โรงเรียนมารีย์อนุสรณ์

โรงเรียนมารีย์อนุสรณ์ เป็นโรงเรียนเอกชนในตำบลในเมือง อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์[1] เปิดทำการสอนตั้งแต่ พ.ศ. 2525 จนถึงปัจจุบัน และเป็นโรงเรียนขนาดใหญ่สังกัดสำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน กระทรวงศึกษาธิการ สอนตั้งแต่ระดับเตรียมอนุบาล–มัธยมศึกษาตอนต้น โดยจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเป็นไปตามแนวนโยบายของการจัดการศึกษาแห่งชาติ ตามจุดหมาย หลักการ และโครงสร้างของหลักสูตรที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนด

โรงเรียนมารีย์อนุสรณ์
ละติน: Marie Anusorn School
ตราประจำโรงเรียนมารีย์อนุสรณ์
แผนที่
100 หมู่ 13 บ้านยายอ่อน ตำบลชุมเห็ด อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ 315/3 ถนนจิระ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ 31000
ข้อมูล
ประเภทเอกชน
คำขวัญประพฤติดี เรียนดี มีวินัย ใฝ่คุณธรรม
ศาสนาศาสนาคริสต์
นิกายโรมันคาทอลิก
ก่อตั้งพ.ศ. 2524
ผู้ก่อตั้งมุขนายกพเยาว์ มณีทรัพย์
โรงเรียนพี่น้องโรงเรียนมารีย์วิทยา
(จังหวัดนครราชสีมา)
โรงเรียนรุ่งอรุณวิทยา
(จังหวัดนครราชสีมา)
โรงเรียนบริหารธุรกิจ
(จังหวัดนครราชสีมา)
โรงเรียนมารีย์พิทักษ์
(จังหวัดบุรีรัมย์)
โรงเรียนมารีย์อุปถัมภ์
(จังหวัดชัยภูมิ)
เขตการศึกษาเขตพื้นที่การศึกษา จังหวัดบุรีรัมย์ เขต 1
ผู้อำนวยการบาลหลวงสุรชัย เจริญพงศ์
ผู้อำนวยการซิสเตอร์จำนันท์ ไพรงาม
ชั้นเรียนอนุบาล 1 - มัธยมศึกษาปีที่ 3
ภาษาที่ใช้เป็นสื่อการสอนไทย ไทย
สหราชอาณาจักร อังกฤษ
จีน จีน
สี  ฟ้า
  ขาว
เพลงมาร์ชมารีย์อนุสรณ์
เบอร์โทรศัพท์044-611980
612274
615571-3
แฟกซ์613984
พันธุ์ไม้ชัยพฤกษ์
เว็บไซต์ms.ac.th

ประวัติ แก้

ในปี พ.ศ. 2524 มุขนายกยออากิม พเยาว์ มณีทรัพย์ มุขนายกแห่งมิสซังโรมันคาทอลิกนครราชสีมา เป็นผู้ก่อตั้งโรงเรียนมารีย์อนุสรณ์ และบาทหลวงวิโรจน์ สมหมาย เป็นผู้รับผิดชอบโครงการจัดตั้งโรงเรียนในเขตจังหวัดบุรีรัมย์ ได้ซื้อที่ดินเนื้อที่ 6,300 ตารางเมตร ทำการก่อสร้างอาคารต่าง ๆ โดยตั้งชื่อว่า โรงเรียนอนุบาลมารีย์อนุสรณ์ และได้รับอนุญาตให้เปิดทำการสอนเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2525 และในปี พ.ศ. 2526 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนมารีย์อนุสรณ์ การบริหารงานและการดำเนินงานการศึกษาของโรงเรียนมารีย์อนุสรณ์ มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องทำให้มีจำนวนนักเรียนเพิ่มขึ้นในปีต่อมา[2]

สถานที่ภายในโรงเรียน แก้

อาคารเรียน แก้

  • ยออากิม (Yoakim): เป็นอาคารเรียนสูง 5 ชั้น สร้างในปี พ.ศ. 2544 เปิดใช้งานเมื่อวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2545 เป็นที่ตั้งของโรงอาหารยออากิม
  • โจเซฟ (Joseph): ตั้งชื่อตามนักบุญโยเซฟ สูง 4 ชั้น สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2526 เปิดใช้งานในปี พ.ศ. 2527 อาคารนี้มีรูปร่างเป็นรูปตัวที ภายในมีโรงอาหารคริสตีนา
  • เบเนดิก (Benedik): ภายในอาคารเป็นศูนย์ปฏิบัติการห้อง ICEP สร้างเสร็จเมื่อในปี พ.ศ. 2551 พร้อมกับโรงอาหารคริสตีน่า โดยชั้นล่างสุดเป็นห้องสมุด
  • ดอมินิก (Dominik): อาคารเรียน 2 ชั้น ตั้งอยู่หลังแมรีโดม
  • นิโคลาส (Nicholas): เคยเป็นอาคารปฏิบัติการเก่า
  • จอห์นปอห์น (Johnpohn): อาคารสำหรับชั้นเรียนอนุบาล เปิดใช้งานในปี พ.ศ. 2539
  • อาคารเรียนเตรียมอนุบาล: สร้างเสร็จในปี พ.ศ. 2554 ใช้รองรับนักเรียนเตรียมอนุบาล ก่อนเข้าชั้นอนุบาล 1 - 3

สถานที่อื่น ๆ แก้

  • แมรีโดม: เคยเป็นสนามกลางแจ้ง ปัจจุบันมีการสร้างหลังคาโค้งคลุม และปูพื้นใหม่ เป็นสถานที่จัดกิจกรรมหน้าเสาธง ประกอบไปด้วยห้องน้ำผู้ปกครอง ร้านค้า ห้องดนตรี เวที เริ่มสร้างในปี พ.ศ. 2553 และเปิดใช้งานเมื่อกลางปี พ.ศ. 2554
  • โบสถ์แม่พระแห่งสายประคำศักดิ์สิทธิ์: เปิดใช้งานในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2548 สร้างแทนโบสถ์หลังเก่าที่มีขนาดเล็ก เพื่อใช้เป็นศูนย์กลางคริสต์ศาสนิกชนที่สำคัญของโรงเรียน
  • สระว่ายน้ำ: เปิดใช้งานในปี พ.ศ. 2550 ยาว 15 เมตร ทำพิธีเปิดโดยสมชัย พงศ์ศิริพัฒน์ ตั้งอยู่ในพื้นที่ของนักเรียนอนุบาล
  • โรงอาหาร: โรงอาหารหลักมีทั้งหมดสามแห่ง ดังนี้
    • ยออากิม: อยู่ใต้อาคารยออากิม
    • คริสตีนา (Chritina): สร้างเสร็จในปี พ.ศ. 2551 อยู่ด้านหลังอาคารโจเซฟ
    • วันทามารีย์: เคยเป็นหอประชุมขนาดใหญ่และห้องพระราชทาน
  • สนามฟุตบอล: ตั้งอยู่ข้างโบสถ์ ใช้จัดกิจกรรมทางการกีฬา
  • สระว่ายน้ำ MS SWIMMING POOL: ตั้งอยู่ตรงทางออก ติดอาคารอนุบาล และสนามฟุตบอล จัดพิธีเปิดเสกสระว่ายน้ำ และเปิดใช้งานเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2563
  • เซนต์ปีเตอร์โดม: ดูแลและดำเนินการโดยกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพละศึกษา เพื่อใช้จัดกิจกรรมเรียนรู้วิชาพลศึกษา เปิดใช้งานเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2563
  • สนามบาสเกตบอล: ปัจจุบันตั้งอยู่บนถนนข้างแมรีโดม ซึ่งถูกใช้เป็นที่จอดรถในงานสำคัญ
  • รูปปั้นมารีย์และนักบุญ: สร้างขึ้นเพื่อเป็นสัญลักษณ์ของศาสนาคริสต์

อ้างอิง แก้

  1. "ที่ต้งโรงเรียนมารีย์อนุสรณ์". 2017-02-01. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-10-14. สืบค้นเมื่อ 2019-10-14.
  2. "ประวัติโรงเรียนมารีย์อนุสรณ์". 2017-02-01. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-10-14. สืบค้นเมื่อ 2019-10-14.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้