โอห์ม (อังกฤษ: ohm; สัญลักษณ์ : Ω) เป็นหน่วยเอสไอ (SI) ของค่าอิมพีแดนซ์ทางไฟฟ้า ในกรณีของกระแสสลับ หรือค่าความต้านทานไฟฟ้า ในกรณีของกระแสตรง ตั้งชื่อตามเกออร์ค ซีม็อน โอห์ม นักฟิสิกส์ชาวเยอรมัน

โอห์ม
ตัวต้านทานมาตรฐานหนึ่งโอห์มในห้องปฏิบัติการ ประมาณปี 1917
ข้อมูลทั่วไป
ระบบการวัดหน่วยอนุพัทธ์เอสไอ
เป็นหน่วยของความต้านทานและการนำไฟฟ้า
สัญลักษณ์Ω 
ตั้งชื่อตามเกออร์ค ซีม็อน โอห์ม
ที่มาΩ = V/A
การแปลงหน่วย
1 Ω ใน ...... มีค่าเท่ากับ ...
   หน่วยฐานเอสไอ   kgm2s−3A−2
มัลติมิเตอร์สามารถใช้เพื่อวัดค่าความต้านทาน

นิยาม แก้

โอห์ม เป็นค่าความต้านทานที่ก่อให้เกิดความต่างศักย์ค่า 1 โวลต์ เมื่อกระแส 1 แอมแปร์ไหลผ่าน

 

โดยหน่วยอนุพัทธ์ที่เพิ่มเติมมา คือ โวลต์ (V), แอมแปร์ (A), ซีเมนส์ (S), วัตต์ (W), วินาที (s), ฟารัด (F), เฮนรี (H), จูล (J), คูลอมบ์ (C), กิโลกรัม (kg) และ เมตร (m)

อุปสรรคหน่วยเอสไอ แก้

พหุคูณเอสไอสำหรับหน่วยโอห์ม (Ω)
พหุคูณย่อย พหุคูณใหญ่
ค่า สัญลักษณ์ ชื่อ ค่า สัญลักษณ์ ชื่อ
10–1 Ω เดซิโอห์ม 101 Ω daΩ เดคาโอห์ม
10–2 Ω เซนติโอห์ม 102 Ω เฮกโตโอห์ม
10–3 Ω มิลลิโอห์ม 103 Ω กิโลโอห์ม
10–6 Ω µΩ ไมโครโอห์ม 106 Ω เมกะโอห์ม
10–9 Ω นาโนโอห์ม 109 Ω จิกะโอห์ม
10–12 Ω พิโกโอห์ม 1012 Ω เทระโอห์ม
10–15 Ω เฟมโตโอห์ม 1015 Ω เพตะโอห์ม
10–18 Ω อัตโตโอห์ม 1018 Ω เอกซะโอห์ม
10–21 Ω เซปโตโอห์ม 1021 Ω เซตตะโอห์ม
10–24 Ω ยอกโตโอห์ม 1024 Ω ยอตตะโอห์ม
หน่วยที่นิยมใช้แสดงเป็นตัวหนา

ที่มา แก้

นักฟิสิกส์ชาวเยอรมันได้ค้นพบความสัมพันธ์ระหว่างแรงดันไฟฟ้ากับกระแสไฟฟ้าในตัวนำโลหะ โดยแสดงไว้เป็นกฎความสัมพันธ์เรียกว่า "กฎของโอห์ม"

หน่วยดังกล่าวถูกเสนอขึ้นเป็นครั้งแรกว่า "โอห์ม" โดยชาลส์ ทิลสตัน ไบรต์ และแลทิเมอร์ คลาร์ก เมื่อ ค.ศ. 1861 โดยในบันทึกเมื่อ ค.ศ. 1864 เขียนเป็น "ohmad" ครั้นเมื่อ ค.ศ. 1872 สมาคมเพื่อความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ของอังกฤษได้เพิ่มโอห์มเข้ามาในระบบหน่วยวัดเซนติเมตร–กรัม–วินาที และมีการใช้โอห์มที่สมาคมปรับปรุงขึ้นใหม่ในหน่วยเอสไอเมื่อ ค.ศ. 1946

คำอธิบาย แก้

 
R มีค่า 1 โอห์ม หาก V = 1 โวลต์ และ I = 1 แอมแปร์

นิยามจากกฎของโอห์ม อุปกรณ์จะมีมีค่าความต้านทาน 1 โอห์ม หากแรงดันไฟฟ้า 1 โวลต์ ก่อให้เกิดกระแส 1 แอมแปร์ไหลผ่าน (R = V/I) ในขณะเดียวกัน อุปกรณ์ที่มีกำลัง 1 วัตต์ โดยมีกระแส 1 แอมแปร์ไหลผ่าน ก็จะมีค่าความต้านทาน 1 โอห์ม (R = P / I 2).

ดูเพิ่ม แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้