Vox. สืบค้นเมื่อ 28 March 2018.

บรรณานุกรม แก้

อ่านเพิ่ม แก้

  • Ferjančić, Božidar (1970). "Севастократори и кесари у Српском царству" [Sebastocrators and Caesares in the Serbian Empire]. Зборник Филозофског факултета. Belgrade: 255–269.
  • Pauly-Wissowa – Realencyclopädie der Classischen Altertumswissenschaft