โรงพยาบาลเซนต์หลุยส์

โรงพยาบาลเอกชนคาทอลิกในเขตสาทร

โรงพยาบาลเซนต์หลุยส์ (อังกฤษ: Saint Louis Hospital) เป็นโรงพยาบาลเอกชนขนาดใหญ่บนถนนสาทรใต้ แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพมหานคร ชื่อโรงพยาบาลตั้งตามพระนามนักบุญหลุยส์ กษัตริย์แห่งฝรั่งเศส เพราะทรงเปี่ยมด้วยพระเมตตาต่อผู้ยากไร้ขาดที่พึ่ง ซึ่งสอดคล้องกับการดำเนินงานของโรงพยาบาลที่มีคติว่า "เมตตากรุณาอยู่ที่ใด พระเจ้าสถิต ที่นั่น" (Ubi Caritas, Ibi Deus Est.)

โรงพยาบาลเซนต์หลุยส์
Saint Louis Hospital
แผนที่
ชื่อย่อSLH
ประเภทโรงพยาบาลเอกชน
ที่ตั้ง27 ถนนสาทรใต้ แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพมหานคร
ข้อมูลทั่วไป
ก่อตั้งพ.ศ. 2441
วันเปิดทำการ15 กันยายน พ.ศ. 2438 (128 ปี) [1]
ผู้อำนวยการผศ.นพ. อนันต์ จงเถลิง
จำนวนเตียง387
เว็บไซต์โรงพยาบาลเซนต์หลุยส์

โรงพยาบาลเซนต์หลุยส์ถือเป็นโรงพยาบาลสำคัญของคริสต์ศาสนานิกายโรมันคาทอลิกในประเทศไทย ที่ผ่านมาโรงพยาบาลมีโอกาสได้รับเสด็จพระสันตะปาปาถึงสองพระองค์ คือ สมเด็จพระสันตะปาปายอห์น ปอลที่ 2 เนื่องในวโรกาสเสด็จฯ เยือนประเทศไทยเมื่อ พ.ศ. 2527 และสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส เนื่องในวโรกาสเสด็จเยือนประเทศไทยเมื่อปี 2562[2]

บริการทางการแพทย์ แก้

 

ศูนย์ดูแลผู้ป่วยแบบประคับประครอง แก้

ศูนย์ดูแลผู้ป่วยแบบประคับประครอง เป็นบริการนอกเหนือจากบริการทางการแพทย์ของโรงพยาบาลเซนต์หลุยส์ที่ทำการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่โรคไม่ตอบสนองต่อการรักษาตามมาตรฐานแล้ว และคาดการณ์การมีชีวิตอยู่ไม่เกิน 6 เดือน การดูแลนั้นกระทำตาม "จิตตารมณ์ของนักบุญหลุยส์" โดยผู้ป่วยจะได้รับการดูแล บรรเทาอาการทางกายภาพและทางจิตใจ ผ่านทางกิจกรรมบำบัดทางต่าง ๆ การสนทนาบำบัดหรือเดธทอล์ก (Death Talk) และกิจกรรมทางศาสนา อาทิ พิธีมิสซา การทำบุญอุทิศส่วนกุศลตามหลักศาสนาของผู้ป่วย [3]

โบสถ์น้อยประจำโรงพยาบาล แก้

โบสถ์น้อยประจำโรงพยาบาลเซนต์หลุยส์ คือ โบสถ์น้อยพระจิตเจ้า

รางวัลและเอกสารรับรองคุณภาพ แก้

  • ใบรับรอง Spiritual Health Care Appreciation Certification จากสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน)ในปี 2019, 2020
  • ใบรับรองมาตรฐานโรงพยาบาลและสถานบริการสุขภาพ สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (สรพ.)
  • ใบรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ สภาเทคนิคการแพทย์
  • ได้รับรองมาตรฐาน ISO9002 เป็นโรงพยาบาลแห่งแรกของประเทศไทย 18 เมษายน พ.ศ. 2540
  • ได้รับรองมาตรฐาน ISO14001 เป็น 1 ใน 4 โรงพยาบาลแรกของโลก 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2541[4]
  • ได้รับการรับรอง HACCP 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543
  • ได้รับการรับรองมาตรฐานงานเทคนิคการแพทย์ จากสมาคมเทคนิคการแพทย์ และได้รับการต่ออายุการรับรองอย่างต่อเนื่องตลอดมาจนถึงปัจจุบัน
  • ได้รับการรับรอง มาตรฐานโรงพยาบาล(HA) 10 มกราคม พ.ศ. 2546 และได้รับการต่ออายุการรับรองมาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพ (HA&HPH) 16 มีนาคม พ.ศ. 2549 ถึงปัจจุบัน
  • รางวัลอาคารอนุรักษ์พลังงาน ประเภทอาคารควบคุม พ.ศ. 2549 กระทรวงพลังงาน
  • รางวัลการจัดการระบบจ่ายกลางยอดเยี่ยม ปี 2549 สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล
  • รางวัลสถานประกอบกิจการดีเด่นด้านสวัสดิการและแรงงานสัมพันธ์ ปี 2548-2552 กระทรวงแรงงาน
  • เกียรติบัตรยกย่องสถานรับเลี้ยงเด็กก่อนวัยเรียน ปี 2551-2554 กระทรวงแรงงาน
  • เป็นแกนนำของชมรมโรงพยาบาลเอกชนที่ไม่มุ่งแสวงผลกำไร ในการร่วมพัฒนามาตรฐานโรงพยาบาล Advanced-HA กับสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล

อ้างอิง แก้

ดูเพิ่ม แก้

13°43′10″N 100°31′31″E / 13.719387°N 100.525207°E / 13.719387; 100.525207