โรงเรียนเบญจมราชาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์

โรงเรียนเบญจมราชาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เดิมเป็นวังเก่าของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนมรุพงษ์ศิริพัฒน์ พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ต้นราชสกุล "วัฒนวงศ์" ได้ทรงอุทิศ ให้รัฐบาลตั้งเป็นโรงเรียนฝึกหัดครูสตรีแห่งแรก เพื่อเป็นพระบรมราชานุสรณ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทำบุญเปิดโรงเรียนฝึกหัดครูหญิงแห่งนี้ เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2456 และเปิดสอนในวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2456 มีนักเรียน 24 คน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อโรงเรียนว่า "เบญจมราชาลัย" และกรมศึกษาธิการได้เชิญเสด็จสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถทรงเปิดนามโรงเรียน เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2456

โรงเรียนเบญจมราชาลัย
ในพระบรมราชูปถัมภ์
Benjamarachalai School Under the Royal Patronage of His Majesty the King
ตราประจำโรงเรียนเบญจมราชาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์
ที่ตั้ง
แผนที่
ข้อมูล
ชื่ออื่นบ.ร. / B.R.
ประเภทรัฐ
คำขวัญคล่องแคล่วอย่างงดงาม
สถาปนา9 มิถุนายน พ.ศ. 2456
หน่วยงานกำกับสังกัด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
รหัส1000100105
ผู้อำนวยการนายวุฒิชัย วรชิน
ระดับปีที่จัดการศึกษามัธยมศึกษา
สี[███ เลือดหมู
███ ขาว
เพลงมาร์ชเบญจมราชาลัย
ต้นไม้บัวจงกลณี
เว็บไซต์http://www.br.ac.th
เบญจมราชาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร
เบญจมราชาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์
เบญจมราชาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์
เบญจมราชาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (กรุงเทพมหานคร)

ประวัติ แก้

เมื่อกระทรวงธรรมการได้รับสถานที่นี้แล้ว ได้จัดซ่อมแซมแก้ไขให้เข้ารูปเหมาะที่จะเป็นโรงเรียน โดยใช้อาคารซึ่งเป็นพระตำหนัก 2 หลัง และอาคารเรือนไม้ 5 หลัง เป็นอาคารเรียน เริ่มเปิดสอนเป็นโรงเรียนฝึกหัดครูประถม ทั้งประจำและไปกลับ รับนักเรียนในกรุงเทพฯ และมณฑลต่าง ๆ ได้ขยายการสอนถึงวิชาครูมัธยม ต่อมาในภายหลังได้เปิดสอนภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส ชั้นสูง เทียบเท่าประโยคมัธยมบริบูรณ์ชาย เรียกว่า ประโยคมัธยมวิสามัญ

พ.ศ. 2472 ได้เปิดสอนประโยคมัธยมบริบูรณ์ชาย มีทั้งแผนกภาษา แผนกวิทยาศาสตร์และแผนกกลาง นับเป็นโรงเรียนสตรีแห่งแรกที่สอนวิชาในหลักสูตรมัธยมบริบูรณ์ชาย และมีจำนวนนักเรียนเพิ่มมากขึ้น ปี พ.ศ. 2475 กระทรวงศึกษาธิการได้รับพระราชทานที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ตำบลถนนราชบุรี จากสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินทรพระปิตุจฉาเจ้าให้จัดสร้างเป็นโรงเรียน กระทรวงศึกษาธิการจึงสั่งย้ายครูและชั้นมัธยมบริบูรณ์ชาย (ม.7-8) ทั้งหมดไปอยู่โรงเรียนเพชรบุรี - วิทยาลงกรณ์ นับเป็นการย้ายครั้งใหญ่ที่ทำให้โรงเรียนเบญจมราชาลัย ต้องลดฐานะมาเป็นโรงเรียนสามัญ คงมีแต่นักเรียนเช้าไปเย็นกลับ ตั้งแต่ชั้นประถมปีที่ 1 ถึง มัธยมปีที่ 6 ต่อมาในปีพ.ศ. 2476 โรงเรียนเบจมราชาลัยได้ปรับปรุงการสอนเพิ่มถึงชั้นประโยคบริบูรณ์อีกดังเช่นเดิม แต่ใน พ.ศ. 2480 กระทรวงศึกษาธิการ ได้สั่งย้ายนักเรียนชั้นสูงไปเรียนรวมที่โรงเรียนสวนสุนันทาวิทยาลัยและยุบเลิกชั้นประถม ตั้งแต่บัดนั้นมาคงเปิดทำการสอนเฉพาะชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึง มัธยมศึกษาปีที่ 6 ตามคำสั่งของกรมสามัญศึกษา ในปีพ.ศ. 2496 ได้เปิดชั้นเตรียมอุดมศึกษาทั้งแผนกอักษรศาสตร์และ วิทยาศาสตร์ ในปีพ.ศ. 2499 ได้เริ่มเปิดสอน 2 รอบ คือรอบเช้า และรอบบ่าย ในปีพ.ศ. 2503ได้มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายการศึกษาแห่งชาติอีกครั้งหนึ่ง คือ ทำการสอนตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และในปี พ.ศ. 2521 ได้เปลี่ยนแปลงตามแผนการศึกษาของชาติ เป็นชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น 1-2-3 และชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย 4-5-6 เนื่องจากอาคารเรียนเดิมเป็นเรือนไม้ เมื่อเวลาผ่านไปอาคารเรียนอยู่ในสภาพที่ทรุดโทรม ประกอบกับมีจำนวนนักเรียนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทางโรงเรียนจึงได้จัดสร้างอาคารเรียนใหม่แทนเรือนไม้หลังเดิม กล่าวคือ

  • ปี พ.ศ. 2500 ได้รื้ออาคารไม้หลังเก่าด้านทิศเหนือ สร้างเป็นอาคารเรียนคอนกรีตหลังที่ 1 คือ ตึก “มรุพงศ์อนุสรณ์”
  • ปี พ.ศ. 2504 ได้รื้ออาคารไม้หลังเก่าทางด้านทิศใต้ สร้างเป็นอาคารเรียนคอนกรีตหลังที่ 2 คือตึก “จันทรนิภา”
  • ปี พ.ศ. 2508 ได้รื้ออาคารไม้ด้านทิศตะวันออก สร้างอาคารเรียนคอนกรีตหลังที่ 3 คือตึก “วัฒนานุสสรณ์”
  • ปี พ.ศ. 2521 โรงเรียนได้ขยายสาขาไปตั้งเบญจมราชาลัย 2 ที่ตำบลประชานิเวศน์ 3 แขวงท่าทราย อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี ซึ่งปัจจุบันคือ โรงเรียนเบญจมราชานุสรณ์
  • ปี พ.ศ. 2524 ได้สร้างอาคารเรียนหลังที่ 4 ซึ่งตั้งอยู่ด้านหน้าของโรงเรียน อาคารเรียนหลังนี้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้พระราชทานนามว่า “เทพรัตน” (อ่านว่า เทบ-พะ-รัด-ตะ-นะ) และได้เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดอาคารเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2526
  • ปี พ.ศ. 2526 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้พระราชทานพระมหากรุณาธิคุณ ให้โรงเรียนเบญจมราชาลัยอยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์ ในวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2526
  • ปี พ.ศ. 2534 โรงเรียนได้ขยายสาขาไปตั้งเบญจมราชาลัย 3 สาขามีนบุรี ที่ตำบลสามวาตะวันตก เขตมีนบุรี กรุงเทพฯ เป็นโรงเรียนสหศึกษา ในโครงการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงเจริญพระชนมพรรษา 5 รอบ ซึ่งปัจจุบันคือ โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ เบญจมราชาลัย
  • ปี พ.ศ. 2536 ได้รื้ออาคารวัฒนานุสสรณ์ซึ่งเป็นอาคาร 3ชั้น สร้างให้เป็นอาคาร 6 ชั้น มีสระว่ายน้ำ “วิบูลวรรณ” บนดาดฟ้า เพื่อเป็นที่ระลึกในพระกรุณาธิคุณของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนมรุพงศ์สิริพัฒน์ องค์ต้นราชสกุล “วัฒนวงศ์” ผู้ทรงอุทิศวังแห่งนี้ อาคารหลังใหม่นี้เปิดใช้ในปีการศึกษา 2536 อาคารหลังนี้คือ “อาคารวัฒนวงศ์”

หลักสูตรที่เปิดสอน แก้

ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น แก้

  • ห้องเรียนพิเศษ
    • โครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ (Science and Mathematics Gifted Program ; SMGP) ระดับชั้นละ 2 ห้อง (72 คน)
    • โครงการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษ (English Programme ; EP) ระดับชั้นละ 1 ห้อง (30 คน)
  • ห้องเรียนปกติ
    • ห้องเรียนปกติ ระดับชั้นละ 5 ห้อง (200 คน)

ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย แก้

  • ห้องเรียนพิเศษ
    • โครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม (Enrichment Program of Science Mathematics Technology and Environment ; SMTE) ระดับชั้นละ 1 ห้อง (30 คน)
  • ห้องเรียนปกติ
    • แผนการเรียนวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ (วิทย์ – คณิต) ระดับชั้นละ 3 ห้อง (120 คน)
    • แผนการเรียนคณิตศาสตร์ และภาษาอังกฤษ (ศิลป์ – คำนวณ) ระดับชั้นละ 1 ห้อง (40 คน)
    • แผนการเรียนภาษาอังกฤษ และภาษาฝรั่งเศส (ศิลป์ – ฝรั่งเศส) ระดับชั้นละ 1 ห้อง (40 คน)
    • แผนการเรียนภาษาอังกฤษ และภาษาจีน (ศิลป์ – จีน) ระดับชั้นละ 1 ห้อง (40 คน)
    • แผนการเรียนภาษาอังกฤษ และภาษาญี่ปุ่น (ศิลป์ – ญี่ปุ่น) ระดับชั้นละ 1 ห้อง (40 คน)

รายนามศิษย์เก่า แก้

อ้างอิง แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้