โอฟิโอไลต์ (อังกฤษ: Ophiolite) คือ ชุดหินที่แสดงลักษณะการลำดับชั้นหินของเปลือกโลกใต้มหาสมุทรจนถึงเนื้อโลกชั้นบน ซึ่งเกินจากการยกตัวขึ้นแล้วแทรกเข้ามาบนแผ่นดินเนื่องจากกระบวนการธรณีแปรสัณฐาน

ภาพแสดงชุดหินโอฟิโอไลต์ บริเวณอุทยานแห่งชาติ Gros Morne National Park, Newfoundland.

ประวัติ แก้

คำว่า "โอฟิโอไลต์" ใช้ครั้งแรกโดย Alexandre Brongniart เพื่อบ่งบอกถึงกลุ่มหินสีเขียว เช่น หินเซอร์เพนทิไนต์ หินไดอะเบส ในเทือกเขาแอลป์ ต่อมา Steinmann ได้ใช้รวมถึงหินละลายรูปหมอน และ หินเชิร์ต ในช่วงปลายปี 1950 ถึงต้นปี 1960 การสำรวจความผิดปกติแถบสนามแม่เหล็ก (magnetic anomaly stripes) ของพื้นทะเล ซึ่งวางตัวขนานกับเทือกเขากลางสมุทร โดย Frederick Vine และ Drummond Matthews ได้บ่งบอกถึงหมวดหินใหม่ของเปลือกโลกภาคพื้นสมุทรบริเวณเทือกเขากลางสมุทร ประกอบกับการสำรวจแผ่นพนังหิน (sheeted dike) บริเวณ Troodos ophiolite ประเทศไซปรัส โดย Ian Graham Gass และคณะ พบว่าพนังหินดังกล่าวเกิดจากการเย็นตัวของแมกมา 100% โดยไม่มีหินที่แก่กว่าปรากฏในบริเวณดังกล่าว ต่อมา Moores และ Vine ได้สรุปว่าแผ่นพนังหิน บริเวณ Troodos ophiolite ประเทศไซปรัส เกิดจากกระบวนการขยายตัวของพื้นมหาสมุทร จากนั้น คำว่า "โอฟิโอไลต์" จึงเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางในความหมายที่ว่า ชุดหินของเปลือกโลกใต้มหาสมุทรที่ถูกกระบวนการธรณีแปรสัณฐานนำขึ้นมาปรากฏบนแผ่นดิน

จากการพบชุดหินโอฟิโอไลต์ตามแนวเทือกเขาหลายแห่ง เช่น เทือกเขาแอลป์ เทือกเขาหิมาลัย ทำให้โอฟิโอไลต์เป็นหัวใจสำคัญของการแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาคในปัจจุบัน

การลำดับชั้นหิน แก้

การลำดับชั้นหินโอฟิโอไลต์ ประกอบด้วยชั้นต่าง ๆ ดังนี้

  • ชั้นตะกอนทะเลลึก (pelagic sediment) ประกอบด้วย หินเชิร์ต หินดินดานสีดำ และหินปูน
  • ชั้นหินบะซอลล์รูปหมอน (basalt pillow ) แสดงลักษณะของหินบะซอลล์รูปหมอน เกิดของลาวาสัมผัสกับผิวน้ำแล้วเกิดเย็นตัวอย่างรวดเร็ว การที่เห็นเป็นรูปหมอนเกิดจากหดตัวภายใต้แรงตรึงผิวของลาวา
  • แผ่นผนังหิน (sheeted dike) เนื้อหินเป็นหินบะซอลล์ และหินไดอะเบส
  • ชั้นหินแกบโบร (gabbro)
  • ชั้นสะสมตัวของหินอัลตราเมฟิก (cumulate ultramafic) เป็นชั้นที่พบหินดูไนต์
  • ชั้น depleted mantle ประกอบด้วยหินฮาร์ซเบอร์ไกต์
  • ชั้น fertile mantle ประกอบด้วนหินเลอร์โซไลต์

อ้างอิง แก้

  • Brogniart, A. (1813) "Essai de classifacation mineralogique des roches melanges" Journal des Mines, v. XXXIV, 190-199.
  • Gass, I.G. (1968) "Is the Troodos massif of Cyprus a fragment of Mesozoic ocean floor?" Nature, 220, 39-42.
  • Church, W.R. and Stevens, R.K. (1970) "Early Paleozoic ophiolite complexes of the Newfoundland Appalachians as mantle-oceanic crust sequences." Journal of Geophysical Research, 76, 1460-1466.
  • Moores E.M. and Vine, F.J. (1971) "The Troodos massif, Cyprus, and other ophiolites as oceanic crust: Evaluation and implications" Philosophical Transactions of the Royal Society of London, 268A, 443-466.
  • Moores, E.M. (2003) "A personal history of the ophiolite concept" in Dilek and Newcomb, editors, Ophiolite Concept and the Evolution of Geologic Thought. Geological Society of America Special Publication 373, 17-29.
  • Vine F.J. and Matthews D.H. (1963) "Magnetic anomalies over ocean ridges", Nature 199, 947-949
  • http://www.eos.ubc.ca/courses/eosc221/rock_cycle/ophiolite.html เก็บถาวร 2010-06-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  • http://geology.about.com/od/platetectonics/a/ophiolite.htm