โฮมสวีตโฮม (วิดีโอเกม)

โฮมสวีตโฮม เป็นเกมแนวผจญภัยสยองขวัญมุมมองบุคคลที่หนึ่ง ที่สร้างขึ้นโดยอิงจากความเชื่อและเรื่องลึกลับของไทย ระบบการเล่นจะเน้นไปที่การดำเนินเรื่อง การหนี และหลบซ่อนจากวิญญาณร้ายที่จ้องจะเอาชีวิตของเรา เสริมด้วยการแก้ปริศนาเล็กน้อยตามทาง โดยตัวเกมได้มีการจำลองบรรยากาศความน่ากลัวในแบบไทยรวมทั้งเหตุการณ์สยองต่างๆที่จะให้ผู้เล่นใช้ทักษะไหวพริบในการเอาตัวรอดจากสถานการณ์นั้น ๆ ปัจจุบันเกมโฮมสวีตโฮมได้ออกวางจำหน่ายมาแล้ว 2 ตอน เนื่องจากต้องหาทุนและไอเดียเพิ่มระหว่างทำตอนต่อจากตอนแรก โดยในตอนที่ 2 นี้ตัวเกมได้เพิ่มระบบการต่อสู้ให้กับตัวละครหลัก เพิ่มเติมจากระบบการหลบซ่อน (Stealth)ในตอนที่ 1 ทำให้ตัวละครสามารถโต้ตอบกับเหล่าวิญญาณร้ายได้ด้วยอาวุธที่มีอยู่ในคลัง ซึ่งเป็นการผสมผสานการหลบหลีกและการตอบโต้เหล่าศัตรูที่มาเป็นฝูงไปพร้อม ๆ กันได้

Home Sweet Home EP.1
ผู้พัฒนาบริษัท อิ๊กดราซิล กรุ๊ป จำกัด
ผู้จัดจำหน่ายบริษัท อิ๊กดราซิล กรุ๊ป จำกัด
กำกับศรุต ทับลอย
อำนวยการผลิตศรุต ทับลอย
ออกแบบปองธรรม นันทพันธ์
เอนจินUnreal Engine 4
เครื่องเล่นไมโครซอฟท์ วินโดวส์
เพลย์สเตชัน 4
เอกซ์บอกซ์ วัน
วางจำหน่ายไมโครซอฟท์ วินโดวส์

27 กันยายน 2560

เพลย์สเตชัน 4, เอกซ์บอกซ์วัน

16 ตุลาคม 2561
แนวผจญภัยสยองขวัญ
สยองขวัญเอาชีวิตรอด
รูปแบบผู้เล่นเดี่ยว
Home Sweet Home EP.2
ผู้พัฒนาบริษัท อิ๊กดราซิล กรุ๊ป จำกัด
ผู้จัดจำหน่ายNingbo Inception Media Co.,Ltd
เอสเอ็นเค (นินเทนโดสวิตช์)
กำกับศรุต ทับลอย
อำนวยการผลิตศรุต ทับลอย
ออกแบบปองธรรม นันทพันธ์
โปรแกรมเมอร์อาทิตย์ ภัทรวิเชียรโชติ
เอนจินUnreal Engine 4
เครื่องเล่นไมโครซอฟท์ วินโดวส์
นินเท็นโด สวิตช์
วางจำหน่ายไมโครซอฟท์ วินโดวส์

25 กันยายน 2562

นินเท็นโด สวิตช์

2563
แนวแอ็คชั่น, แฟนตาซี
สยองขวัญเอาชีวิตรอด
รูปแบบผู้เล่นเดี่ยว
Home Sweet Home: Survive (HSH: Survive)
ผู้พัฒนาบริษัท อิ๊กดราซิล กรุ๊ป จำกัด
ผู้จัดจำหน่ายบริษัท กันตนา เกมมิ่ง มีเดีย จำกัด
กำกับศรุต ทับลอย
อำนวยการผลิตศรุต ทับลอย
ออกแบบปองธรรม นันทพันธ์
เอนจินUnreal Engine 4
เครื่องเล่นไมโครซอฟท์ วินโดวส์
วางจำหน่าย25 มีนาคม 2564 (OBT1)
5 พฤษภาคม 2565 (OBT2)
15 มิถุนายน 2566 (เปิดอีกครั้ง)
แนวสยองขวัญเอาชีวิตรอด
รูปแบบหลายผู้เล่น
Home Sweet Home Online
ผู้พัฒนาบริษัท อิ๊กดราซิล กรุ๊ป จำกัด
ผู้จัดจำหน่ายบริษัท กันตนา เกมมิ่ง มีเดีย จำกัด
กำกับศรุต ทับลอย
อำนวยการผลิตศรุต ทับลอย
ออกแบบปองธรรม นันทพันธ์
เอนจินUnreal Engine 4
เครื่องเล่นไมโครซอฟท์ วินโดวส์
วางจำหน่าย22 มิถุนายน 2566
แนวสยองขวัญเอาชีวิตรอด
รูปแบบหลายผู้เล่น

เสียงพากย์ แก้


สิ่งสืบเนื่อง แก้

โฮมสวีตโฮม: เซอร์ไว (และ เปลี่ยนชื่อในภายหลังเป็น โฮมสวีตโฮม: ออนไลน์) เป็นเกมสยองขวัญหลายคนแบบ วิดีโอเกมหลายผู้เล่นแบบอสมมาตร ในจักรวาล โฮมสวีตโฮม โดยแบ่งฝ่ายระหว่างภูตผีที่ต้องไล่ล่ามนุษย์ และ ผู้รอดชีวิตที่ต้องทำภารกิจในพื้นที่จำกัด ที่หยิบยก นิวรณ์ โลกหลังความตายมาเป็นธีมหลัก โดยเปิดเผยตัวอย่างความยาวประมาณ 2 นาที ในท้ายเครดิตของ โฮมสวีตโฮม EP.02 โดยตัวละครนั้น มีทั้งจากภาคหลัก และตัวละครใหม่ โดยวางจำหน่ายในพีซี และอาจจะมีการขยายแพลตฟอร์ม ซึ่งได้เปิดโอเพนเบต้าในวันที่ 25 มีนาคม 2564 และได้เปิดโอเพนเบต้า 2 ในวันที่ 5 พฤษภาคม 2565

ทาง ศรุต ทับลอย ได้ออกมาเปิดเผยข้อมูลว่า มีผู้ร่วมเข้าให้เสียงพากย์ทั้งฝ่ายภูตผี และ ฝั่งผู้รอดชีวิต โดยในจำนวนผู้พากย์ทั้งหมด 17 คนนั้น มีหทัยภัทร นามบุปผา ยูทูบเบอร์ช่อง HN_Cat ผู้ขับร้องเพลงบ้านแสนโศก และ ธนกฤต เชื้อวงษ์ ยูทูบเบอร์ชื่อดังเจ้าของช่อง Bay Riffer และ ภุชงค์ ชาลีกุล ยูทูบเบอร์เจ้าของช่อง Dante' Zero และ ศรุชา ภักดีชยะกุล ยูทูบเบอร์เจ้าของช่อง Sinednas ที่ผ่านการคัดเลือก ได้ร่วมให้เสียงพากย์ตัวละครในเกมด้วย[1] ตัวละครทั้งสองฝั่งต่างมีกลยุทธ์ในการเอาชนะต่างกัน โดยที่ต่างฝ่ายต่างมีไอเทมวิเศษ และความสามารถเฉพาะที่จะพลิกเกมได้ตลอดเวลา

ในขณะที่ภาคต่อของ โฮมสวีตโฮม จะเป็นการนับเป็นภาคสองอย่างเป็นทางการ โดย ศรุต ทับลอย ผู้กำกับเกมและผู้อำนวยการผลิตของอิ๊กดราซิล ได้ออกมาประกาศว่า แท้จริงแล้ว ทั้งสอง episode คือ ภาคแรก เพียงแต่เพราะการทำตอนแรกออกมาได้ด้วยทุนที่จำกัด จนกระทั่งได้รับการสนับสนุน เลยกลายเป็นตอนที่สองแทน และคาดว่ากำลังมีโปรเจกต์ควบคู่ไปพร้อมกับโปรเจกต์ HSH survive และยังต้องการแรงสนับสนุนอยู่

โดยเกมมีกำหนดวางจำหน่ายอย่างเป็นทางการหลังจากเปิดให้ทดสอบแบบจำกัดคนภายในเดือนมีนาคม

โฮมสวีตโฮม ออนไลน์ แก้

  • ผู้มาเยือน (Visitor) : ติม (Tim), เจน (Jane), น้าเป้ (Uncle Pae), นิภา (Nipa), อ๊อฟ (Aof), อ๋อง (Ong), ยูริ (Yuri), ปิ๊ง (Ping), ดอน (Don), มิวมิว (Mewmew), มานพ (Manop), เจสซี่ (Jessi), ไอช่า (Aisha), ธิดา (Tida), ติมทวิชาติ (Tim Awaken), ซิโก้ (Zico), สตีเฟน (Stephen)
  • ผู้คุม (Warden) : เบล (Belle), คนคุก (Prisoner), พราย (Nymph), เอชอาร์เค (HRK), นิลกาฬ (Nylcan), เดอะริกเกอร์ (The Rigger), จัน เพชฌฆาตตาบอด (Chan Blind Executioner), ยายคำ (Granny Kham), ราตรี (Ratree), คามิโกะ (Kamiko), สมิงดำ (Saming Dum), เวโรน่า (Verona), ครอบครัวกริม (Grim Family)

เพลงประกอบ แก้

บ้านแสนโศก (Home Sweet Home Rock Version) ขับร้องโดย ภาณุพงศ์ ภูมิประภาส Feat. หทัยภัทร นามบุปผา[2]

บ้านแสนโศก (Home Sweet Home Piano Version) ขับร้องโดย ภาณุพงศ์ ภูมิประภาส Feat. พิมมาดา วิมานรัตน์[3]

วิญญาณติดค้าง (นิวรณ์) ขับร้องโดย ภาณุพงศ์ ภูมิประภาส Feat. หทัยภัทร นามบุปผา

วิญญาณติดค้าง (นิวรณ์) (Home Sweet Home Piano Version) ขับร้องโดย ภาณุพงศ์ ภูมิประภาส Feat. หทัยภัทร นามบุปผา

ปลดเปลื้องอดีตที่ผ่านพ้น (Home Sweet Home Rock Version) ขับร้องโดย ภาณุพงศ์ ภูมิประภาส Feat. นัยรัตน์ ธนไวทย์โกเศส

ปลดเปลื้องอดีตที่ผ่านพ้น (Home Sweet Home Acoustic Version) ขับร้องโดย ภาณุพงศ์ ภูมิประภาส

ใจผูก...เจ็บ ขับร้องโดย HEARTROCKER Feat. ภาณุพงศ์ ภูมิประภาส

ใจผูก...เจ็บ (Home Sweet Home Soft Version) ขับร้องโดย HEARTROCKER Feat. ภาณุพงศ์ ภูมิประภาส, นัยรัตน์ ธนไวทย์โกเศส

เธอเป็นแรงบันดาลใจของฉัน ขับร้องโดย ภาณุพงศ์ ภูมิประภาส Feat. ดิษย์กรณ์ ดิษยนันทน์ กัลย์จาฤก

ภาพยนตร์ดัดแปลง แก้

ความนิยมทำให้เกมถูกนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์ "Home Sweet Home Rebirth" (โฮมสวีตโฮม รีเบิร์ธ) การร่วมมือกันระหว่าง Yggdrazil Group PCL, Altit Media Group และ Film Frame Productions โดยมี Dean Altit จาก Altit Media Group และ Pakin Maliwan จาก Film Frame Productions นั่งแท่นผู้อำนวยการสร้าง ส่วนTanat Juwiwat และ ศรุจ ทับรอย จาก Yggdrazil Group PCL รับหน้าที่เป็นผู้บริหารการผลิต หนังบอกเล่าเรื่องราวดัดแปลงผ่านตัวละครต้นฉบับที่ไม่ได้มาจากวิดีโอเกม

เจค (วิลเลี่ยม โมสลีย์) ตำรวจหนุ่มที่ถูกผลักเข้าไปในดินแดนที่เรียกว่า "นิวรณ์" ระหว่างเหตุกราดยิงในห้างสรรพสินค้าใจกลางกรุงเทพมหานคร ด้วยความช่วยเหลือจากพระภิกษุสามเณรผู้ลึกลับ (อเล็กซานเดอร์ ลี) เจคต้องเร่งเวลาเพื่อช่วยภรรยาของเขา ปรางค์ (อุรัสยา เสปอร์บันด์) และหยุดยั้งเมฆ (มิเชล มอร์โรเน) ผู้ลึกลับจากการเปิดประตูนรก

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้