โอกูริงานะ (ญี่ปุ่น: 送り仮名โรมาจิokurigana) คือ คานะที่ต่อท้ายคันจิในภาษาญี่ปุ่น มักใช้ผันคำคุณศัพท์และคำกริยา โอกูริงานะยังใช้บอกกาล ความเป็นบอกเล่า/ปฏิเสธ ความสุภาพ และทำหน้าที่ต่าง ๆ ได้อีกมากมาย ปัจจุบันโอกูริงานะเขียนด้วยฮิรางานะ ในอดีตเขียนด้วยคาตากานะ

ตัวอย่างการผัน แก้

คำคุณศัพท์ในภาษาญี่ปุ่นใช้โอะคุริงะนะเพื่อบอกกาล และความเป็นบอกเล่า/ปฏิเสธ ซึ่งจะมีรูปแบบเดียวกันทั้งหมด ตัวอย่างเช่น คันจิ 高 (อ่านว่า taka) ความหมายหลักของมันแปลว่าสูง แต่ข้อมูลเกี่ยวกับมันสามารถดูได้จากโอกูริงานะที่ตามหลังดังนี้

高い (takai) ทากาอิ
สูง (บอกเล่า, รูปปัจจุบัน)
高かった (takakatta) ทากากัตตะ
สูง (บอกเล่า, รูปอดีต)
高くない (takakunai) ทากากูนาอิ
ไม่สูง (ปฏิเสธ, รูปปัจจุบัน)
高くなかった (takakunakatta) ทากากูนากัตตะ
ไม่สูง (ปฏิเสธ, รูปอดีต)

กริยาในภาษาญี่ปุ่นก็มีรูปแบบเดียวกัน เราสามารถดูความหมายหลักได้ที่ตัวคันจิ และเราสามารถดูกาล ความเป็นบอกเล่า/ปฏิเสธ ความสุภาพ และอื่น ๆ ได้จากโอกูริงานะที่ตามหลัง

食べる (taberu) ทาเบรุ
กิน (บอกเล่า, รูปปัจจุบัน, ใช้พูดกับผู้ที่คุ้นเคย)
食べない (tabenai) ทาเบนาอิ
ไม่กิน (ปฏิเสธ, รูปปัจจุบัน, ใช้พูดกับผู้ที่คุ้นเคย)
食べた (tabeta) ทาเบตะ
กิน (บอกเล่า, รูปอดีต, ใช้พูดกับผู้ที่คุ้นเคย)
食べなかった (tabenakatta) ทาเบนากัตตะ
ไม่กิน (ปฏิเสธ, รูปอดีต, ใช้พูดกับผู้ที่คุ้นเคย)

คำกริยาข้างล่างนี้มีความหมายที่สุภาพกว่า

食べます (tabemasu) ทาเบมาซุ
กิน (บอกเล่า, รูปปัจจุบัน, สุภาพ)
食べません (tabemasen) ทาเบมาเซ็ง
ไม่กิน (ปฏิเสธ, รูปปัจจุบัน, สุภาพ)
食べました (tabemashita) ทาเบมาชิตะ
กิน (บอกเล่า, รูปอดีต, สุภาพ)
食べませんでした (tabemasen deshita) ทาเบมาเซ็ง เดชิตะ
ไม่กิน (ปฏิเสธ, รูปอดีต, สุภาพ)

การลดความกำกวมของคันจิ แก้

โอกูริงานะช่วยลดความกำกวมของคันจิที่มีหลายคำอ่านได้ โดยเฉพาะคันจิที่มีหลายความหมายและหลายคำอ่าน โอกูริงานะจะช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจความหมายที่ผู้เขียนตั้งใจสื่อได้

ตัวอย่างเช่น

がる (agaru) อางารุ
"ขึ้น/พร้อม/เสร็จ" ในกรณีนี้ 上 อ่านว่า "a"
のぼる (noboru) โนโบรุ
"ขึ้น/ปีน (บันได) " ในกรณีนี้ 上 อ่านว่า "nobo"
下さる (kudasaru) คุดาซารุ
"ให้ [ผู้พูด]" ในกรณีนี้ 下 อ่านว่า "kuda"
下りる (oriru) โอริรุ
"ออกจาก/ลง" ในกรณีนี้ 下 อ่านว่า "o"
下がる (sagaru) ซางารุ
"ห้อย, แขวน" ในกรณีนี้ 下 อ่านว่า "sa"

ตัวอย่างอื่น ได้แก่

話す (hanasu) ฮานาซุ
"พูด" เช่น ちゃんと話す方がいい。 (chanto hanasu hou ga ii) ชันโตะ ฮานาซุ โฮ กะ อี แปลว่า "พูดให้ถูกต้องดีกว่า"
話し (hanashi) ฮานาชิ
รูปนามของกริยา"พูด" เช่น 話し言葉と書き言葉 (hanashi kotoba to kaki kotoba) ฮานาชิ โคโตบะ โทะ คากิ โคโตบะ แปลว่า "คำในภาษาพูดและคำในภาษาเขียน"
話 (hanashi) ฮานาชิ
"เรื่องราว, การสนทนา" เช่น 話はいかが? (hanashi wa ikaga?) ฮานาชิ วะ อิกางะ? แปลว่า "เรื่องเป็นอย่างไรเหรอ"

กระทรวงศึกษาธิการของญี่ปุ่นได้กำหนดวิธีการใช้โอกูริงานะที่เป็นมาตรฐาน แต่ก็ยังมีการใช้ที่แตกต่างกันให้พบเห็นบ่อยครั้ง ตัวอย่างเช่น คำว่า "kuregata" ที่ถูกต้องต้องเขียนว่า 暮れ方 แต่บางครั้งก็มีคนเขียนเป็น 暮方