โฮมีโอพาธี (อังกฤษ: homeopathy) เป็นวิทยาศาสตร์เทียม[1][2][3][4]ที่แสดงตัวว่าเป็นการแพทย์ทางเลือกที่ซามูเอิล ฮาเนมันน์สร้างใน ค.ศ. 1796 โดยยึดหลักหนามยอกเอาหนามบ่ง (like cures like) ของเขา โดยอ้างว่าสสารที่ทำให้เกิดอาการของโรคในผู้มีสุขภาพดีจะรักษาอาการเดียวกันในผู้ป่วย โฮมีโอพาธีเป็นวิทยาศาสตร์เทียม คือ ความเชื่อที่นำเสนอเป็นวิทยาศาสตร์อย่างไม่ถูกต้อง การเตรียมโฮมีโอพาธีไม่มีประสิทธิผลรักษาภาวะใด ๆ การศึกษาขนาดใหญ่พบว่าโฮมีโอพาธีไม่มีประสิทธิผลมากกว่ายาหลอก ซึ่งแนะว่าความรู้สึกเชิงบวกใด ๆ ที่เกิดหลังการรักษาเป็นผลของปรากฏการณ์ยาหลอกและการฟื้นตัวจากความเจ็บป่วยตามปกติ

Homeopathic cures for small animals on the Isle of Man

ฮาเนมันน์เชื่อว่าเหตุพื้นเดิมของโรคเป็นปรากฏการณ์ที่เขาเรียกว่า ไมแอสซึม (miasm) และการเตรียมโฮมีโอพาธีจัดการกับไมแอสซึมนี้ การเตรียมผลิตโดยใช้กระบวนการการเจือจางโฮมีโอพาธี โดยเจือจางสสารที่ถูกเลือกซ้ำ ๆ ในแอลกอฮอล์หรือน้ำกลั่น แต่ละครั้งโดยใช้ภาชนาบรรจุชนกับวัสดุยืดหยุ่น (มักเป็นหนังสือที่ห่อปกหนัง) ตรงแบบเจือจางไปเรื่อย ๆ จนผ่านจุดที่ไม่มีโมเลกุลของสสารเดิมเหลืออยู่ ผู้ประกอบกิจโฮมีโอพาธีเลือกโฮมีโอพาธิกโดยปรึกษาหนังสืออ้างอิงที่เรียก เรพัตตรี (repertory) และโดยการพิจารณาโดยรวมทั้งอาการ ลักษณะบุคคล สภาพกายภาพและจิตใจ และประวัติชีวิตของผู้ป่วย

อ้างอิง แก้

  1. Tuomela, R (1987). "Chapter 4: Science, Protoscience, and Pseudoscience". ใน Pitt JC, Marcello P (บ.ก.). Rational Changes in Science: Essays on Scientific Reasoning. Boston Studies in the Philosophy of Science. Vol. 98. Springer. pp. 83–101. doi:10.1007/978-94-009-3779-6_4. ISBN 978-94-010-8181-8.
  2. Smith K (2012). "Homeopathy is Unscientific and Unethical". Bioethics. 26 (9): 508–12. doi:10.1111/j.1467-8519.2011.01956.x. S2CID 143067523.
  3. Baran GR, Kiana MF, Samuel SP (2014). "Science, Pseudoscience, and Not Science: How Do They Differ?". Chapter 2: Science, Pseudoscience, and Not Science: How Do They Differ?. Healthcare and Biomedical Technology in the 21st Century. Springer. pp. 19–57. doi:10.1007/978-1-4614-8541-4_2. ISBN 978-1-4614-8540-7. within the traditional medical community it is considered to be quackery
  4. Ladyman J (2013). "Chapter 3: Towards a Demarcation of Science from Pseudoscience". ใน Pigliucci M, Boudry M (บ.ก.). Philosophy of Pseudoscience: Reconsidering the Demarcation Problem. University of Chicago Press. pp. 48–49. ISBN 978-0-226-05196-3. Yet homeopathy is a paradigmatic example of pseudoscience. It is neither simply bad science nor science fraud, but rather profoundly departs from scientific method and theories while being described as scientific by some of its adherents (often sincerely).