โลหวิทยาการละลาย

โลหวิทยาสารละลาย (Hydrometallurgy) เป็นวิชาเกี่ยวกับกระบวนการแยกสกัดและการผลิตโลหะ โดยการใช้ตัวทำละลายที่เหมาะสมชะละลายสินแร่หรือสารประกอบที่ได้จากการประกอบโลหกรรมอื่น ๆ ซึ่งแตกต่างจากโลหวิทยาความร้อนสูง (Pyrometallurgy) โลหวิทยาสารละลายแบ่งเป็น 2 กระบวนการที่แตกต่างกัน

  1. ชะละลายโลหะหรือสารประกอบที่ต้องการจากสินแร่ลงในสารละลาย
  2. ชะละลายมลทินออกจากสินแร่ ส่วนโลหะหรือสารประกอบที่ต้องการยังอยู่ในรูปของแข็งแล้วแยกออกจากสารละลายในภายหลัง โดยมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มคุณภาพแร่ให้สูงขึ้น เช่น การใช้กรดเกลือชะละลายแคลไซต์ จากหัวแร่ทังสเตนที่ได้จากการลอยแร่[1]

การเลือกกระบวนการหนึ่งกระบวนการใดขึ้นอยู่กับความยากง่ายในการละลายสิ่งที่ต้องการหรือสิ่งที่ไม่ต้องการออกมาโดยคำนึงถึงด้านค่าใช้จ่ายและกรรมวิธีเป็นหลัก โดยทั่วไปแล้วโลหวิทยาสารละลายใช้วิธีการแรกดำเนินการเป็นส่วนใหญ่

อ้างอิง แก้

  1. "หลักเกณฑ์และวิธีการประกอบโลหกรรม" (PDF). กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่. มีนาคม 2022.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้