โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (อังกฤษ: Suranaree University of Technology Hospital) เป็นหน่วยงานในสังกัดสำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี เพื่อรักษานักศึกษา บุคลากร คณาจารย์ในมหาวิทยาลัย และประชาชนทั่วไป และเพื่อผลิตบุคลากรทางการแพทย์ ได้เปลี่ยนชื่อจาก "ศูนย์ปฏิบัติการทางการแพทย์และสาธารณสุข" มาเป็น โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี เมื่อเดือนสิงหาคม 2557

โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
ภูมิศาสตร์
ที่ตั้ง111 ถนนมหาวิทยาลัย ตำบลสุรนารี อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา 30000, ตะวันออกเฉียงเหนือ, ไทย
หน่วยงาน
ประเภทโรงพยาบาลเพื่อการเรียนการสอน
สังกัดสำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
บริการสุขภาพ
แผนกฉุกเฉินมี
จำนวนเตียง514 เตียง [1]
ประวัติ
ชื่อเดิมศูนย์ปฏิบัติการทางการแพทย์และสาธารณสุข
เปิดให้บริการ25 ตุลาคม พ.ศ. 2553 (13 ปี)[2]
ลิงก์
เว็บไซต์smc.sut.ac.th

ประวัติ แก้

ในอดีตภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเพียงแห่งเดียวเท่านั้น คือ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จึงมีการผลักดันการจัดตั้งโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีขึ้น เป็นแห่งที่ 2 ของภูมิภาค โดยได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี เมื่อปี พ.ศ. 2538 จัดตั้งสำนักวิชาแพทยศาสตร์ มีวงเงินในการดำเนินการ 4,000 ล้านบาท แต่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 จึงชลอโครงการไป ต่อมามีการดำเนินการต่อ และเปิดบริการส่วนแรกคือ อาคารศูนย์วิจัย/ศูนย์บริการทางการแพทย์ เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2553 และดำเนินการสร้างต่อไปเรื่อยจนเสร็จทุกระยะ

ระยะที่ 1 คือ การก่อสร้างอาคารรักษาผู้ป่วย เป็นศูนย์ปฏิบัติการทางการแพทย์ 24 ชั่วโมง เปิดรับผู้ป่วยนอก รักษาโรคทั่วไป แพทย์เฉพาะทาง วันละ 3 ชั่วโมง อาคารรังสีวินิฉัย ทันตกรรม ผ่าตัด และอาคารผู้ป่วยใน 120 เตียง ซึ่งได้เปิดให้บริการแล้วบางส่วน

ระยะที่ 2 คือ การก่อสร้างอาคารรองรับคนไข้ได้ประมาณ 200-300 เตียง อาคารศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ มีห้องผ่าตัดขนาดเล็ก มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญให้บริการได้เต็มวัน

ระยะที่ 3 คือ บริการเต็มรูปแบบ เช่น การผ่าตัด การเปลี่ยนไขกระดูก ปลูกไต ฯลฯ รองรับคนไข้ได้กว่า 500 เตียง[3]

อาคารและสิ่งก่อสร้าง แก้

  • อาคารศูนย์วิจัย/ศูนย์บริการทางการแพทย์ 24 ชั่วโมง
  • อาคารศูนย์รังสีวินิจฉัย
  • อาคารรัตนเวชพัฒน์ (อาคารโรงพยาบาล ผู้ป่วยใน 120 เตียง)
  • ศูนย์สุขภาพช่องปาก (คลินิกทันตกรรม)
  • อาคารศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ (ผู้ป่วยใน 400 เตียง ผู้ป่วยฉุกเฉิน 88 เตียง)
  • อาคารศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ (โครงการ)
  • อาคารหอพักนักศึกษาแพทย์ชั้นคลินิก (โครงการ)
  • อาคารวิเคราะห์และบำบัดโรค (โครงการ)
  • อาคารหอพักผู้ป่วยในสามัญ (โครงการ)
  • อาคารหอพักผู้ป่วยในเฉพาะทาง (โครงการ)
  • อาคารหอพักแพทย์ประจำบ้าน (โครงการ)
  • อาคารตรวจรักษาผู้ป่วยนอก (โครงการ)

อ้างอิง แก้