โรงเรียนพระโขนงพิทยาลัย

โรงเรียนในระดับมัธยมศึกษาแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานครของประเทศไทย

โรงเรียนพระโขนงพิทยาลัย (อังกฤษ: Prakhanongpittayalai School) สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ก่อตั้งเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2501 โดยผู้ใหญ่นาค รัตนวิชัย ในชุมชนจาก ปัจจุบันเปิดสอนในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 6 ปัจจุบันตั้งอยู่เลขที่ 182 ซอยสุขุมวิท 62 แขวงพระโขนงใต้ เขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร 10260 [1]

โรงเรียนพระโขนงพิทยาลัย
Prakhanongpittayalai School
ที่ตั้ง
แผนที่
182 ซอยสุขุมวิท 62 แขวงพระโขนงใต้ เขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร 10260
โทรศัพท์ 02-311-5185, 02-311-5196
โทรสาร 02-311-5317, 02-332-5040
ข้อมูล
ชื่ออื่นพ.ข.
ประเภทมัธยมศึกษา
คำขวัญปัญญา สามัคคี มีน้ำใจ
นตฺถิ ปญฺญาสมา อาภา
(แสงสว่างเสมอด้วยปัญญาไม่มี)
สถาปนา19 พฤษภาคม พ.ศ. 2501
ผู้ก่อตั้งนาค รัตนวิชัย
หน่วยงานกำกับกระทรวงศึกษาธิการ
รหัส1000100901
ผู้อำนวยการนายธีรวัฒน์ เลื่อนฤทธิ์
สีฟ้า-เหลือง
เพลงเพลงมาร์ชฟ้าเหลือง มาร์ชฟ้าเหลือง
เว็บไซต์http://www.prakanong.ac.th
ต้นไม้ประจำโรงเรียน - ราชพฤกษ์

ประวัติโรงเรียน แก้

โรงเรียนพระโขนงพิทยาลัย เดิมชื่อว่า "โรงเรียนพระโขนง" ก่อตั้งเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2500 โดยผู้ใหญ่นาค รัตนวิชัย เป็นผู้เสนอกระทรวงศึกษาธิการให้จัดตั้งโรงเรียนขึ้นในชุมชนบางจาก ต่อมาในปี พ.ศ. 2501 กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศตั้งเป็นโรงเรียนมัธยมวิสามัญ ในที่ดินของกรมธนารักษ์ ตำบลบางจาก อำเภอพระโขนง จังหวัดพระนคร

ในปีแรกเปิดสอนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 8 ห้องเรียน นักเรียน 301 คน ครู 12 คน โดยมีนายชุบ กายสิทธิ์ เป็นครูใหญ่คนแรก ต่อมาจึงเปิดสอนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.ศ.4 - ม.ศ.5) ในภายหลัง

ต่อมามีการเปลี่ยนชื่อจาก "โรงเรียนพระโขนง" เป็น "โรงเรียนพระโขนงพิทยาลัย" เมื่อนางสาวจุไร ลียากาศ เข้ามาดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนคนแรกในปี พ.ศ. 2517 และก่อตั้งสมาคมผู้ปกครองและครูในอีกหนึ่งปีต่อมา โดยมีพลเรือตรีเกษม ลิขิตวงศ์ ร.น. เป็นนายกสมาคมฯ และมีคำขวัญประจำโรงเรียน คือ "ปัญญา สามัคคี มีน้ำใจ"

โรงเรียนพระโขนงพิทยาลัยมีพระพุทธรูปประจำโรงเรียน คือ พระพุทธศากยมุนีศรีปัญญา'85 (หลวงพ่อสุข) พระพุทธรูปปางลีลา โดยได้รับมอบจากคณะนักเรียนเก่าโรงเรียนสายปัญญา รุ่นปีการศึกษา 2485 บริจาคให้มาประดิษฐานเป็นพระพุทธรูปประจำโรงเรียน ในปี พ.ศ. 2528[2][3]

บุคคลที่มีชื่อเสียง แก้

แผนการเรียนรู้ แก้

  • แผนการเรียน วิทยาศาสตร์ - คณิตศาสตร์ (ห้องเรียนพิเศษ, Gifted)
  • แผนการเรียน วิทยาศาสตร์ - คณิตศาสตร์
  • แผนการเรียน ภาษาอังกฤษ - คอมพิวเตอร์
  • แผนการเรียน คณิตศาสตร์ - ภาษาอังกฤษ
  • แผนการเรียน ภาษาอังกฤษ - ภาษาจีน
  • แผนการเรียน ภาษาอังกฤษ - ภาษาญี่ปุ่น

อ้างอิง แก้

  1. ที่อยู่ของโรงเรียนพระโขนงพิทยาลัย จากเว็บไซต์สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เก็บถาวร 2018-01-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สืบค้นวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561
  2. ประวัติโรงเรียนพระโขนงพิทยาลัย จากเว็บไซต์โรงเรียน เก็บถาวร 2014-03-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สืบค้นวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561
  3. "โรงเรียนพระโขนงพิทยาลัย". data.bopp-obec.info. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-11-20. สืบค้นเมื่อ 2023-11-20.

13°41′43″N 100°35′30″E / 13.695325°N 100.591731°E / 13.695325; 100.591731